svasdssvasds

นิทรรศการ ๑๐๐ ปี บูรพาจารย์ ศจ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

นิทรรศการ ๑๐๐ ปี บูรพาจารย์ ศจ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จะจัดนิทรรศการ 100 ปี บูรพาจารย์ สืบปณิธาน "สร้างคนดี" ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ในวันศุกร์ที่  9 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคารอุบล เรียงสุวรรณ

โดยพิธีจะเริ่มในเวลา 08.00 น. โดยผู้อำนวยการกล่าวรายงาน ต่อด้วยประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน ก่อนที่ในเวลา 08.30 น.จะเป็นการเปิดให้เข้าชมนิทรรศการ จากนั้นเวลา 10.00 น. จะมีการประกอบพิธีสงฆ์โดยพร้อมเพรียงกัน ณ อาคารคณะศึกษาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ก่อนจะรับประทานอาหารร่วมกันที่ห้องกิจกรรม อาคารคณะศึกษาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

นิทรรศการ ๑๐๐ ปี บูรพาจารย์ ศจ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

สำหรับประวัติ ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ นั้น

เกิดเมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2461 ณ ตำบลสำเพ็ง อ.สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เป็นบุตรีคนโตและคนเดียวของนายสิทธิ์ และนางสุภาพ ภาสิทธิ ซึ่งเป็นคหบดีและคหปตานีในย่านนั้น ในวัยเยาว์ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนในละแวกบ้าน ได้แก่ โรงเรียนราษฎร์เจริญ และจบชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสายปัญญา เมื่อ พ.ศ. 2477

ในระดับอุดมศึกษา ชั้นแรก ศาสตราจารย์ ดร. อุบล สำเร็จได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2482 แล้วศึกษาวิชาครูต่อในคณะครุศาสตร์อีก ปี ก็สำเร็จประโยควิชาครูมัธยม (ป.ม.) หลังจากนั้นได้เข้ารับราชการกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูสอนที่โรงเรียนศึกษานารี เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนสตรีพัทลุง โสภณพัทลุงกูล ระหว่างปลาย พ.ศ. 2483 ถึงต้น พ.ศ. 2495 ต่อจากนั้นย้ายไปสังกัดกรมวิสามัญศึกษา เป็นศึกษานิเทศก์ พ.ศ. 2497 ศึกษาต่อวิชาครูประถมที่คณะครุศาสตร์ ได้ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) อีกปริญญาหนึ่ง ก่อนจะได้รับทุนของกระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาระดับปริญญาโทและเอกสาขาการประถมศึกษา ณ University ofNorthern Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2502 เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วได้โอนย้ายไปสังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์เมื่อพ.ศ. 2506 และอีกเพียง ปีต่อมาท่านก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์

ระหว่าง พ.ศ. 2508 - ต้น พ.ศ. 2514 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิทรรศการ ๑๐๐ ปี บูรพาจารย์ ศจ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ได้โอนย้ายมาสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2514 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์และปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเอง หลังจากครบวาระใน พ.ศ. 2518 แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2522

ชีวิตส่วนตัว ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ สมรสและมีบุตรชาย คนและบุตรสาว คน

ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ได้เรียนข้ามชั้น เมื่อสอบชิงทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศก็สอบได้เป็นที่ 1 เป็น ผู้นำ ที่สามารถทั้งในชีวิตส่วนตัวและในหน้าที่การงาน อุทิศตนให้แก่การทำงานเพื่อส่วนรวมตลอดชีวิต เป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน เป็นกันเอง ให้คำแนะนำช่วยเหลือ และได้ทำให้ เพื่อนร่วมงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้อ่อนอาวุโสกว่ารู้ซึ้งถึง ความเป็นครู และเห็นเป็นตัวอย่างตามคำที่ท่านกล่าวเสมอว่า การเข้ารับราชการเป็นการเข้าทำงานตามวิชาชีพและเป็นลูกจ้างของราชการ (ด้วยภาษีของประชาชน) ต้องทำงานเต็มสติกำลังความสามารถเพื่องานจะได้สำเร็จและตนเองก็จะเจริญด้วยหน้าที่การงาน …ชีวิตนี้อุทิศให้งานนั้น… ผู้ที่มีโอกาสได้ทำงานกับท่านตระหนักว่าเป็น โชคดี…ที่ได้เห็นกับตาและได้ทำกับมือและได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยการปฏิบัติจริงมาตั้งแต่ต้น ประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงเป็นต้นทุนการทำงานที่แต่ละคนได้รับมา เมื่อเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคจึงสามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหางานหลวงหรือเรื่องส่วนตัว

ในฐานะผู้ก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ได้วางรากฐานจัดการศึกษาวิชาชีพศึกษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้มีความแตกต่างกับสถาบันผลิตครูอื่น ๆ ในประเทศไทย คือมุ่งผลิตเฉพาะครูในสาขาที่เด่นและเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เท่านั้น ความคิดสร้างสรรค์ทางการศึกษาของท่านฉายแววให้เห็นตั้งแต่ครั้งที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว นั่นคือท่านดำริให้ขยายชั้นเรียนโรงเรียนแห่งนั้นขึ้นไปถึงมัธยม แม้ว่าในสมัยที่สังคมไทยยังเห็นว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเรียนสูงๆ ก็ตาม

ในบรรดากิจการงานทั้งปวง ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ภารกิจเด่นที่สุดดูเหมือนจะเป็นการก่อตั้ง โรงเรียนสาธิต ให้เป็นห้องปฏิบัติการของนิสิตครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ลูกๆ ของศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ กล่าวว่า โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ คือความภาคภูมิใจที่สุดของแม่ นั่นเป็นเพราะท่านได้ทำตั้งแต่ ขัดถูและปรับเปลี่ยนอาคารเก่า ลงมือสร้างอาคารใหม่จริงๆ กับเพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงวางระบบระเบียบบริหาร วิชาการ การจัดการให้แก่โรงเรียน และเป็นเพราะท่านย่อมตระหนักดีว่าการก่อตั้งโรงเรียนสำเร็จลงได้ในท่ามกลางความขัดข้องนานัปการด้วยความไว้วางใจของผู้บังคับบัญชา และความรักความศรัทธาที่เพื่อน ผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกศิษย์ลูกหามีต่อ แม่งาน คือตัวท่าน

นิทรรศการ ๑๐๐ ปี บูรพาจารย์ ศจ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

การวางแผนงานและการตัดสินใจทุกขั้นตอนอย่างฉับพลันและเฉียบขาดของศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ทำให้โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวันแรกเปิดเรียนเมื่อภาคต้น ปีการศึกษา 2513 มีความพร้อม เหมือนโรงเรียนที่ได้ทำการมานานแล้ว

ท่านขอให้อาจารย์เปรื่อง เปลี่ยนสายสืบ แห่งคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิปากร (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้ออกแบบเครื่องแบบนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ และด้วยเหตุที่ท่านเกิดวันเสาร์ ท่านชอบสีม่วงมาก ท่านจึงขอให้ใช้สีม่วงเป็นสีกระโปรงนักเรียนและได้กำหนดใช้เป็นสีประจำโรงเรียนต่อมา นี่คือที่มาของ สาธิตกระโปรงม่วง

ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ เป็นผู้ริเริ่มในการเปิดสอนหลักสูตร ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในหลายสาขา โดยเฉพาะหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตทางการสอน (Master of Arts in Teaching) ได้เปิดสอนในปี 2519 รวม สาขา คือ สาขาการสอนคณิตศาสตร์ การสอนวิทยาศาสตร์ การสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษ และการสอนสังคมศึกษา และต่อมาในปี 2520 ได้เปิดเพิ่มอีก2สาขา คือ สาขาการสอนภาษาฝรั่งเศส และจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ได้ผลิตมหาบัณฑิตไปทำหน้าที่อาจารย์และผู้บริหารในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆปีละหลายร้อยคน

นอกจากงานวางรากฐานก่อสร้างอาคารสำนักงาน อาคารเรียนทั้งส่วนของคณะศึกษาศาสตร์และโรงเรียนสาธิต ด้วยการจัดหางบประมาณมาสนับนุได้จำนวนมากแล้ว ในส่วนการบริหารงานบุคคล ก็มี ความสำคัญยิ่ง ศาสตราจารย์ อุบล เรียงสุวรรณได้สรรหาและโอนบุคลากรจากกระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยต่างๆ มาปฏิบัติงานในการสร้างคณะและโรงเรียนให้เพียงพอกับจำนวนนิสิตและนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งวางแผนขออัตรากำลังจาก ก.ม. และสำนักงบประมาณได้แต่ละปีมากกว่าคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัย

ในส่วนคุณภาพของอาจารย์ในคณะและโรงเรียน ก็ได้ส่งเสริมสนับสนุนและจัดหาทุนให้อาจารย์ได้ไปศึกษาต่อในวุฒิที่สูงขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิมาช่วยจัดการศึกษาได้มากขึ้น

เมื่อศาสตราจารย์ ดร อุบล เรียงสุวรรณ ปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ (ศาสตราจารย์ ดร. สุธรรม อารีกุล)ได้ช่วยวางระบบการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยโดยเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย โดยจัดให้มีการสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมและการดูงาน ให้อาจารย์และผู้บริหารของทุกคณะของมหาวิทยาลัยได้พัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผลการศึกษา

ในด้านมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทบวงมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณเป็นประธานกรรมการจัดสร้างแบบทดสอบสัมฤทธิผลเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (พ.ศ.2520 - 2522) เป็นประธานกรรมการจัดปฐมนิเทศและการออกข้อสอบเข้าสถาบันอุดมศึกษา

ความสามารถในฐานะนักการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากUniversity of Northern Colorado ว่าเป็น ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณวุฒิดีเด่น ได้รับเชิญให้ไปรับรางวัล International Recognition Award ณ สถาบันการศึกษาแห่งนั้นในโอกาสวันคืนสู่เหย้าประจำปีของมหาวิทยาลัยในเดือนตุลาคม 2513 ท่านเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ และท่านได้รับรางวัลนี้ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งรองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอยู่ในช่วงก่อตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านได้รับการกล่าขวัญถึงในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งและวางแนวการสอนด้วยวิธีแปลกใหม่ไม่เหมือนใครขึ้น ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดียิ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมไทย

นอกจากรางวัลดังกล่าวแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ ยังได้รับการยกย่องในวาระอื่นๆ อีกเช่น เมื่อ พ.2526 ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์- การสอน จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ.2537 ได้รับพระราชทานรางวัลแม่ดีเด่นแห่งชาติ สาขาแม่ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม และท่านเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมอยู่ในคณะกรรมการ AACTE (American Association Committee for Teacher Education)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับคือ ประมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ.2520)

ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541 ณ โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กล่าวไว้ว่า ...ศาสตราจารย์อุบล เรียงสุวรรณ ไม่ทำให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ผิดหวังเลย…ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตของเรามีชื่อเสียงดีมาก ก็ต้องขอขอบพระคุณ ศ.อุบล ที่ได้วางรากฐานไว้ดี

ต่อมาคุรุสภาได้บันทึกประวัติและผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร. อุบล เรียงสุวรรณ ในฐานะผู้ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์แก่การศึกษาของชาติไว้ในหนังสือ ประวัติครู จัดพิมพ์เผยแพร่ในวันครู (10 มกราคม 2543)

ที่มา : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ

อุบล เรียงสุวรรณ . สมุดประวิติประจำตัวข้าราชการ กระทรวงธรรมการ,2483.

related