svasdssvasds

"หมอวรงค์" แจง 6 ข้อที่สื่อต่างชาติเข้าใจไทยผิด เพราะวาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

"หมอวรงค์" แจง 6 ข้อที่สื่อต่างชาติเข้าใจไทยผิด เพราะวาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

"หมอวรงค์" แจง 6 ข้อที่สื่อต่างชาติเข้าใจไทยผิด ประเทศถูกใส่ร้ายจากวาทกรรมบิดเบือน

วันนี้ (4 ก.ย.63) "นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม" ประธานยุทธศาสตร์กลุ่มไทยภักดี  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Warong Dechgitvigrom ระบุว่า

สิ่งที่สื่อต่างชาติเข้าใจผิด ผมคิดว่าแม้แต่ สื่อต่างชาติยังเข้าใจผิด เพราะมีการใช้วาทกรรมบิดเบือนซ้ำๆ

1.เข้าใจว่าม.112 มีไว้เพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง

ผมตอบว่าไม่จริง กฏหมายมาตรานี้ ก็ไม่ต่างจากกฏหมายอาญามาตรา326 ของประชาชน ที่ใช้ปกป้องตนเอง กรณีมีคนมาหมิ่นประมาท ใส่ร้าย และทุกประเทศก็มีกฏหมายปกป้องประมุขแห่งรัฐ

2.สื่อเขาเข้าใจว่า ถ้าไม่พอใจใคร หรือนักการเมืองคนไหน ใช้ม.112กล่าวหาได้เลย

ผมหัวเราะและบอกว่า นี่คือวาทกรรมบิดเบือน เพราะในรอบ 30 ปีมานี้ไม่เคยมีใครหรือนักการเมืองคนไหน ติดคุกเพราะม.112 ยกเว้น พวกไปกล่าวหาให้ร้าย เช่นนายปวิน ปกติแล้วรัฐบาลไม่สามารถใช้ม.112 ไปกล่าวหาใครก็ได้ตามใจชอบ แสดงว่าเข้าใจกันผิด

3.เขาเข้าใจว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลทหาร เผด็จการ

ผมบอกว่า เขาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากการหย่อนบัตรพร้อมกับพวกที่กล่าวหา และนายธนาธรก็เคยแข่งนายกแต่แพ้ ดังนั้นนายกท่านนี้เขามาจากการเลือกตั้ง เพียงแต่เขาเคยเป็นหัวหน้าคสช. และรัฐบาลยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่นก็รับรองไม่ใช่เหรอ ผมย้ำกับเขาว่า นี่ก็เป็นวาทกรรมบิดเบือน ที่สำคัญถ้าเป็นรัฐบาลทหาร มีอำนาจจริง เขาซื้อเรือดำน้ำไปแล้ว วันนี้ทหารมีอิทธิพลสู้นักการเมืองไม่ได้ อำนาจอยู่ที่นักการเมือง

4.เขาเข้าใจว่าฝ่ายนักศึกษาและฝ่ายค้านเป็นฝ่ายประชาธิปไตย อีกฝ่ายเป็นฝ่ายเผด็จการ

ผมบอกว่า เมืองไทยใช้วาทกรรมบิดเบือนเยอะมาก จะเอาคำพูดมาเป็นสาระไม่ได้ ต้องดูที่การกระทำ ยกตัวอย่าง ฝ่ายที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย เอาแต่โกหก คุกคามใส่ร้ายคนอื่น ในอดีตพวกของฝ่ายนี้เคยเป็นรัฐบาล แต่ใช้อำนาจทางสภาเผด็จการมากกว่าทหาร จนประชาชนนับล้านออกมาขับไล่ ดังนั้นในเมืองไทยต้องดูที่การกระทำ

5.ทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนญี่ปุ่น

ผมบอกว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีการบริหารราชการใดๆที่รัฐบาลบริหารไม่ได้ เพราะติดขัดที่สถาบัน แม้แต่กฏหมายทุกฉบับก็ผ่านหมดไม่เคยมีปัญหา ในทุกรัฐบาล หากมีปัญหา สภาก็ยืนยันกฏหมายได้

ส่วนข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน ก็ไม่สมเหตุผล ไม่เกี่ยวกับประโยชน์สุขของประชาชนใดๆทั้งสิ้น เป็นการเรียกร้องที่มีอคติส่วนตัว องค์พระมหากษัตริย์จะมีศักศรีต่ำกว่าประชาชนทั่วไป ตามที่เขาเรียกร้องแทบจะถือว่า ไร้ศักศรีของความเป็นประชาชน เขามีเจตนาเพื่อให้เกิดความอ่อนแอและเสื่อมสลายไปในที่สุด

ผมชี้ต่อว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นถูกร่างโดยอเมริกา ที่ต้องการทำลายสถาบันจักพรรดิ ในช่วงญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก แต่ทำลายไม่ได้ จึงให้ดำรงไว้และลดบทบาททุกอย่าง ถ้ารัฐธรรมนูญญี่ปุ่นร่างโดยคนญี่ปุ่น อาจจะวางบทบาทสถาบันไว้มากกว่านี้ก็ได้ ส่วนประเทศไทย รัฐธรรมนูญร่างโดยคนไทย จึงวางบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สมพระเกียรติ ในฐานะเป็นผู้สร้างชาติไทยมา

6.บทบาทสว.

ผมบอกว่า สว.เลือกนายกได้ เป็นบทเฉพาะกาล 5 ปี ที่ผ่านมาจากประชามติที่ประชาชนอนุญาต ในช่วงเวลาจำกัด เหลือเวลาอีก 3 ปีกว่า ก็จะหมดอายุ ซึ่งเขาเข้าใจว่า สว.จะเลือกนายกได้ตลอด เป็นความเข้าใจผิด

สว.ชุดใหม่ตามรัฐธรรมนูญก็จะมาจากการเลือกตั้งจังหวัดต่างๆ และกลุ่มอาชีพ มีความเป็นอิสระ ปราศจากการครอบงำจากพรรคการเมือง และมีโอกาสที่ความหลากหลายของอาชีพจะมีตัวแทนเป็นสว.เช่นเกษตรกร ครู ทนายความ เป็นต้น ดังนั้นรัฐธรรมนูญนี้ น่าจะได้สว.ที่มีคุณภาพมากกว่าอดีตทุกชุด

related