svasdssvasds

เปิดหลักเกณฑ์! สัมปทาน ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ

เปิดหลักเกณฑ์! สัมปทาน ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ

การเปิดสัมปทานร้านค้าปลอดอากรและบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่คิงพาวเวอร์กำลังจะหมดสัญญาในปี 2563 กำลังถูกจับตาว่า ทอท.จะคลอดหลักเกณฑ์อย่างไร

หลักเกณฑ์สัมปทาน ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ ตอนที่ 2

ตั้งแต่กลุ่มคิงพาวเวอร์ ได้รับสัมปทาน ร้านค้าปลอดอากร และการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี 2549 และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเด็น โดยเฉพาะมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000  ล้านบาท จริงหรือไม่ ซึ่งจะเข้าข่ายพรบ. ร่วมทุนปี 2535 หรือไม่ ที่ผ่านมา มีหน่วยงานสถาบันการศึกษา ได้ประเมินมูลค่าการลงทุน จึงมีการตั้งคำถาม ถึงหลักเกณฑ์ ในการประเมินมูลค่าว่า มีแนวทางอย่างไร

หลังจากได้พิจารณา สำนักงานกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยว่า การลงทุนในร้านค้าปลอดอากร จะต้องนำเงินลงทุนทั้งหมด ในส่วนของเอกชนมารวมกับส่วนของรัฐ โดยนำเงินลงทุนในส่วนของการซื้อสินค้าคงคลัง มารวมกับมูลค่าการลงทุน ในส่วนของอาคาร และที่ดิน รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย

โครงการนี้ จึงเป็นการลงทุนในกิจการของรัฐ ตามมาตรา 5 พรบ. ว่าด้วย ให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535

คณะกรรมการกฤษฎีกา ยังมีคำวินิจฉัย ที่ระบุว่า การให้เอกชน ดำเนินการร้านค้าปลอดภาษี และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ในสนามบินของบริษัทท่าอากาศไทย เป็นการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินกิจการในหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยานไทย จะต้องพิจารณา หากมีวงเงินหรือทรัพย์สิน ตั้งแต่ 1,000ล้านบาท จะต้องดำเนินการทำสัญญาให้เป็นไปตามกฏหมาย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ยังมี ประเด็นเรื่องพื้นที่ประกอบการ เพราะว่า ร่างทีโออาร์ ชี้ว่า ใช้พื้นที่ร้านค้าปลอดอากร 5,000 ตารางเมตร ส่วนกิจกรรมเชิงพาณิชย์ใช้พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร แต่เมื่อมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการธิการ ที่ตั้งขึ้นในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฎว่า มีการใช้พื้นที่ เกินไปกว่าที่ระบุในทีโออาร์ ซึ่งหมายถึงรายได้ ของผู้ที่ได้รับสัปมทาน จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

อีกประเด็น ที่มีการพูดถึงกันมาก คือการตรวจสอบยอดขาย ที่แท้ของคิงพาวเวอร์ ซึ่งเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา คือคิงพาวเวอร์ ต้องให้ผลตอบแทนท่าอากาศยานไทยเป็นรายเดือนร้อยละ 15-20 ของยอดขาย และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำหนังสือถึง ให้ท่าอากาศยานไทย ตรวจสอบยอดขาย เพื่อจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ที่แท้จริง โดยท่าอากาศยานไทยระบุว่า จะติดตั้งระบบตรวจสอบแบบเรียลไทม์ หรือ พีโอเอส ซึ่งระบบดังกล่าว ได้ติดตั้งเมื่อปี 2559 ผ่านมาแล้ว 10 ปีหลังจากทำสัญญา

และหากย้อนตัวเลขรายได้ของกลุ่มบริษัทคิงพาวเวอร์ ปี 2548 มีรายได้ ประมาณ 9,800 ล้านบาท 11 ปี ผ่านไป รายได้เพิ่มขึ้น เป็น 85,000 ล้านบาท ย้อนรอย! คิงพาเวอร์ กับสัมปทานใหญ่ ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ

มาถึงวันนี้ เริ่มมีแผนที่ชัดเจน ในการประมูลร้านค้าปลอดภาษี และบริหารพื้นที่ โดยนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดี และข้อเสียของรูปแบบการบริหาร และรอการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ในการเปิดประมูลสัมปทานพร้อมกัน

ขณะเดียวกัน ต้องการเจรจา กับการบินไทยว่า จะย้ายไปอยู่ที่อาคารผู้โดยสาร 2 หรือไม่ เพราะการบินไทยมีผู้โดยสารมากถึง 26 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสาร ในแต่ละพื้นที่ด้วย แต่หากการเจรจากับการบินไทย ยืดเยื้อออกไป การท่าอากาศยาน จะประมูลสัมปทานอาคารผู้โดยสาร 1 ตามแผนเดิม ที่จะหมดสัญญา ในปี 2563

related