svasdssvasds

หมอธีระวัฒน์ โพสต์เฟซจวกหมอไร้ความเข้าใจโควิด 19

หมอธีระวัฒน์ โพสต์เฟซจวกหมอไร้ความเข้าใจโควิด 19

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

Fake News

7 เมษายน 2563  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุ เป็นการโพสต์ข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องของการหาโรคที่กำลังเป็นอยู่และที่กำลังจะหายหรือหายแล้ว

 

[caption id="attachment_644502" align="aligncenter" width="1288"] หมอธีระวัฒน์ โพสต์เฟซจวกหมอไร้ความเข้าใจโควิด 19 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[/caption]

 

จริงอยู่การตรวจหาแอนติบอดีที่เป็นการตรวจอย่างรวดเร็วหลายบริษัทใช้ไม่ได้และอยู่ในระหว่างการสอบสวน แต่การพูดในลักษณะของการตรวจโดยวิธีนี้ทั้งหมดว่าใช้ไม่ได้ และต้องใช้ PCR อย่างเดียว แสดงว่าต้องไปทำการเรียนเรื่องนี้ใหม่หมด

 

การที่จะทราบว่าการตรวจอย่างรวดเร็วเช่นนี้มีมาตรฐานหรือไม่

1. เปรียบเทียบกับการตรวจแอนติบอดีชนิดอื่น เช่น ELISA และผลเทียบเคียงกันได้

2. ผลที่ได้อาจจะไม่ตรงกับการตรวจ PCR ณ จุดเวลาเดียวกัน เนื่องจาก PCR เป็นการหาเชื้อ แต่การพบแอนติบอดีเป็นหลักฐานของการติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้าจะมีการแพร่เชื้อออกมา หรือเป็นจุดของเวลาที่หยุดการแพร่เชื้อแล้ว และเป็นเหตุผลให้ต้องมีการดูทั้ง IgM และ IgG

3. การตรวจแอนติบอดีในคนๆ เดียวกันนั้นที่ติดเชื้อเมื่อทำการตรวจต่อเนื่องจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจาก IgM ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่เกิดขึ้นก่อนหลังจากที่มีการติดเชื้อไม่นาน และบ่งบอกว่าเป็นช่วงที่ต้องระวังว่ากำลังจะแพร่เชื้อหรือแพร่เชื้ออยู่หรือที่คนชอบเรียกว่าเป็นทัพหน้า

และจากนั้นจะเกิด IgG ซึ่งเป็นทัพหลังและมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคและใครที่มี IgG จะเริ่มกลับไปทำงานได้

4. การตรวจแอนติบอดีในกลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงต่างกัน เช่น คนที่ทำงานคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิดและไม่ได้มีเครื่องป้องกันชัดเจนกับคนที่ระมัดระวังตัวตลอด พบว่า ในกลุ่มคนกลุ่มแรกนั้นมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อมากกว่าอย่างชัดเจน

 

 

ติดตามข่าว ล่าสุด “COVID-19”

กดที่ลิ้งค์นี้ —> https://bit.ly/2UxjSwR

#โควิด19 #Covid_19 #COVID19 #ข่าวจริง #สปริงนิวส์ #Springnews #COVID2019 #coronavirus #ไวรัสโคโรนา #โควิท19

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/623982

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> 4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/627250

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

related