svasdssvasds

คสป. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. ...

คสป. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. ...

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

คสป. ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. .... เพื่อสร้างหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

วันที่ 5 ก.ค. 60 -- เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมประยูร ภมรมนตรี ชั้น 3 อาคารสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) ครั้งที่ 1/2560 โดยคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงมหาดไทย, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา, การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายเดช พุ่มคชา, ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว, ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์, นางวณี ปิ่นประทีป, นายจะเด็จ เชาว์วิไล และนางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ 

 

คสป. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. ...

 

การประชุมในวันนี้ (5 ก.ค.) ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบหลักการ ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. .... มีวัตถุประสงค์มุ่งส่งเสริมให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการพัฒนาประเทศ อันนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดแนวทางการส่งเสริมภาคประชาสังคมให้มีความเข้มแข็ง มีการปฏิบัติงานอย่างมีธรรมาภิบาล สามารถพึ่งตนเองได้ และสามารถเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐในการดูแลสังคม ให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน การส่งเสริมสร้างเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในระดับพื้นที่ ภูมิภาค การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีจิตสาธารณะในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร และชุมชน การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่มีความหลากหลายด้านพื้นที่ ประเด็น กลุ่มเป้าหมาย และสังกัด เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสนับสนุนการศึกษาวิจัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลขององค์กรภาคประชาสังคม การจัดทำหรือการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเผยแพร่สร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้แนวทางการรับฟังความคิดเห็น ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาภาคประชาสังคม พ.ศ. ....  โดย 2 วิธี คือ เว็บไซต์ www.lawamendment.go.th ภายในระยะเวลา 30 วัน และการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคในการตรากฎหมาย อาทิ ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมทั่วประเทศ หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาน จำนวน 500 คน  ในช่วงเดือน ก.ค.–ส.ค. 2560 รัฐบาล โดย คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ผลักดันให้มีกฎหมายของภาคประสังคมฉบับแรก เพื่อเป็นแผนแม่บทในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้งสร้างจิตสาธารณะสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

related