svasdssvasds

ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน

ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

25 กรกฎาคม 2561 นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมในหัวข้อ “บ้านเสือโคร่ง” โดยมีองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมชี้แจงข้อมูลด้านการจัดการเสือโคร่ง ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

นายปิ่นสักก์ กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำด้านเสือโคร่ง ณ นครเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการประชุมของผู้นำและรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่งทั้ง 13 ประเทศ ร่วมกับผู้บริหารขององค์การการเงินระหว่างประเทศ และเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง และที่ประชุมยังได้กำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันเสือโคร่งโลก สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 มีมติรับทราบและเห็นชอบรายงานการประชุมระดับคณะรัฐมนตรีประเทศอาเซียนด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ได้ให้ความสำคัญ ต่อกิจกรรมการอนุรักษ์เสือโคร่งโลกระดับชาติ และให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งแห่งชาติ

ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนประชากรเสือโคร่งในพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้น 50% ภายใน พ.ศ. 2565 เพื่อให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสือโคร่ง เพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งตามวัตถุประสงค์ ต่อไป

เสือโคร่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเนื่องจากเป็นผู้บริโภคที่อยู่ระดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารซึ่งมีผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ดังนั้นเสือโคร่งจึงเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ

ากการศึกษาประชากรเสือโคร่งในประเทศไทย พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเสือโคร่งอยู่ประมาณ 150 - 200 ตัว โดยพบหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแนวเทือกเขาตะนาวศรี ผืนป่าตะวันตก และพบกระจายในบางพื้นที่ของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

และในช่วงรอบปีที่ผ่านมาได้มีการพบร่องรอยเสือโคร่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์แหล่งใหม่ที่ยังไม่เคยพบมานานมากแล้ว ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ และอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าประเทศไทย ได้ประสบความสำเร็จในการรักษาถิ่นอาศัยของเสือโคร่งจนมีจำนวนเสือโคร่งเพิ่มขึ้น จนกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นผู้นำและประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์เสือโคร่ง

โดยในปี พ.ศ.2561 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กำหนดจัดงานวันเสือโคร่งโลก ภายใต้หัวข้อ “บ้านเสือโคร่ง” มีกิจกรรมการนำเสนอข้อมูลด้านการจัดการเสือโคร่งในประเทศไทย จากกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และจากหน่วยงานที่มีความรู้เกี่ยวกับเสือโคร่ง ได้แก่ องค์กรสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลสำนักงานประเทศไทย (WWF–THAILAND) , สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) และสำนักงานประเทศไทยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ประจำประเทศไทยรวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานองค์กรร่วมต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาเสือโคร่งต่อไป

ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน ข่าวดี! พบร่องรอย "เสือโคร่ง" พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2 แหล่ง ที่ไม่เคยพบมานาน

related