svasdssvasds

"หมอล็อต" ส่งสาสน์จากช้างป่าในวันช้างไทย ทำบ้านช้างให้น่าอยู่

"หมอล็อต" ส่งสาสน์จากช้างป่าในวันช้างไทย ทำบ้านช้างให้น่าอยู่

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

เนื่องในวันที่ 13 มี.ค. เป็นวันช้างไทย นายสัตวแพทย์ ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้าฝ่ายสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้โพสต์ข้อความ สาสน์จากช้างป่า ในวันช้างไทย รณรงค์ทำพื้นที่ป่าให้น่าอยู่ เพื่อเป็นที่อยู่ให้กับช้างป่า เพราะที่ช้างป่าต้องมาอยู่นอกบ้านทุกวันนี้ ไม่มีความสุขเลย โดยระบุว่า Lotter: "ทำบ้านเราให้น่าอยู่ แล้วเราจะกลับเอง" เพราะที่เราอยู่นอกบ้านทุกวันนี้...ไม่มีความสุขเลย "Destrap Day" สาสน์จากช้างป่าในวันช้างไทย 13 มีนาคม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถิ่นอาศัย แหล่งอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งดินโป่ง ลดน้อยลง เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงปัจจัยเรื่องเสียง แรงสั่นสะเทือนจากถนนและกับดักสัตว์ป่าต่างๆ ซึ่งถือเป็นปัจจัยรบกวนสวัสดิภาพที่สำคัญ ทำให้ช้างป่าออกนอกพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ไม่รู้เรื่อง ชาวบ้านก็มาช่วยกันเป็นหูเป็นตากัน

วันช้างไทยปีนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาตรการรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกันประกอบกิจกรรมค้นหา เก็บกู้ กับดักสัตว์ เช่น แร้ว ปืนผูก ตะปู หรืออุปกรณ์อื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าในพื้นที่รับผิดชอบ แล้วนำออกจากพื้นที่ ทำให้พื้นที่นั้น เป็น “พื้นที่ปลอดกับดักสัตว์ป่า”

"หมอล็อต" ส่งสาสน์จากช้างป่าในวันช้างไทย ทำบ้านช้างให้น่าอยู่

ปัจจุบันในบริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของไทย ยังพบว่า มีการใช้เครื่องมือดักสัตว์ป่า ประเภทบ่วง แร้ว ที่ทำด้วยเชือกและสลิง ปืนผูก และอุปกรณ์อื่นๆ เป็นจำนวนมากในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตลอดจนพื้นที่ข้างเคียงพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งกับดักเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาล่าช้างป่าแต่อย่างใด แต่ด้วยช้างป่าเป็นสัตว์ที่เดินนำ บุกเบิกเส้นทาง และตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงมักได้รับผลกระทบไปพร้อมๆ กับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ

จากการลาดตระเวนเก็บกู้บ่วง/แร้ว บริเวณรอยต่อแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ท้องที่บ้านเขาวง บ้านคลองตะเคียน บ้านหลุมตาสังข์ บ้านเทพประทาน บ้านสามพราน บ้านมอทราย และบ้านหอตะแบก อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เจ้าหน้าที่ตรวจพบบ่วงเชือกรวม ๑๔๙ เส้น และซากวัวแดง ซากกวางป่า และซากหมูป่า ชนิดละ ๒ ซาก การใช้เครื่องมือดักสัตว์ป่าดังกล่าวเป็นภัยคุกคามร้ายแรงอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพของสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ประกอบได้ง่าย ใช้อุปกรณ์ที่หาได้โดยทั่วไป และสามารถอำพรางการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ได้ไม่ยาก

"หมอล็อต" ส่งสาสน์จากช้างป่าในวันช้างไทย ทำบ้านช้างให้น่าอยู่

สัตว์ป่าเมื่อติดกับดักจะดิ้นด้วยความตกใจ ทุกข์ทรมาน ลักษณะของบ่วงที่ผูกนั้นเมื่อสัตว์ยิ่งดิ้นหรือยิ่งขยับ บ่วงจะยิ่งรัดแน่นขึ้นเรื่อยๆ ช้างป่าบางตัวที่ติดบ่วงจะถูกรัดจนบาดลึกถึงกระดูกเกิดเป็นแผลเน่า เป็นสาเหตุให้ล้มตายได้ในที่สุด บางกรณีที่เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สามารถเข้าทำการช่วยเหลือและรักษาได้ทันท่วงที แต่ถึงกระนั้นช้างป่าที่ติดบ่วง/แร้วนั้น จะพิการไม่สามารถเดิน หากิน หรือใช้ชีวิตอยู่ในป่าด้วยตัวเองตามปกติได้อีกต่อไปตลอดทั้งชีวิต

เช่นกรณีของพังฟ้าแจ่มที่เจ้าหน้าที่ได้พบและช่วยเหลือไว้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559 ตั้งแต่ยังเป็นลูกช้าง ไม่หย่านม ซึ่งสัตวแพทย์ของหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันประสานการรักษาอย่างเต็มที่ จนถึงปัจจุบันพังฟ้าแจ่มปลอดภัยแล้ว แต่ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตในป่าได้อีกต่อไป เหตุการณ์ลักษณะนี้ยังคงเกิดขึ้นหลายครั้ง โดยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงต้นเดือนมีนาคม 2562 สัตวแพทย์ได้ทำการช่วยเหลือช้างป่าที่ได้รับบาดเจ็บจากการโดนบ่วงดักสัตว์รัดอีกจำนวน 5 ตัว

ด้วยเหตุดังกล่าว และเนื่องในโอกาสวันช้างไทย 13 มีนาคมของทุกปี สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีมาตรการรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกันประกอบกิจกรรมค้นหา เก็บกู้ กับดักสัตว์ เช่น แร้ว ปืนผูก ตะปู หรืออุปกรณ์อื่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าในพื้นที่รับผิดชอบ แล้วนำออกจากพื้นที่ ทำให้พื้นที่นั้น เป็น “พื้นที่ปลอดกับดักสัตว์ป่า”

มีระยะเวลารณรงค์ 1 สัปดาห์ (วันที่ 13-19 มีนาคม 2562) โดยกำหนดให้วันช้างไทยเป็นวันเริ่มต้นแห่งการรณรงค์ ผลดำเนินการเป็นประการใด ให้รายงานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ต่อไป มาร่วมกันรณรงค์กับสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ในการต่อต้านการวางกับดักสัตว์ป่าเพื่อสวัสดิภาพของสัตว์ป่าและลดปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่กันครับ #DestrapDay13 #SurvivalTogether.

related