svasdssvasds

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงเรือตรวจการปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ “มหานครปลอดภัย”

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงเรือตรวจการปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ “มหานครปลอดภัย” ที่มีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครปลอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยวางมาตรการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสม ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

โดยแบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการน้ำออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่1 พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการก่อสร้างคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ความยาว 72 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 680 ตร.กม.

ส่วนที่ 2 พื้นที่ฝั่งตะวันออกอีกเช่นกัน แต่เป็นลักษณะพื้นที่ราบลุ่มรองรับน้ำเหนือที่ไหลหลากเข้ามาในช่วงหน้าฝน สามารถรองรับน้ำได้ 468 ตร.กม.

ส่วนที่ 3 พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 450 ตร.กม. เป็นพื้นที่ในฝั่งธนบุรีที่ได้รับประโยชน์จากการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวประมาณ 77 กม. ซึ่งช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาจากน้ำขึ้นน้ำลง น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน ครอบคลุมคลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ คลองชักพระ และบางส่วนของคลองพระโขนง

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

ทั้งนี้แนวป้องกันน้ำท่วมที่กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างขึ้น ขณะนี้พบปัญหาอยู่ 2 ประเด็นคือ แนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีบางส่วนที่ยังไม่ได้ก่อสร้างเขื่อน ความยาวประมาณ 1 กม. ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ปัญหาที่ 2 คือ แนวป้องกันน้ำท่วมที่สร้างเสร็จแล้ว แต่เกิดการชำรุดเสียหายส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้ามายังบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่ด้านหลังเขื่อน

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า สำหรับแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ มีความยาวประมาณ 43 กม. ซึ่งสำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2538 และใช้งานมาเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี โดยแนวป้องกันน้ำท่วมที่เกิดปัญหาชำรุดรั่วซึม จำนวน 12 แห่ง มีสาเหตุมาจากในคลองบางกอกน้อย เมื่อก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมแล้วเสร็จทั้งสองฝั่ง ทำให้เกิดกระแสน้ำไหลเชี่ยวแรง อีกทั้งคลื่นจากการเดินเรือ ทำให้เกิดการกัดเซาะดินหน้าเขื่อนลึกมากขึ้น จึงทำให้น้ำในคลองลอดใต้แผงกันดินค.ส.ล.รั่วซึมเข้ามายังพื้นที่ชุมชนบ้านพักอาศัยของประชาชน อีกทั้งมีบ้านเรือนประชาชนปลูกชิดแนวป้องกันน้ำท่วม ทำให้มีการถมดินด้านหลังเขื่อนได้น้อย ไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อนด้วยวิธี Jet Mixing ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเกิดปัญหาการรั่วซึมเข้าพื้นที่ ดังนั้นสำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดและรั่วซึม โดยการตอกเหล็กเข็มพืด (Steel Sheet Pile) ด้านหน้าแนวป้องกันน้ำท่วม ระยะทางประมาณ 3,405 ม. ความลึกประมาณ 16 ม. ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ จำนวน 674 หลังคาเรือน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 200 วัน

เดินหน้าปรับปรุง แนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางกอกน้อย

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามในพื้นที่ฝั่งธนบุรีระบบระบายน้ำส่วนใหญ่จะเป็นคูคลองตามธรรมชาติ ซึ่งต่างกับพื้นที่ในฝั่งพระนครที่ระบบระบายน้ำจะเป็นท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ ที่ผ่านกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับปรุงสถานีสูบน้ำ การขุดลอกคูคลอง เก็บผักตบชวาและกำจัดวัชพืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดทางน้ำไหลเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ฝน เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งธนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง

 

related