svasdssvasds

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 28 ก.ค.60 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า"พี่น้องประชาชนที่เคารพ  ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน คือ พสกนิกรของพระองค์ ทุกหมู่เหล่า ซึ่งได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติ ว่าหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” มีคุณูปการต่อมวลมนุษยชาติ ในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา  

ทั้งนี้ หัวใจของการพัฒนาคน ก็คือ “การศึกษา”  ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่ง มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ทรงดำรงพระอิสริยศ สยามมกุฎราชกุมาร โครงการในพระราชดำริหลายโครงการ ทรงมุ่งพัฒนาด้านการศึกษา โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์ ในท้องถิ่นทุรกันดาร 

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา รวมถึงระดับปริญญาตรี ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทย ที่มีฐานะยากจนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่อง เพื่อเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต และเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกด้วย  

โดยทรงจัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2552 และนำโครงการทุนการศึกษาพระราชทาน มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน มีคณะกรรมการมูลนิธิกำกับดูแล และทรงเป็นประธานกรรมการมูลนิธิด้วยพระองค์เอง 

รวมทั้งพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักเรียนทุนพระราชทานและครูดีเด่น เป็นประจำทุกปี โดยครั้งหนึ่งทรงแนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่นักเรียนว่า “เรียนดี การงานดี ชีวิตสดใส ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ มีความสุข” เพื่อน้อมนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคตด้วยนะครับ 

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

ทั้งนี้ รัฐบาลได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของทั้งสองพระองค์ มาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ และการบริหารราชการแผ่นดิน  อาทิการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ  ตลาดแรงงาน และอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น  

โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และความมั่นคง ที่มีอัตลักษณ์ทางด้านศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม แตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ  โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2557 รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่เรียกว่า ศปบ.จชต. นะครับ หรือเรียกว่า เป็น “กระทรวง ศึกษาธิการส่วนหน้า”  

นับเป็นหน่วยงานกลางในการสร้างความเป็นเอกภาพและบูรณาการในการจัดการศึกษา ตามแผนยุทธศาสตร์การศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี พ.ศ.2560 ถึง 2579 นะครับ โดยยึดหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา” และ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่... 

(1) การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้วยเครือข่ายชุมนุมลูกเสือชายแดนภาคใต้ การส่งเสริมความสัมพันธ์ชุมชน และเสริมสร้างความเข้าใจสถานศึกษาเอกชน  

(2) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านโครงการต่างๆ เช่น “1 ครูอาสา 1 ปอเนาะ”, ศาสตร์พระราชาในสถาบันปอเนาะ และการพัฒนาการสอนภาษาไทย เป็นต้น 

(3) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษามีโครงการสำคัญๆ อาทิ โครงการสานฝันการกีฬา และโครงการห้องเรียนดนตรี 

(4) การผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน โดยจัดตั้ง “ศูนย์อบรมอาชีพ” ประจำอำเภอ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและส่งเสริมทักษะวิชาชีพ รวมทั้งการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “ฮาลาล” 

(5) การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการธนาคารขยะ และโครงการประหยัดพลังงาน 

และ (6) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยจัดให้มี “ศูนย์ประสานงาน” มีการทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาในแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนากลไกการทำงานร่วมกัน ในการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันในสังคมนะครับ 

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

จากผลงาน 3 ปีที่ผ่านมา เราสามมารถสร้างความเชื่อมั่นในการรับบริการด้านการศึกษาและมีความรู้สึกว่าได้รับการดูแลจากรัฐบาล “อย่างใกล้ชิด” ของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น โดยผลสำรวจความคิดเห็น “ความสำเร็จต่อการพัฒนาด้านการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของรัฐบาลปัจจุบัน”  

ของสวนดุสิตโพล และมหาวิทยาลัยทักษิณสะท้อนถึงความพึงพอใจ ในระดับสูง ร้อยละ 85 เป็นการยืนยันความก้าวหน้าของรัฐบาลในการพัฒนาด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างดียิ่ง  แสดงถึงระดับความเข้าใจ ไว้ใจ และร่วมมือ ซึ่งเป็น “ก้าวแรกที่มั่นคง” นำไปสู่ “ก้าวต่อมาที่มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” ต่อๆ ไป " 

ศาสตร์พระราชา "ด้านการศึกษา" นายกฯนำมาใช้ "พัฒนามนุษย์" 

related