svasdssvasds

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

นักวิทยาศาสตร์แปลกใจขนาดสึนามิที่พัดถล่มเมืองปาลูของอินโดนีเซียใหญ่เกินขนาดของแผ่นดินไหว และความเสียหายรุนแรงเกินคาด จะมีปัจจัยอะไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายงาน

ข้อสังเกตหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศอินโดนีเซีย

หนังสือพิมพ์เดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานว่า ดร. เจสัน แพทเทิน นักธรณีฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยฮัมโบลท์ สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งข้อสังเกตหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยระบุว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอาจจะเกิดสึนามิ แต่ไม่ได้คาดคิดว่าจะใหญ่ขนาดนี้ ซึ่งสูงถึง 5.4 เมตร และคร่าชีวิตผู้คนนับพัน

นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ภัยสึนามิมักเกิดตามมาหลังจากมีแผ่นดินไหวเมกาทรัสต์ โดยธรณีภาคแผ่นหนึ่งถูกแรงกระทำให้มุดตัวเข้าใต้ธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่ง และมักมีแรงสั่นสะเทือนรุนแรงเกิน 9 แมกนิจูด ทำให้น้ำกระเพื่อมมหาศาลและตามมาด้วยคลื่นสึนามิที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว

แต่เหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกิดกับรอยเลื่อนตามแนวระดับ ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวตามแนวนอน โดยปกติแล้วการเคลื่อนตัวเช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ ดร.แพทเทินระบุว่า อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้เกิดสึนามิได้ด้วย เช่น มีรอยเลื่อนใดรอยเลื่อนหนึ่งเคลื่อนตัวแบบแนวตั้งมากจนทำให้น้ำทะเลกระเพื่อม หรือไม่ก็รอยเลื่อนตรงจุดเกิดเหตุเคลือนผ่านบริเวณที่พื้นมหาสมุทรขึ้นหรือต่ำลงพอดี จึงผลักน้ำทะเลที่อยู่ตรงหน้าไปด้วย

อีกความเป็นไปได้ก็คือ นี่คือสึนามิทางอ้อมที่เกิดจากการสั่นสะเทือนรุนแรง จนทำให้เกิดดินถล่มไต้ทะเล ทำให้น้ำทะเลแตกกระจายเป็นคลื่นยักษ์ ดร.แพทเทินระบุว่า สึนามิครั้งนี้อาจเกิดจากสองทฤษฎีข้างต้นรวมกัน การศึกษาเรื่องพื้นทะเลจึงจะเป็นเรื่องสำคัญเพื่อหาคำตอบที่ชัดเจน นอกจากนี้ สถานที่ตั้งของเมืองปาลูอยู่ในอ่าวที่แคบ จึงอาจทำให้พลังของคลื่นม้วนตัวในอ่าว จนทำให้คลื่นสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปะทะเข้าชายฝั่ง

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

ยอดผู้เสียชีวิต สะท้อนว่าอินโดฯ ขาดระบบการตรวจจับและการเตือนภัยสึนามิ

อย่างไรก็ตาม เดอะ นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า สึนามิเกิดขึ้นใกล้เมืองปาลูมาก จนทำให้เหลือเวลาในการอพยพประชาชนน้อย นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกเตือนภัยสึนามิแล้วแต่กลับประกาศยกเลิกครึ่งชั่วโมงต่อมา ซึ่งยอดผู้เสียชีวิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนการขาดแคลนระบบการตรวจจับและการเตือนภัยสึนามิขั้นสูงของอินโดนีเซีย

ดร. หลุยส์ คอมฟอร์ต จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ระบุว่าอินโดนีเซียใช้เพียงแค่เครื่องมือวัดคลื่นแผ่นดินไหว ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือ GPS และมาตรวัดระดับน้ำเพื่อตรวจหาสึนามิ ซึ่งถือว่ายังไม่เพียงพอ ในขณะที่องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา มีเครือข่ายเซนเซอร์ตรวจจับใต้มหาสมุทรถึง 39 ตัว ที่สามารถตรวจจับความเปลี่ยนแปลงที่เล็กมากและระบุการเคลื่อนตัวของสึนามิได้

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

อินโดฯ มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์แต่ใช้ไม่ได้เพราะไม่มีการบำรุงรักษาที่เหมาะสม

ดร.คอมฟอร์ตระบุว่า อินโดนีเซียก็มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ถึง 22 ตัว แต่ไม่ได้ใช้แล้วเพราะไม่มีการบำรุงรักษาที่เหมาะสม ตอนนี้เธอกำลังทำงานกับ 3 หน่วยงานของรัฐบาลอินโดนีเซีย เพื่อนำระบบตรวจจับใหม่มาใช้ เพื่อการสื่อสารใต้ทะเล แทนการใช้ทุ่นตามพื้นผิวน้ำ ที่มักถูกขโมยหรือถูกเรือชนจนเสียหาย

อย่างไรก็ตามการหารือกับสามหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อติดตั้งระบบต้นแบบที่เกาะสุมาตรา กลับถูกระงับเมื่อเดือนที่แล้วเพราะปัญหาด้านการประสานงานของหน่วยงานทั้งสาม ซึ่งดร.คอมฟอร์ตระบุว่า เป็นเรื่องที่ทำให้ใจสลายเมื่อเธอรู้ว่ามีเทคโนโลยีพร้อมใช้งานได้ แต่ไม่ได้ใช้ และอินโดนีเซียตั้งอยู่บนวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งสึนามิก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งแน่นอน

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

ผู้เชี่ยวชาญกังขาสึนามิอินโดนีเซียแรงเกินคาด

related