svasdssvasds

ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ

ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันนี้ (25มิถุนายน2561)  ที่สยามพารากอน ซินดี้ สิรินยา บิชอพ นางแบบ นักแสดงและพิธีกร ร่วมกับ องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) บริษัท ดู ดิด ดัน จํากัด จัดแสดงนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ  ภายใต้แนวคิด“ชุดที่ใส่ในวันที่ถูกคุกคามทางเพศ”ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #DontTellMeHowToDress เป็นเหมือนกับกระแสตอบรับของ #MeToo ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นการริเริ่มโดยกลุ่มของผู้มีชื่อเสียงและนักเคลื่อนไหวเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับทัศนคติทางสังคมต่อความรุนแรงทางเพศ และการเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อ

            สำหรับนิทรรศการครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากนักแสดงและผู้มีชื่อเสียงโดยสื่อความหมายเป็นภาพถ่าย เกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ประกอบด้วยเมธินี กิ่งพโยมลลิตา ปัญโญภาสตรีชฎา เพชรรัตน์ สินจัย เปล่งพานิช วทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ปาณิสรา อารยะสกุล ดาวิกา โฮร์เน่ ราณี เคมเปญ อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง ฟิลลิป ทินโรจน์ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ภาคิณ คำวิไลศักดิ์ ยูมิ อิงคะวัต เมนาท นันทขว้าง แอน มิตรชัยและ กันต์ กันตถาวร โดยจะการจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.- 1 ก.ค. ณ Fashion Hall ชั้น1ศูนย์การค้าสยามพารากอน และวันที่ 4-15 ก.ค.ณ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

            ซินดี้ สิรินยา บิชอฟ นางแบบ นักแสดงและพิธีกร  กล่าวว่า การแสดงนิทรรศการครั้งนี้เป็นการนำเสื้อผ้าของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย เพื่อสร้างการรับรู้ใหม่ว่าการแต่งกายล่อแหลมไม่ได้เป็นเหตุให้ถูกคุกคามทางเพศ  โดยเสื้อผ้าเหล่านี้ได้รับการรวบรวมจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลซึ่งทำงานเพื่อลดปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงมาโดยตลอด รวมถึงมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายที่สื่อประเด็นการถูกล่วงละเมิดและถูกคุกคามทางเพศโดย ณัฐ ประกอบสันติสุข ช่างภาพแฟชั่นผู้มีฝีมือเป็นอันดับต้น ๆ ของไทยร่วมกับดารานักแสดงแถวหน้าและผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง เพื่อเชิญชวนให้ผู้เข้าชมนิทรรศการตระหนักถึงความคิดที่ว่าความรุนแรงทางเพศเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เป็นสิ่งที่น่าอับอายที่ผู้หญิงต้องรับผิดชอบ และเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูดถึง

            วันนี้ต้องยอมรับว่าปัญหาการลวนลามและการคุกคามทางเพศในสังคมไทยเป็นเรื่องใหญ่และไม่เป็นที่พูดถึงกันนักในสังคมคมของเรา รวมถึงหลายกรณีที่ผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศจะต้องเผชิญกับมายาคติทัศนคติเชิงลบ รวมถึงวัฒนธรรมการกล่าวโทษเหยื่อ ทางออกของปัญหาการคุกคามทางเพศไม่ได้จำกัดอยู่ที่การควบคุมการแต่งกายของผู้หญิง แต่อยู่ที่การร่วมมือกันของทุกฝ่ายในสังคม ไม่ว่าจะกระบวนการยุติธรรมและภาครัฐเพื่อให้สังคมไทยปลอดภัยแล้วมีการให้เกียรติกันมากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนและให้กำลังใจจากคนรอบตัว” ซินดี้ กล่าว

            รองศาสตราจารย์อภิญญา เวชยชัย ประธานมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สถานการณ์การคุกคามทางเพศที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล รวบรวมจากสื่อหน้าหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่ ปี 2558 พบว่า การข่มขืนคุกคามทางเพศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันสถิติผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงจะอายุน้อยลง ผู้กระทำมักเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด  สาเหตุปัจจัยนำจากข่าวเป็นกรณีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด แต่จากการทำงานพบว่าปัจจัยรากฐานเกิดจาก ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ที่มองผู้หญิงแบบอคติ เชื่อว่าผู้ชายมีอำนาจมากกว่าและสามารถทำอะไรกับหญิงก็ได้ มาตรการแก้ไขปัญหาปัจจุบันต้องเริ่มจากตระหนักถึงสิทธิของตัวผู้หญิง การทำความเข้าใจกับคุณค่าที่อยู่ภายในตัวตนผู้หญิงเอง ไม่จำนนต่อค่านิยมและความเชื่อผิดๆที่ผู้ชายและสังคมโยนใส่

            รองศาสตราจารย์อภิญญา กล่าวว่า รายงานการศึกษาเรื่อง การพิจารณาคดีข่มขืน: ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม พบว่า มีความเข้าใจผิดในวงกว้างเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงทางเพศ คือเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าในกระบวนการยุติธรรมหลายคนยังคงความเชื่อเดิมๆเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ว่าเกิดจากการยินยอม จะเกิดจริงต่อเมื่อเหยื่อมีอาการบาดเจ็บที่มองเห็นได้ชัด และความรุนแรงทางเพศมักกระทำโดยคนแปลกหน้า ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้หญิงไม่ได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือเพราะเมื่อพวกเขาพูดออกไปหลายคนรู้สึกเหมือนถูกกล่าวหาโดยผู้ที่มีหน้าที่ในการปกป้องพวกเขาเอง

ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ

            ขณะที่ Anna-Karin Jatforsผู้อำนวยการUN Women ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ แคมเปญ #DontTellMeHowToDress มีจุดมุ่งหมายเพื่อลบล้างมายาคติที่ว่า ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายล่อแหลมหรือการนำตัวเองไปตกอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง เพราะนั่นเป็นเหตุให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและการคุกคามทางเพศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงการที่ผู้กระทำผิดไม่ได้รับโทษอย่างเหมาะสมต่อการกระทำของตนเอง และเพื่อให้สังคมหันกลับมาตั้งคำถามกับผู้กระทำผิดมากกว่าพฤติกรรมของผู้เสียหายเพียงฝ่ายเดียว

ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ซินดี้-สิรินยา จับมือ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สสส. UN Women เปิดตัวนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ

related