svasdssvasds

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

"อเนก" หนุนไอเดียภรรยา "ศ.พญ.จิรพร" เสนอรัฐ สู้โควิด 19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก ให้เราเอาคนหายป่วย ที่มีภูมิต้านทานที่ตัวเองสร้างขึ้น กลับมาทำงาน อย่าปล่อยให้ “เสียของ”

"อเนก" หนุนไอเดียภรรยา "ศ.พญ.จิรพร" เสนอรัฐ สู้โควิด 19

"อเนก" หนุนไอเดียภรรยา เสนอรัฐ สู้โควิด 19  หลังเช้าวันนี้ (6 เม.ย.63) เพจเฟซบุ๊กของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ Anek Laothamatas โพสต์ข้อความหนุนความคิดเห็นของภรรยาของตน ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านการแพทย์ อย่างมากมาย เคยเป็นประธานราชวิทยาลัยรังสีแพทย์มาแล้ว ปัจจุบันเป็นคณบดีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

โดยระบุใจความ ว่า ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ เสนอ ให้สู้โควิด -19 ทั้งรับและรุก

กล่าวไปแล้วในคราวก่อนว่า ภรรยา ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ เสนอให้เราเอาคนหายป่วย ที่มีภูมิต้านทานที่ตัวเองสร้างขึ้น กลับมาทำงาน อย่าปล่อยให้ “เสียของ” นอนกักตัวเองอยู่ที่บ้าน เพราะบัดนี้เขา “แข็งแรง” ทนต่อโควิด ไม่แพร่โควิด เป็นคนที่จัดว่าปลอดภัยต่อสาธารณะมากกว่าคนทั่วไปที่กำลังใส่หน้ากากทำงานอยู่

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

วันนี้ เธอเสนอแผนการ “คร่าวๆ” ในการเอาคนเหล่านี้มาทำงาน และแบ่งประชากรไทยออกเป็นกลุ่มๆ ที่จะต้องปฏิบัติต่อเขาแตกต่างกัน และเป็นแผนในการฟื้นเศรษฐกิจด้วย “รุกคืน” ทางเศรษฐกิจด้วย แม้ตนเองจะเป็นหมอ แต่เธอก็เตือนพวกเราว่า “ไม่อยากให้เรากังวลกันแต่การตั้งรับทางสาธารณสุข”

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

เริ่มจากทุกชุมชนทุกท้องถิ่น จะต้องทำทะเบียนประชากรของตน โดยแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม:

กลุ่มที่ 1 กลุ่มคน "ปลอดภัย" ดังที่กล่าวมาแล้ว คือ คนที่มีภูมิคุ้มกันโรคและปลอดเชื้อโควิด-19 โดยต้องได้รับการยืนยันว่ามีภูมิต้านทาน (antibody) และ ไม่มีเชื้อโควิด-19 (antigen) แล้ว เอาเขามาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้เข้าสู่ภาวะปกติ และเลือด (พลาสม่า) ของเขายังจะเป็นแหล่งช่วยสนับสนุนการผลิตเซรุ่มในการช่วยรักษาโรคให้คนไข้คนอื่นๆ ได้ด้วย

คนเหล่านี้มีมากกว่าที่เรามีในสถิติ คือมีคนที่รักษาหายแล้ว 674 เมื่อวันที่ 5 เมษายนนี้ แต่ในความเป็นจริงต้องมีจำนวนมากกว่านั้น เพราะในหนึ่งคนที่มีรายงานว่าเป็นโรค จะมีคนที่เป็นโรคแต่ไม่มีใครทราบอยู่ ประมาณ 6 เท่า ของผู้ที่ตรวจว่ามีเชื้อโควิด-19 คือราว 13,000 คน ต้องควานหาคนเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการตรวจ antibody พวกเขาครับ

"อเนก" หนุนไอเดีย "ศ.พญ.จิรพร" เสนอสู้ โควิด19 แบ่งคน 3 กลุ่ม ลุยรับและรุก

กลุ่มที่ 2 กลุ่มคน "ปลอดเชื้อ" คือคนที่ยังไม่เคยติดเชื้อ แต่ก็แน่นอนคือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน คนเหล่านี้ คือคนส่วนใหญ่ในสังคม ก็ให้เขาปฏิบัติหลักการ Social distancing อย่างเข้มงวด ต่อไป

กลุ่มที่ 3 กลุ่มคนที่ “เป็นโรค” คนเหล่านี้ต้องถูกกักกันอย่างเข้มงวดเพื่อไม่ให้ไปปล่อยเชื้อโควิด-19 ให้กับคนอื่น คนที่เป็นน้อยๆ ต้องกักตัวประมาณ 14-21 วัน ก็จะมีภูมิคุ้มกันแล้ว หลังจากนั้นตรวจหาเชื้อโรค (antigen) ถ้าไม่มีก็สามารถเลื่อนเป็นกลุ่ม “ปลอดภัย” ได้ ส่วนคนที่มีอาการหนัก เรารักษาให้เต็มที่ ช่วยชีวิตให้ได้มากที่สุด

ควบคู่กันไปนะครับ เธอแนะให้พวกเราช่วยวางแผนการขับเคลื่อนประเทศเราให้กลับสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ ในขณะที่โควิดยังระบาด หรือเริ่มซาลงไปบ้าง เราจะมุ่งเป้าไปที่ส่วนไหน เรื่องอะไร มากที่สุด ยกตัวอย่าง :

หากต้องการให้ความมั่นใจในการดูแลคนเปราะบาง หมายถึงคนแก่ คนที่มีโรคอันตรายอื่นๆ อยู่แล้วให้ปลอดภัยสูงสุด ก็ให้เลือกคัดเอาคนจากกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 มาทำการเรียนรู้เพิ่มเติม สร้างให้เป็นผู้บริบาลผู้สูงอายุ และ ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19 หรือ หากเราต้องการกู้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยเร็ว ก็เลือกเมืองจำนวนหนึ่งมาเป็นเมืองปลอดโควิด-19 ควบคุมการเข้าออกเมืองเหล่านี้ให้เข้มงวด เช่น หัวหิน พัทยา ภูเก็ต สมุย กระบี่ เชียงใหม่ สุโขทัย เป็นต้น

แล้วเอาคนกลุ่มที่ 1 และ 2 เข้าสู่ภาคบริการ เช่น คนขับรถ ไกด์ เจ้าหน้าที่บริการในโรงแรม ร้านอาหาร และอื่นๆ ในทางกลับกัน คนที่จะมาท่องเที่ยวในเมืองเหล่านี้ได้ต้องเป็นคนที่ได้รับการ”รับรอง” ว่าปลอดโควิด-19 แน่นอน ทำที่พักดีๆ เป็นขั้นเป็นตอนก็ได้ เช่น เริ่มจากโรงแรมที่บริการดีให้คนที่จำเป็นมากักตัวเองในช่วง quarantines 14 วัน และต่อด้วยโรงแรมสำหรับคนปกติทั่วไปที่มาเที่ยวมาทำงาน

ทำแบบนี้จะได้แต่นักท่องเที่ยวคุณภาพดีที่ปลอดจากโควิด หรือ เมืองที่ทำการค้าขายเป็นหลักคนเหล่านี้ ต้องใช้คนในกลุ่มที่ 1 มาทำเท่านั้น เพราะเขามีภูมิต้านทานโรคอยู่แล้ว แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าสร้างบรรยากาศการค้าขายแบบโชว์ของโดยระบบ digital เป็นหลักและส่งเสริมการซื้อขายออนไลน์

สุดท้าย คุณหมอจิรพรย้ำว่า รัฐบาลและแต่ละเมือง แต่ละชุมชน จะต้องเอาไปประยุกต์ใช้ ดูว่าแต่ละที่จะทำอะไรได้มากน้อยเพียงไร เป็นไปได้แค่ไหน ทุกฝ่ายจะต้องคิดถึงโอกาส ด้วย อย่าจมอยู่กับอุปสรรค แต่ที่เธอพูดอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะให้เราทำกันอย่างประมาท

เธอฝากว่าขอให้ทำอย่างดีที่สุดก็แล้วกัน ปิดช่องโหว่ให้มากที่สุด และถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาในระหว่างปฏิบัติ ก็ต้องรีบปรับปรุงหรือแก้ไขต่อไป

ฟังดูแล้ว ก็น่าคิดตาม น่าเอาไปลองทำดูนะครับ ใครคิดต่อเติมเสริมให้ดีกว่านี้ได้ ก็เชิญเลยครับ ด้วยความห่วงใยในคนไทยด้วยกัน !

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

How To ดูแล สุขภาพจิต เด็กและเยาวชน ระหว่างโรคระบาด

How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

 

related