svasdssvasds

ฟ้าผ่า! ภัยร้ายใกล้ตัว แนะนำ 6 วิธี เอาตัวรอด-ป้องกัน "กฎ 30/30"

ฟ้าผ่า! ภัยร้ายใกล้ตัว แนะนำ 6 วิธี เอาตัวรอด-ป้องกัน "กฎ 30/30"

กรมควบคุมโรค แนะนำ 6 วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอันตราย จากฟ้าผ่า คือ กฎ 30/30

1.หากอยู่ในที่โล่งแจ้งแล้วเกิดฟ้าแลบได้ยินเสียงฟ้าร้องตามมาในเวลาไม่เกิน 30 วินาที แสดงว่าฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้พอที่เกิดฟ้าผ่าทำอันตรายได้ ให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที

2.ในขณะฝนตกฟ้าคะนอง หรือสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทั้งทองคำ เงิน ทองแดง นากและสร้อยโลหะ หากจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรนั่งยอง ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง

3.ห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น เครื่องมือการเกษตร โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์สาธารณะ

4.ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือยู่ใกล้ประตู หน้าต่าง

5.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

6.กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติ ไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด

ฟ้าผ่า! ภัยร้ายใกล้ตัว แนะนำ 6 วิธี เอาตัวรอด-ป้องกัน "กฎ 30/30"

กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานเหตุการณ์ฟ้าผ่า ตั้งแต่ ต้นปีที่ผ่านมา มากกว่า 5 เหตุการณ์ มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 6 ราย เสียชีวิต 5 ราย (ซึ่งข้อมูลคาดว่าน้อยกว่าความเป็นจริงประมาณ 1-2 เท่า) ขณะที่ข้อมูลเก่า ปี 58-59 พบผู้บาดเจ็บจากฟ้าผ่า 65 ราย เสียชีวิตมาถึง 32 ราย

ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ร้อยละ 46 รองลงมาเป็นเกษตรกรรม ร้อยละ 32

ส่วนสถานที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณนา ไร่ สวน ร้อยละ 58 รองลงมาคือบ้าน ร้อยละ 29

เกิดเหตุสูงสุดในเดือนพฤษภาคม รองลงมา คือ เดือนมิถุนายน และกันยายน

พื้นที่ที่พบมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนช่วงเวลาเกิดเหตุสูงสุด คือเวลา 16.00-16.59 รองลงมา เวลา 17.00-17.59 และ 14.00-14.59 ตามลำดับ

related