svasdssvasds

ลดเงินเดือน สถานการณ์องค์กรสู้โควิด การเดิมพันครั้งสำคัญ จะอยู่หรือไป?

ลดเงินเดือน สถานการณ์องค์กรสู้โควิด การเดิมพันครั้งสำคัญ จะอยู่หรือไป?

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ลดเงินเดือน ถือเป็นมาตรการแรกๆที่จะถูกเลือกมาใช้ในยามองค์กรประสบภาวะขาดทุน แน่นอนในช่วงวิกฤติโควิด 19 มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ชอยส์ดังกล่าวจะถูกจิ้มเพื่อพยุงสถานการณ์ ซึ่งมันส่งผลโดยตรงต่อพนักงานที่ไม่อาจรับรู้เลยว่าเหตุการณ์ในอนาคตจะเป็นเช่นไร

ลดเงินเดือน สถานการณ์องค์กรสู้โควิด การเดิมพันครั้งสำคัญ จะอยู่หรือไป?

ชะตากรรมมนุษย์เงินเดือนเมื่อได้รับสัญญาณเหล่านี้แน่นอนว่ามันหมายความถึงความไม่มั่งคงในชีวิต โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด 19 ที่หลายหน่วยงานออกมาตรการเซฟคอส ลดต้นทุนกันจ้าละหวั่น และกราฟความไม่ชัวร์ก็มักจะไล่มาตามนี้

  • ปรับลดเงินเดือน 20% - 50%
  • ให้ทำงานที่บ้าน
  • Leave without pay (ลา - หยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน)
  • และสุดท้ายคือบริษัทปิดตัว และการตกงานของลูกจ้างโดยปริยาย

ทั้งนี้เราขอยืนยันว่าสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแทบจะในทุกหน่วยธุรกิจ และคงไม่มีคำปลอบใจใดๆที่จะดีไปกว่าการขอให้สู้ อดทน ฟันฟ่าวิกฤตินี้มันไปด้วยกัน ดังเช่นบทความนี้จากเพจ TaxBugnoms ที่ขอเป็นหนึ่งในแรงใจไปสู่เพื่อนพ้องมนุษย์เงินเดือน

ลดเงินเดือน สถานการณ์องค์กรสู้โควิด การเดิมพันครั้งสำคัญ จะอยู่หรือไป?

งาน เงิน และโรคระบาด

กับคำพูดที่อยากฝากไว้เตือนใจ

1. ถ้าวันนี้คุณยังมีงานอยู่

จนภูมิใจและทำมันให้ดี

เพราะหลายคนไม่มีงานทำแล้ว

ลดเงินเดือน = ยังมีงานอยู่

ลดเวลาทำงาน = ยังมีงานอยู่

แต่อย่าลืมคิดดูว่า

เราอาจจะไม่มีงานก็ได้

2. ถ้าการทำงานที่บ้าน

เป็นเรื่องลำบากสำหรับคุณ

ถ้าคุณยังทำงานเท่าเดิม

หรือทำงานดีกว่าเดิมไม่ได้

คุณมีสิทธิลุ้นตกงานเช่นเดียวกัน

เช่นเดียวกัน

ถ้าการทำงานที่บ้าน

กลายเป็นเรื่องสบายใจ

เพราะคุณไม่ต้องทำอะไรเลย

คุณก็มีสิทธิลุ้นตกงานเหมือนกัน

เมื่อสถานการณ์กลับสู่ปกติ

3.การทำงานที่บ้าน

เป็นเรื่องสนุกแค่ 2-3 วันแรก

เพราะคุณกำลังตื่นเต้นอยู่

แต่อยากให้ลองคิดดูว่า

ถ้าเดือนหน้า เจ้านายบอกว่า

ต้องเลิกจ้างคุณซะแล้ว

คุณจะทำอย่างไรกับชีวิตดี ?

4.การทำงานนอกบ้าน

แปลว่าคุณต้องออกไปเสี่ยง

และเหตุผลทีคุณออกไปเสี่ยง

ก็มีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น

นั่นคือ คุณอยากทำมันสุดใจ

หรือไม่ก็ คุณไม่มีสิทธิเลือกอะไรเลย

5.การทำงานที่บ้าน

ทำให้คุณต้องทำงานตลอดเวลา

มันเหมือนว่าไม่มีวันจันทร์ถึงศุกร์

แต่ทุกๆ วันคือ เช้าวันจันทร์

ทีคุณต้องตั้งใจทำงานกับมัน

6. งาน = เงิน

แต่ เงินอาจจะไม่เท่ากับงาน

เพราะบางคนต้องยอมทำงาน

แม้ว่าจะไม่ได้เงินอย่างทีเคย

เพียงเพราะต้องสู้เพื่อความอยู่รอด

7. ความเครียดที่มีมากขึ้น

ทำให้คุณสับสนว่า

คุณเครียดเพราะว่างานหนัก

หรือเครียดเพราะว่ากลัวติดโรคระบาด

หรือจริงๆแล้ว

คุณเครียดเพราะว่าชีวิตมันเครียดมาก

8. ทำงานที่รักแล้ว

เหมือนไม่ต้องทำงานตลอดชีวิต

คำพูดนี้ชวนให้คุณคิดกลับ

ที่คุณเหนื่อยและหนักขนาดนี้

เพราะว่าคุณรักงานที่ทำจริงๆเหรอ

9. โรคระบาดเป็นเรื่องชั่วคราว

เรารู้ว่าวันหนึ่งมันจะหมดไป

เพียงแต่เราไม่รู้ว่าวันไหน

และต้องรอมันไปถึงเมื่อไร

และเมื่อถึงวันนั้น

เรายังจะมีงานทำอยู่หรือเปล่า

เราจะยังมีเงินเหลืออยู่อีกไหม

และ เราจะรอดพ้นจากโรคได้หรือไม่

10. คำถามพวกนี้ ไม่มีคำตอบ

มีเพียงแต่คำถามว่าทำยังไงดี?

เราทำได้แค่บอกตัวเองว่า

พยายามทำในแต่ละวันให้ดี

ประคองในแต่วินาทีให้รอด

เขียนเพื่อบอกให้ลองคิด

เพราะตอนนีสิ่งที่ชีวิตเจอ

มันไม่ใช่เรื่องสนุกอีกต่อไป

แต่เราก็ต้องพยายามทำให้

ตัวเองหัวเราะออกมาให้ได้

... มากที่สุด

ป.ล.

เขียนเล่าสู่ความเครียดในช่วงนี้นะครับ

เชื่อว่าหลายคนกำลังเครียดกับมันอยู่

แต่เราต้องสู้ไปด้วยกันครับผม

 

 

https://www.springnews.co.th/thailand/639119

https://www.springnews.co.th/thailand/636981

https://www.springnews.co.th/thailand/639117

https://www.springnews.co.th/thailand/637631

 

related