svasdssvasds

จิตแพทย์ แนะ! วิธีการเลี้ยงเด็กสมาธิสั้น

จิตแพทย์ แนะ! วิธีการเลี้ยงเด็กสมาธิสั้น

พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ใช้รูปแบบการเลี้ยงแบบประชาธิปไตย ให้ความรัก ความอบอุ่น เปิดโอกาสให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง  ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตเวชในเด็กไทยที่พบมากอันดับต้นๆคือโรคสมาธิสั้น( Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD ) หรือที่มักเรียกว่าโรคไฮเปอร์ตามอาการของเด็กที่มีลักษณะเฉพาะ ด้านคือ ขาดสมาธิ (Inattention ) ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) และหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การเข้าสังคมอยู่ร่วมกับคนอื่น  เด็กที่ป่วยมักจะถูกตำหนิ ดุด่า หากจัดการปัญหาไม่ถูกวิธีจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น  

ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตล่าสุดใน พ.ศ.2555 พบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 มีอัตราป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 8.1 หรือคาดว่ามีประมาณ 470,000 คนทั่วประเทศ ภาคใต้มีความชุกสูงสุดร้อยละ 11.7 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.4 ภาคกลางร้อยละ 6.7 กทม.ร้อยละ 6.5 ต่ำสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 5.1เป็นชายมากกว่าหญิง เท่าตัว

อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า ในการรักษาโรคสมาธิสั้น ที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม  จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้น อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมในเด็กสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่รักษายากซับซ้อนกว่าการรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรมทั่วๆไป   โดยทักษะสังคมที่จะต้องสร้างให้เด็กสมาธิสั้นเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างมีความสุข มี ด้าน ได้แก่

  • ความเชื่อมั่นตนเอง
  • การควบคุมตัวเอง
  • การจัดการปัญหาที่ถูกต้อง
  • การเรียนรู้สิ่งใหม่
  • การสื่อสารกับคนอื่น
  • การสร้างสัมพันธภาพคนอื่น
  • การแก้ไขความขัดแย้ง

 จากผลการวิจัยของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งศึกษาในกลุ่มเด็กอายุ  6-12 ปี ที่เข้ารักษาที่สถาบันฯในปี 2559-2560 จำนวน 221 คน พบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้นที่สัมพันธ์กับทักษะสังคมในด้านความเชื่อมั่นในตัวเองของเด็กที่สุดคือการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

ทางด้านแพทย์หญิงหทัยชนนี  บุญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี  กล่าวว่า  การวิจัยครั้งนี้พบว่าครอบครัวของเด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 56.4 จะเลี้ยงแบบประชาธิปไตย คือการเลี้ยงด้วยความรัก ให้ความอบอุ่น ส่งเสริมให้เด็กมีอิสระทางความคิด ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง  โดยพ่อแม่คอยให้เหตุผลส่งเสริมทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ห้ามทำในสิ่งที่ผิด ผลการวิจัยพบว่าเป็นรูปแบบการเลี้ยงดูที่สัมพันธ์กับความเชื่อมั่นตัวเองของเด็ก ซึ่งส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง   ดังนั้นจึงเชื่อว่าหากครอบครัวเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้นแบบประชาธิปไตย จะเอื้อต่อประสิทธิภาพของการดูแลรักษาได้ผลดีมากขึ้น

ส่วนรูปแบบการเลี้ยงดูอีก รูปแบบที่พบในการศึกษาครั้งนี้ด้วย คือ

-การเลี้ยงดูแบบรักตามใจ เด็กทำตามสิ่งที่อยากทำไม่ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์พบร้อยละ 5.7

-การเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุมพ่อแม่กำหนดกฎเกณฑ์ ออกคำสั่งให้ทำตาม หากไม่ทำตามก็จะลงโทษพบร้อยละ 30.8

-การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยไม่สนใจความเป็นอยู่ของลูก เด็กขาดความใส่ใจ ไม่ได้รับความช่วยเหลือพบร้อยละ 7.1

ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการเลี้ยงดูที่มีความสัมพันธ์ในแง่ลบกับทักษะสังคมของเด็กสมาธิสั้นมากที่สุดคือ การเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะเด็กขาดคำแนะนำที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาหรือการแก้ไขความขัดแย้ง อีกทั้งยังขาดแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมจากผู้ที่ใกล้ชิด และสำคัญกับเด็กที่สุดคือ ครอบครัว

ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีเพียงร้อยละ 31 เท่านั้นที่มีปัญหาสมาธิสั้นบกพร่องเพียงอย่างเดียว  ที่เหลืออีกร้อยละ 69 จะมีปัญหาอื่นๆร่วมด้วย เช่นปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ การประสานของกล้ามเนื้อที่ไม่ดี ดื้อต่อต้าน  เป็นต้น ดังนั้นหากเด็กสมาธิสั้นขาดทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับสังคมด้วย อาจทำให้ปัญหาต่างๆรุนแรงขึ้น และเกิดความเครียดในครอบครัวเพิ่มขึ้น 

related