svasdssvasds

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ตลอดระยะเวลา 8 ปี ที่ประเทศไทยมีเรือเหาะไว้ประจำการในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดตั้งแต่การจัดซื้อ และประสิทธิภาพการใช้งานที่ล้มเหลว สปริงนิวส์พาย้อนดูที่มาที่ไป และเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวกับเรือเหาะลำนี้

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

เรือเหาะตรวจการณ์รุ่น Aeros 40D S/ N 21 หรือ "Sky Dragon" ลำที่ถูกปลดประจำการ เป็นโครงการจัดหา "ระบบเรือเหาะ" พร้อมกล้องตรวจการณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อใช้ในกิจการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในภารกิจตรวจการณ์ทางอากาศ อันเป็นหนึ่งในยุทธการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกองทัพบก (ทบ.) ในสมัยที่ พล.อ.อนุพงษ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

ราคาจัดซื้อแบ่งเป็นตัวเรือบัลลูน ราคา 260 ล้านบาท กล้องส่องกลางวันและกลางคืน ราคาประมาณ 70 ล้านบาท ส่วนอีก 20 ล้านบาทเป็นอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้น ซึ่งทั้งหมดรวมเป็นระบบเรือเหาะ 1 ชุด แต่ต่อมามีการชี้แจงจากทางกองทัพว่า เป็นการจัดซื้อวิธีพิเศษ โดยกองทัพบกทำสัญญาจัดซื้อเรือเหาะตรวจการณ์จากบริษัท Arial International Cooperation จนเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2552 เรือเหาะเข้าประจำการ ณ โรงจอดภายในหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี กองพลทหารราบที่ 15 (พล ร.15) อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อย่างเป็นทางการ โดยมี พล.อ. อนุพงษ์ ผบ.ทบ.ในขณะนั้น ลงพื้นที่เพื่อติดตามความพร้อมของเรือเหาะด้วยตนเอง

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

วันที่ 15 ม.ค.2553 กองทัพกำหนดให้เป็นวันเริ่มนำเรือเหาะขึ้นปฏิบัติการเป็นครั้งแรก แต่ประสบปัญหาทางเทคนิค ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงยังไม่มีการลงนามรับมอบสินค้าอย่างเป็นทางการจากบริษัทผู้ผลิต ซึ่งชุดทดสอบพบว่า เรือเหาะบินสูงได้เพียง 1 ใน 3 ของสเปกที่กำหนดเท่านั้น ทำให้ไม่พ้นระยะยิงจากภาคพื้น และยังพบปัญหาเพิ่มเติมอีกหลายประการ แต่เมื่อวันที่ 27 พ.ค.2553 คณะกรรมการตรวจรับฯ ได้ลงนามรับมอบในส่วนของ "บัลลูน" ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรือเหาะ

โดยตลอดระยะเวลากว่า 8 ปีที่ประจำการนั้น มีรายงานว่า ไม่เคยใช้ปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายของการจัดซื้อ และยังมีข้อสังเกตจากบุคคลในแวดวงธุรกิจเรือเหาะว่า ราคาเรือเหาะที่กองทัพจัดซื้อน่าจะแพงเกินไปกว่าความเป็นจริง ตลอดจนได้มีการซ่อมแซมหลายครั้งจากการรั่วซึม ซึ่งทางกองทัพบกได้ว่าจ้างบริษัทอื่นมาดูแลซ่อมแซมด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทผู้ขายเรือเหาะได้ปิดตัวลงไปแล้ว รวมถึงหมดสัญญาการซ่อมบำรุง อีกทั้งต้องเติมก๊าซฮีเลียมที่มีราคาแพง จึงมีการสั่งการให้จอดเก็บในโรงจอดเป็นส่วนใหญ่

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

ขณะที่ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น ผบ.ทบ.เคยว่าจ้าง บริษัทเอกชนมาดูแลรักษาปีละ 50 ล้านบาท และได้นำออกมาบินตรวจการณ์บ้าง แต่ถูกวิจารณ์ว่าบินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด

เมื่อช่วงที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เรือเหาะลำดังกล่าวได้ปฏิบัติภารกิจดูแลความปลอดภัย ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลงตรวจพื้นที่ จ.ปัตตานี ซึ่งภายหลังจบภารกิจในระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังบังคับให้เรือเหาะลงจอด เพื่อนำไปเก็บในโรงเก็บของเรือเหาะ เครื่องยนต์ก็ได้เกิดขัดข้อง ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวน นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องได้ ทำให้เรือเหาะไถลไปกับพื้นรันเวย์จนทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหายกว่า 50% สันนิษฐานว่า ตัวเรืออาจเกิดการรั่วหรือแตกจากการเสื่อมสภาพ เนื่องจากเรือเหาะไม่ได้บินปฏิบัติภารกิจมานาน

8 ปี "เรือเหาะ" 350 ล้าน สู่เรือเหี่ยว

จากนั้นปรากฏเป็นข่าวว่านำออกมาใช้งาน แต่ต้องลงจอดฉุกเฉินในทุ่งนาที่ จ.ปัตตานี เนื่องจากเกิดลมแรงทัศนวิสัยไม่อำนวย ก่อนบินกลับฐาน และไม่ปรากฏข่าวว่า นำออกมาใช้งานอีก และจอดเก็บไว้จนหมดอายุดังกล่าว

ล่าสุดกองทัพบกปลดประจำการเรือเหาะอย่างเป็นทางการ โดย พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า การเปิดประมูลรถลากจูงเรือเหาะตรวจการณ์ เป็นกระบวนการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบอลลูนอายุครบการใช้งานแล้ว ดังนั้น จึงจะต้องมีการปรับรูปแบบการทำงาน โดยนำกล้องตรวจการณ์ที่มีราคาสูง ไปติดตั้งกับอากาศยานแทน ซึ่งถือได้ว่า เป็นการปิดตำนานการใช้เรือเหาะ

[KGVID]https://spcdn.springnews.co.th/wp-content/uploads/2017/09/12.00-เรือเหาะ.mp4[/KGVID]

related