svasdssvasds

"ดร.สามารถ" ย้อน "คมนาคม" ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีส้ม พอๆกับสายสีเขียว

"ดร.สามารถ" ย้อน "คมนาคม" ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีส้ม พอๆกับสายสีเขียว

"ดร.สามารถ" ย้อน "คมนาคม" ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีส้ม พอๆกับสายสีเขียว ที่แย้งว่าแพง เช่นนั้นก็ควรหั่นราคาลงเพื่อประชาชนจะได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง แต่รัฐบาลต้องแบกภาระหนักสนับสนุนค่าโดยสาร ไหวหรือไม่

 

 จากกรณีที่กระทรวงคมนาคมได้ค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยเหตุผลหลัก คือ "ค่าโดยสารแพง" ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte" ระบุว่า

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง!
ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีส้มพอๆ กับสายสีเขียว
ที่ ก.คมนาคมแย้งว่าแพง

 กระทรวงคมนาคมค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยเหตุผลหลักคือค่าโดยสารแพง แต่ค่าโดยสารที่ว่าแพงนี้มีราคาพอๆ กับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มในสังกัดกระทรวงคมนาคม เมื่อเป็นเช่นนี้กระทรวงคมนาคมจะหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มลงหรือไม่?

 

 เป็นข่าวครึกโครมเมื่อกระทรวงคมนาคมออกโรงคัดค้านการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยออกไป 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602 ด้วยเหตุผลหลักคือค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทนั้นแพงเกินไป แพงกว่าค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีค่าโดยสารสูงสุดเท่ากับ 42 บาท แม้ว่าได้มีการชี้แจงให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากคิดค่าโดยสารต่อระยะทางหนึ่งกิโลเมตร จะพบว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเสียงค้านของกระทรวงคมนาคมก็ยังไม่เบาลง

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ ค่าตั๋วรถไฟฟ้า 104 บาท แพงเกินไป

 พอหันมาดูรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม.ในสังกัดกระทรวงคมนาคมซึ่งอยู่ในระหว่างการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนพบว่ามีค่าโดยสารพอๆ กับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว กล่าวคือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจะอยู่ระหว่าง 17-62 บาท ในขณะที่ ณ เวลานั้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะอยู่ระหว่าง 16-68 บาท ซึ่งคำนวณจากค่าโดยสารในปัจจุบัน 15-65 บาท (กรณีขยายสัมปทานออกไป 30 ปี) โดยใช้อัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงสถานีที่ 1-13 ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1-4 บาท ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเดินทางไม่เกิน 13 สถานี แต่ตั้งแต่สถานีที่ 14 เป็นต้นไป ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มจะถูกกว่า 2-6 บาท ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะรถไฟฟ้าสายสีส้มได้รับเงินสนับสนุนด้านงานโยธาจากรัฐบาล แต่รถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่ได้รับเงินสนับสนุนด้านงานโยธาจากรัฐบาลเลย

 

 ได้เห็นตัวเลขค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีส้มชัดๆ กันอย่างนี้แล้ว หากกระทรวงคมนาคมเห็นว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังแพงอยู่ ก็พอจะพูดได้ใช่ไหมว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งมีราคาพอๆ กับสายสีเขียวทั้งๆ ที่รัฐบาลช่วยสนับสนุนค่างานโยธาก็แพงเช่นกัน

เจาะลึก ตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว แพงเว่อร์ 104 บาท ปัญหาเกิดจากอะไร ?

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระทรวงคมนาคมก็ควรหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้มให้ถูกลงด้วยให้เหมือนกับความต้องการที่จะหั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถ้าทำได้เช่นนี้ พี่น้องประชาชนจะได้ใช้รถไฟฟ้าในราคาที่ถูกลง แต่รัฐบาลจะต้องแบกภาระหนักในการสนับสนุนค่าโดยสาร รัฐบาลจะแบกไหวมั้ย? 

Cr. ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte 

related