svasdssvasds

เปิดอบรมช่วยชีวิต หวังให้ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ เผยแพร่ถูกวิธี!

เปิดอบรมช่วยชีวิต หวังให้ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ เผยแพร่ถูกวิธี!

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงได้จัดอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลและการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสื่อต่าง ๆ ได้ฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์จริง

นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลและการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตสื่อต่าง ๆ ได้ฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์จริง รวมถึงการฝึกในการใช้งานสายด่วน 1669 ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ในครั้งนี้ว่า ปัจจุบันสื่อทีวีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรายการทีวี ภาพยนตร์หรือละคร

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงเล็งเห็นว่าหากสื่อมวลชนหลากหลายแขนง อาทิ ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ สื่อละคร สื่อภาพยนตร์ หรือรายการทีวีต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินหรือขั้นตอนการใช้งานสายด่วน 1669 ที่ถูกต้อง จะสร้างประโยชน์และสร้างความรู้ให้กับประชาชนที่รับสื่อทีวีต่างๆ สามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้

โดยมุ่งหวังอยากให้ผู้ผลิตหนังหรือละครสอดแทรกแนวทางในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกต้อง เหมือนกับในต่างประเทศที่เขาจะใส่แนวทางในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินหรือการใช้งานสายด่วนช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกต้องจนสามารถสร้างภาพจำให้กับประชาชนในประเทศเขาได้เราก็อยากให้วงการสื่อของบ้านเราทำได้แบบนั้นด้วย

นอกจากนี้ วิทยากรจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรมถึงการถ่ายทำฉากที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินอย่างถูกต้อง อาทิ การใช้เครื่องช๊อตหัวใจ การใช้อุปกรณ์ในการผ่าตัด การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกไฟดูดไฟช็อตที่ถูกต้อง การช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ำที่ถูกต้อง และผู้เข้าร่วมอบรมยังได้รับการฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้องอาทิ การฝึกช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR การช่วยคนจมน้ำ ช่วยคนเป็นโรคลมชัก ช่วยคนที่มีอาการหอบหืดกำเริบ คนที่ถูกงูกัด การฝึกใช้งานเครื่อง AED และการใช้งานสายด่วน1669 อย่างถูกวิธีด้วย

ขณะที่ ธวัชชัย สังวริบุตร ตัวแทนจากบริษัทดีด้า กล่าวภายหลังจากได้รับการอบรมในครั้งนี้ว่า “ที่ผ่านมาเวลาเหมือนกับเรารู้ในเรื่องการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินแบบงูๆปลาๆ หลังจากการอบรมในครั้งนี้ทำให้เรารู้ถึงวิธีในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกต้องและถูกวิธีมากขึ้นเช่นการช่วยคนจมน้ำบางทีเรายังไม่เข้าใจมากว่าการจับคนขึ้นพาดบ่าเป็นการช่วยเหลือที่ถูกต้องหรือไม่อย่างไร วันนี้หลังจากเราได้รับการอบรมเราก็รู้แล้วว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและไม่ควรมีในฉากของหนังหรือละคร เราก็จะได้ไปถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ให้กับทีมเขียนบทและทีมผลิตหนังและละครของเราให้ถ่ายทอดขั้นตอนที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนต่อไปด้วย” ตัวแทนจากบริษัทดีด้ากล่าว

ด้าน อรกมล แก้วนิล ตัวแทนจากบริษัทบ.ชลลัมพี โปรดั๊กชั่น จำกัด ที่ผลิตละครป้อนโทรทัศน์หลากหลายช่องบอกเล่าความรู้สึกภายหลังจากได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เช่นกันว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทีมากที่เราได้เข้ามาร่วมอบรมในครั้งนี้เพราะต่อไปเราจะได้ทราบแนวทางถึงการใส่ข้อมูลหรือวิธีการในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในฉากของละครของเราให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเราก็พยายามทำให้ถูกต้องกันมาโดยตลอด โดยก่อนที่เราจะถ่ายทำเกี่ยวกับฉากเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเราก็จะมีการปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้กันอยู่แล้ว แต่หลังจากการอบรมในครั้งนี้เราก็จะได้แนวทางการทำงานของเราที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อการส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้นไปด้วย

เปิดอบรมช่วยชีวิต หวังให้ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ เผยแพร่ถูกวิธี! เปิดอบรมช่วยชีวิต หวังให้ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ เผยแพร่ถูกวิธี! เปิดอบรมช่วยชีวิต หวังให้ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ เผยแพร่ถูกวิธี!

related