svasdssvasds

"กลองนานาชาติ" ความภูมิใจของชาวอ่างทอง

"กลองนานาชาติ" ความภูมิใจของชาวอ่างทอง

เรื่องราวของหมู่บ้านทำกลอง ที่จังหวัดอ่างทอง ยังไม่จบ เพราะยังไม่เห็นของดีอีกอย่าง คือ "กลองนานาชาติ" ที่เป็นความภูมิใจของชุมชน

แม้ว่าในหมู่บ้านทำกลองเอกราช จะมีกว่า 20 หลังคาเรือนที่ทำกลองขาย แต่ส่วนใหญ่จะเน้นทำกลองไทย จึงทำให้บ้านที่ทำกลองส่งออกต่างประเทศ เหลือเพียงหลังเดียวเท่านั้น คือ บ้านของอดีตผู้ใหญ่บ้าน ชิด เนียมพันธ์ ที่มี คุณกฤษณา เนียมพันธ์ หรือ พี่อุ๊ ทายาทสาวสวยที่เตรียมรับไม้ต่อ

พี่อุ๊ บอกกล่าวว่า ออร์เดอร์จากต่างประเทศ นอกจากจะส่งวัตถุดิบสำคัญ ที่ทำได้เฉพาะในประเทศนั้นๆ มาให้แล้ว เขาก็จะลงมาดูงานกันแบบละเอียดยิบทุกขั้นตอน  และกว่าจะเป็นที่ยอมรับแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องใช้ผลงานพิสูจน์มากมาย

ส่วนสาเหตุที่กลองของไทยเป็นที่นิยม ถ้าไม่นับที่ความประณีต ก็คงจะเป็นเพราะเนื้อไม้ล้วน บ้านเขาไม่มีไม้เยอะแบบบ้านเรา แถมไม้ที่มีคุณภาพก็ไม่เหมาะทำกลอง ถึงจะเลือกไม้เนื้ออ่อนเหมือนกัน แต่ไม้บ้านเราเนื้อแน่นและหนักกว่า เสียงดีกว่า จึงเป็นตัวเลือกต้นๆ ของชาวต่างชาติ

การทำกลองจะใช้ไม้เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งที่นี่ ทุกชิ้นส่วนถูกนำมาใช้อย่างเกิดประโยชน์ที่สุด ไม่มีส่วนไหนเสียเปล่า ไม่ว่าจะเป็น ขี้เลื่อยจากการทำหุ่น ก็จะเอาไปเป็นเชื้อเพลิงอบกลอง ส่วนเศษไม้ที่เหลือ ก็จะขายต่อไปทำถ่าน ไม่ก็งานฝีมือต่างๆ ขึ้นอยู่กับขนาดของไม้

แม้ว่าปัจจุบัน จะมีการทำกลองน้อยลง แต่ก็เชื่อว่า หากยังได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด อาชีพนี้คงจะไม่สูญหายไปอย่างแน่นอน ถ้าใครอยากไปสัมผัสกับบรรดากลองชนิดต่างๆทั้งกลองไทยและกลองนานาชาติ ถือว่าเป็นโอกาสดี เพราะจังหวัดอ่างทอง กำลังมีงาน “มหกรรมกลองนานาชาติ และ พิธีไหว้ครูกลอง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2561” ระหว่าง 23-26 สิงหาคม นี้ ถ้ายังไม่รู้ว่าสุดสัปดาห์จะไปเที่ยวที่ไหน ลองไปจังหวัดอ่างทองดู น่าสนใจไม่น้อย

"กลองนานาชาติ" ความภูมิใจของชาวอ่างทอง

"กลองนานาชาติ" ความภูมิใจของชาวอ่างทอง

"กลองนานาชาติ" ความภูมิใจของชาวอ่างทอง

related