svasdssvasds

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

พบ ปลากระเบนไฟฟ้า ที่หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา ถือเป็นการพบครั้งแรกในทะเลสิมิลัน คาดอาจมาจากคลื่นน้ำเย็น (IOD) ที่ส่งผลทำให้มีสัตว์ทะเลหายากปรากฎตัวหลายชนิด

วันที่ 6 ม.ค. 63 เพจเฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park ได้เผยภาพ หลังได้รับรายงานว่า พบ ปลากระเบนไฟฟ้า ซึ่งไม่เคยพบในน่านน้ำประเทศไทยมาก่อน โดยระบุข้อความไว้ว่า

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

ค้นพบตัวละครลับ ปลากระเบนไฟฟ้าที่สิมิลัน

ในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันได้รับแจ้งจากกลุ่มนักดำน้ำว่า พบปลากระเบนไฟฟ้าบริเวณจุดดำน้ำDeep six ที่ความลึก 27 เมตร ของเกาะปายู(เกาะ7) ซึ่งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันได้มอบหมายให้นายสุธีรชัย สมทา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประสานผู้เชี่ยวชาญหาข้อมูลเพื่อจำแนกชนิดของปลากระเบนไฟฟ้าตัวดังกล่าว เบื้องต้นกำลังลุ้นอยู่ว่าจะใช่ปลากระเบนไฟฟ้า(Torpedo fuscomaculata) หรือไม่ เนื่องจากถ้าเป็นปลากระเบนไฟฟ้า(Torpedo fuscomaculata) ก็จะเป็นการค้นพบสัตว์ทะเลชนิดใหม่อีกครั้งที่สิมิลัน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากเป็นปลากระเบนไฟฟ้า(Torpedo fuscomaculata)จริง คำถามต่อมาคือมันมาอยู่ที่สิมิลันได้ยังไง เนื่องจากปลากระเบนไฟฟ้า(Torpedo fuscomaculata) ส่วนใหญ่พบอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึงทะเลทางแถบแอฟริกาใต้ รวมถึงทะเลในแถบมัลดีฟส์ เป็นไปได้หรือไม่ที่การคนพบปลากระเบนไฟฟ้าในครั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ IOD

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

ปลากระเบนไฟฟ้า(Torpedo sp.) เป็นปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 200 โวลต์ กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ ปลากระเบนไฟฟ้าทั้งหมดมีรูปร่างแบนกลม ตามีขนาดเล็กมาก ส่วนหางแข็งแรง และไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน

โดยทั่วไปแล้วกระเบนไฟฟ้าชนิดดังกล่าวยังไม่มีรายงานการถูกพบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่ก็มีโอกาสพบได้ในทะเลอันดามัน เนื่องจากรายงานการแพร่กระจายของกระเบนชนิดนี้อยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ไปจนถึงทะเลทางแถบแอฟริกาใต้ รวมถึงทะเลในแถบมัลดีฟส์ที่เป็นที่นิยมของนักดำน้ำ

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

ปลากระเบนไฟฟ้ามักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบไปถูกเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชา หรือหมดสติ และอาจทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้

การป้องกันและรักษา หากทราบว่าในบริเวณใดมีปลากระเบนไฟฟ้าอาศัยอยู่ ควรหลีกเลี่ยงในการลงเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาได้มากถึง 30 แอมป์ ซึ่งมากเกินพอให้เสียชีวิตได้ในทันที แต่หากพบว่ามีนักดำน้ำถูกกระเบนไฟฟ้าจนหมดสติให้รีบนำผู้ป่วยขึ้นสู้ผิวน้ำทันทีและช่วยปฐมพยาบาลให้ผู้ป่วยหายใจ (CPR) แล้วนำส่งโรงพยาบาล

"ปลากระเบนไฟฟ้า" อวดโฉมครั้งแรกที่หมู่เกาะสิมิลัน

related