svasdssvasds

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) เพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วตามการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศไทยมีโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำนวน 132 โรงงาน

มีปริมาณของขยะอิเล็กทรอนิกส์จากภาคอุตสาหกรรมและการนำเข้าในปี 2560 กว่า 6 หมื่นตัน

-ภาคอุตสาหกรรมในประเทศประมาณ 7,400 ตัน

-นำเข้าประมาณ  53,000 ตัน

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

ใคร ? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตราย

1.กรมโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาคำขออนุญาตนำเข้าส่งออกของเสียอันตรายตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.กรมศุลกากร ทำหน้าที่ควบคุมการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั่วไป รวมทั้งของเสียอันตราย

3.กรมควบคุมมลพิษ ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณี เกิดการลักลอบนำเข้า-ส่งออกของเสียอันตรายและให้คำปรึกษาผู้ประกอบ การนำเข้า-ส่งออก

4.สำนักงานการค้าต่างประเทศ / สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ประจำจังหวัดต่าง ๆ / สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ประจำจังหวัดต่าง ๆ ทำ หน้าที่ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทั่วไป รวมทั้งของเสีย อันตราย

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย มีอะไรบ้าง ? (ภายใต้อนุสัญญาบาเซล)

1.การแจ้ง ผู้ก่อกำเนิดจัดเตรียมเอกสารใบแจ้ง เพื่อแจ้งขอเคลื่อนย้ายต่อหน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศของตน กรณี ประเทศไทย หน่วยงานผู้มีอำนาจ ทั้งในกรณีการนำเข้าและการส่งออก คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ในส่วนของประเทศผู้ส่งออก โดย หน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้ส่งออกจะจัดส่งใบแจ้งดังกล่าวล่วงหน้าไปยัง หน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้นำเข้าและประเทศที่นำผ่านแดน

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

 

2.การยินยอมและการออกเอกสารเคลื่อนย้าย หน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้นำเข้าพิจารณาการขอเคลื่อน ย้ายฯ แล้วให้แจ้งการยินยอมหรือไม่ยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรให้

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

3.การเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน  ผู้ก่อกำเนิดต้องจัดทำเอกสารกำกับการเคลื่อนย้าย (Movement Document) ไปพร้อมกับการเคลื่อนย้ายของเสียฯ และเมื่อผู้กำจัดได้รับของ เสียฯ แล้วให้แจ้งต่อหน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้ส่งออกและผู้ก่อกำเนิด

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

4.การยืนยันการกำจัด เมื่อผู้กำจัดในประเทศผู้นำเข้าดำเนินการจัดการของเสียฯ เรียบร้อย แล้วให้แจ้งยืนยันหน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้ส่งออกและผู้ก่อกำเนิด รับทราบ หากผู้ก่อกำเนิดไม่ได้รับการยืนยันการจัดการของเสียฯ ให้ ดำเนินการแจ้งหน่วยงานผู้มีอำนาจในประเทศผู้นำเข้าเพื่อติดตามตรวจสอบ

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

 

ทั้งนี้ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีสารอันตราย อาทิ ตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท สารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน แอสเบสตอส และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ซีเอฟซี) ซึ่งหากมีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีส่วนประกอบของวัสดุ “มีมูลค่า” สามารถรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ได้ อาทิ เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง ทอง เงิน แพลทินัม แพลลาเดียม อินเดียม แกลเลียม และแร่ที่มีธาตุโลหะหายาก

ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ใคร? คือ ผู้ควบคุม-เคลื่อนย้ายข้ามแดน "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

related