svasdssvasds

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

"ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้มสัมฤทธิ์ ครูเพียงคนเดียวในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา บ้านกรูโบ กับผลงานอันทรงคุณค่าสมคำนิยาม แม่พิมพ์แห่งชาติ เนื่องด้วยวันครูแห่งชาติของครูเจี๊ยบ

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

"เพราะการสอนเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และครูต้องไม่เปิดช่องให้เด็กทำผิดได้ ถ้าเมื่อไรมีช่องทางให้เด็กทำผิด นั่นแปลว่าเป็นความผิดของครูที่ดูแลเด็กได้ไม่ดีพอ" ครูเจี๊ยบ นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

บทสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายก่อนสิ้นลมหายใจเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2561 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว และอาการป่วยจากโรคต่อมน้ำเหลืองอุดตันที่รักษามานาน แต่ยังคงยืนหยัดและทุ่มเททำหน้าที่แม่พิมพ์แห่งชาติมานานกว่า 20 ปี ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง บ้านกรูโบ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดจาก

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

"ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้มสัมฤทธิ์ กับการเป็นครูดูแลเด็ก ๆ และชุมชนชาวกะเหรี่ยงเพียงคนเดียวกว่า 20 ปี  ควบคู่ไปกับการสอนหนังสือให้เด็ก ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ในชุมชนกะเหรี่ยงหมู่บ้านสุดท้ายที่อยู่ลึกที่สุด ในเขตพื้นที่ของป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร

ไร้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การเดินทางที่ยากลำบาก ต้องขับรถยนต์กว่า 111 กิโลเมตร และนั่งรถอีต๊อกต่ออีก 23 กิโลเมตรกว่าจะถึงหมู่บ้านกรูโบ ในแต่ละเดือนครูเจี๊ยบจะต้องเดินทางอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อนำเอาเสบียงอาหารกลางวันไปให้ลูกศิษย์กว่า 60 ชีวิต

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

ย้อนไปเมื่อราว 20 ปีก่อน ยังไม่มีถนนตัดผ่านถึงบ้านหม่องกั๊วะ ครูเจี๊ยบต้องเดินเท้านานข้ามวันกว่าจะถึงตัวอำเภอ หากเป็นช่วงหน้าฝนยิ่งต้องใช้การเดินทางอีกเส้นทางหนึ่ง กินเวลากว่าการเดินในเส้นทางปกติไปถึง 3 วัน

ในตอนแรกที่มาอยู่เป็นครูที่ชุมชน ต้องทำด้วยตัวเองทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการสอนหนังสือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจเชื้อมาลาเรีย วัดความดัน จ่ายยาให้ชาวบ้าน จนกระทั่งเริ่มมีสุขศาลาขึ้นในพื้นที่เมื่อ 7-8 ปีที่ผ่านมา การเป็นครูในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาเป็นความยากลำบากอย่างหนึ่ง แต่เพราะแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ตัวครูเจี๊ยบนั้นตัดสินใจที่จะทนเพื่อผู้อื่น เหมือนเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

การใช้ชีวิตในป่าลึกเพียงลำพังกับการทำหน้าที่ครู ที่ไม่ได้หยุดแค่เรื่องการสอนหนังสือมอบความรู้ให้กับเด็ก ๆ แต่ "ครูเจี๊ยบ" ยังพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนี้ไปพร้อมกัน ทั้งการสร้างงานสร้างอาชีพจากฝีมือการทอผ้าที่สวยงาม การหาหนทางเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้เด็ก ๆ รักและหวงแหนผืนแผ่นดินบ้านเกิดแผ่นดินไทย ซึ่งทังหมดนี้เกิดจากแรงกายแรงใจของผู้หญิงตัวเล็ก ๆ เพียงคนเดียว ที่เต็มไปด้วยความเสียสละ ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะดูแลและไม่ละทิ้งเด็กชาวไทยภูเขาที่มีต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

"ครูเจี๊ยบ" เล่าถึงการทำงานที่นอกเหนือจากการสอนหนังสือเด็ก ๆ ว่า ชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนจะมองครูว่าเป็นตัวแทนของในหลวง ดังนั้นความเหน็ดเหนื่อยของตัวเองคนเดียวที่จะสามารถทำให้อีกหลายคนได้รับโอกาสและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็เป็นสิ่งที่สมควรทำ ไม่ได้มองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เหนื่อยกว่าเดิม อะไรที่เป็นประโยชน์ก็ทำทุกอย่าง มองถึงประโยชน์ส่วนรวมของคนในชุมชนและเด็ก ๆ ก่อน โดยยึดในคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าเมื่อทำงานอย่าหยิบยกเอาความขาดแคลนเป็นข้ออ้าง แต่ให้ทำบนความขาดแคลนนั้นให้ดีที่สุด นี่คือหลักคิดที่ทำให้ครูเจี๊ยบยึดถือและปฏิบัติตามมาโดยตลอด

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

ถึงแม้บ้านกรูโบจะเป็นชุมชนสุดท้ายที่ลึกและห่างไกลจากอำเภออุ้มผางมากที่สุด ห่างไกลชนิดที่เรียกว่าหลายคนไม่เคยได้ออกไปไกลจนถึงตัวอำเภออุ้มผาง ไกลจนชนิดที่ว่าการศึกษาอาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับพวกเขาด้วยซ้ำ แต่ครูเจี๊ยบยังคงมุ่งมั่นที่จะหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษา และผลักดันให้ลูกศิษย์ทุกคนได้ออกไปเปิดโลกกว้างทางการเรียนรู้ให้สูงที่สุดด้วยทุกวิถีทางเท่าที่ตัวเองจะทำได้

โดยเด็กที่นี่ไม่เน้นความเก่งแต่เน้นเรื่องความเป็นคนดี ถึงแม้ความเก่งจะเป็นประโยชน์ที่ใช้ได้ในชีวิตจริง แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ใช่คนดี เก่งแล้วโกงจะมีประโยชน์อะไร แต่สิ่งสำคัญคือเด็ก ๆ จะต้องเข้าใจว่าตัวเองเป็นคนไทย เพราะกะเหรี่ยงเป็นแค่เชื้อชาติเฉย ๆ แต่ทุกคนคือคนไทย และความรู้ที่ได้รับจะทำให้ตัวเขาอยู่ต่อในสังคมได้โดยไม่ถูกใครหลอกลวง

ส่วนการสอนเด็กนักเรียนกว่า 60 คน ที่มีตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงประถามศึกษาปีที่ 6 ก็ไม่ใช่เรื่องงานที่จะทได้เพียงคนเดียว โดยตัวครูเจี๊ยบใช้วิธีพี่ต้องดูแลน้อง แบ่งหน้าที่แบ่งความรับผิดชอบของแต่ละคนในการดูแลส่วนต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยปีโตสุดอย่างชั้นป.6 ช่วยกันดูแลน้องอนุบาล บางวิชาก็ใช้วิธีเรียนร่วมกันซึ่งนอกจากจะได้ความสนุกแล้ว ยังช่วยในเรื่องความรักความสามัคคีกันในหมู่นักเรียนของครูเจี๊ยบ

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

ด้วยการอุทิศตนของ "ครูเจี๊ยบ" ทำให้ในปัจจุบันมีเด็กกะเหรี่ยงโปจบการศึกษาในสาขาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยถึง 3 รุ่น โดย ลูกอ๊อด ศิษย์เก่าที่เรียนจบปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กลับมาเป็นครูสอนอยู่ที่บ้านหม่องกั๊วะ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการ "ครูเจี๊ยบ" บุคคลที่ผลักดันตนเองมาตลอด แม้จะต้องร้องไห้เพราะไม่มีเงินหลายครั้งหลายครา แม้จะได้ทุนการศึกษาก็ยังไม่เพียงพอ เลยตั้งใจว่าถ้าเมื่อไรที่ตนเองได้ดีจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของเรา เพื่อช่วยเหลือคนอื่นในชุมชน

วันครูแห่งชาติ 2563 รำลึกบุคลากรทรงคุณค่า "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์

ถึงแม้ในวันนี้ "ครูเจี๊ยบ" นฤมล แก้วสัมฤทธิ์จะได้ลาจากโลกไปแล้ว แต่ระยะเวลาการทำงานที่ผ่านมา ที่มีต่อเด็ก ๆ และชุมชนป่ามรดกโลกแห่งนี้ แต่อุดมการณ์ความเป็นครูที่ยึดมั่นทุ่มเทของครูเจี๊ยบนั้น ไม่เคยจางหายไปจากใจขิงคนบ้านกรูโบ

 

ขอบคุณข้อมูล komchadluek / goodlifeupdate / ครูผู้เสียสละ-7ElevenThailand

related