svasdssvasds

ปธ. องค์กรวิชาชีพครู แจง โครงการ ช.พ.ค ไม่ชอบธรรม

ปธ. องค์กรวิชาชีพครู แจง โครงการ ช.พ.ค ไม่ชอบธรรม

ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ชี้เเจง 3 เหตุผล ที่ครูต้องประกาศ "ปฏิญญามหาสารคาม" เรียกร้องให้รัฐบาลพักหนี้ ช.พ.ค

ปธ. องค์กรวิชาชีพครู แจง โครงการ ช.พ.ค ไม่ชอบธรรม

จากรณีที่กลุ่ม “กลุ่มวิชาชีพครู” จ.มหาสารคาม รวมตัว ประกาศ “ปฏิญญามหาสารคาม” ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล และธนาคารออมสิน พักหนี้ ช.พ.ค.หรือ โครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป พร้อมขอให้ลูกหนี้โครงการ ช.พ.ค ทั่วประเทศจำนวน 450,000 แสนคน ร่วมกันยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 61 เป็นต้นไป จนนำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่าครูไม่ควรมีพฤติกรรมขาดวินัยใยการชำระหนี้อย่างกว้างขวางนั้น

ล่าสุดวันนี้ นายอวยชัย วะทา ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าวว่า มีความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้น ทำให้ครูเสียประโยชน์และถูกเอาเปรียบ เนื่องจาก 1.ธนาคารออมสินมีการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ โดยคิด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว และ 2. บังคับให้ครูชำระดอกเบี้ยก่อนเงินต้น 3. มีการบังคับให้ทำประกันสินเชื่อ

ด้าน นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า จากนี้ครูอาจจะต้องรับสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย หากกรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท และที่สำคัญจะโยงพาบุคคลที่ค้ำประกันให้เป็นบุคคลล้มละลายไปด้วย เนื่องจากหนี้เกิดโดยนิติกรรมสัญญา ซึ่งในกรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหากถูกพิพากษาให้ล้มละลาย

จะขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และเมื่อคุณสมบัติไม่ถูกต้องแล้ว มาตรา 110 ก็กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้น ออกจากราชการ ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญา ใดๆ ทั้งสิ้นได้ ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้

หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ก็ต้องขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีก่อน ซึ่งการถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายจะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้

related