svasdssvasds

"โรคเมลิออยโดสิส" มันคือโรคอะไร?

"โรคเมลิออยโดสิส" มันคือโรคอะไร?

สถานการณ์โรคเมลิออยโดสิส จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 สิงหาคม 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 1,572 ราย เสียชีวิต 3 ราย

โรคเมลิออยด์ หรือ เมลิออยโดสิส

สามารถพบได้ในช่วงฤดูฝน เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ปนเปื้อนได้ในน้ำและดิน แพร่กระจายสู่คนผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือโดยการติดต่อจากสัตว์ที่ติดเชื้อ

สาเหตุ เมลิออยโดสิส

การติดเชื้อโรคเมลิออยด์มีสาเหตุจากแบคทีเรีย Burkholderia Pseudomallei ซึ่งพบได้ในน้ำ ดิน หรือตามพืชพันธุ์ต่าง ๆ แบคทีเรียชนิดนี้อาจติดต่อสู่มนุษย์โดยตรงผ่านการสัมผัสหรือแพร่ผ่านสัตว์เลี้ยงทีมีเชื้อนี้อยู่ในร่างกายอย่างแมว สุนัข หมู ม้า วัว ควาย แกะ หรือแพะ ก็ได้ โดยเฉพาะการสัมผัสกับเชื้อบริเวณผิวหนังที่มีแผลเปิดนั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง

โรคเมลิออยด์ติดต่อสู่ทุกเพศทุกวัยได้ แม้กระทั่งในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีก็ตาม แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหรือมีภาวะต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงกว่าปกติ

อาการ เมลิออยโดสิส

ผู้ป่วยมักมีอาการไข้เป็นเวลานาน ไม่ทราบสาเหตุ มีเนื้อตาย แผล ฝี หนองที่ปอด ตับ ม้าม แผลอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

อาการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ อวัยวะภายในร่างกายที่มีการติดเชื้อ

-การติดเชื้อที่ปอด เกิดจากการสูดดมเชื้อเข้าไป อาการที่ปรากฏให้เห็นมีได้ตั้งแต่หลอดลมอักเสบชนิดไม่รุนแรงไปจนถึงอาการของโรคปอดบวมชนิดรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ ไม่อยากอาหาร หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก มีอาการเจ็บกล้ามเนื้อโดยทั่วไป รวมถึงอาจไอเป็นเลือด

-การติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยด้วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อเชื้อเมลิออยด์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไตวาย หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อลักษณะนี้มากที่สุด มักทำให้เกิดอาการช็อก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ทั้งนี้ หากเชื้อแบคทีเรียเมลิออยด์เข้าสู่กระแสเลือด อาจส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดข้อต่อ

-เชื้อกระจายทั่วร่างกาย เชื้อเมลิออยด์สามารถแพร่กระจายจากผิวหนังผ่านเลือดไปสู่อวัยวะอื่น ๆ งเกตจากอาการของผู้ป่วยที่อาจมีไข้ น้ำหนักลด ปวดท้อง เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ปวดศีรษะ หรือเกิดอาการชัก

-การติดเชื้อเฉพาะที่เฉียบพลัน เป็นการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสเชื้อโรค หากเป็นที่ผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อมีอาการเจ็บ บวม มีแผลเปื่อยสีออกขาวเทา และอาจเกิดเป็นหนอง รวมถึงส่งผลให้มีอาการไข้และเจ็บกล้ามเนื้อตามมา

การรักษา เมลิออยโดสิส

1.แยกผู้ป่วยไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจและโพรงจมูก

2.นำสารคัดหลั่งสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย

3.พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยให้ยาฉีดในระยะแรก 2 สัปดาห์ และให้ยารับประทานต่อจนครบ 20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและให้ปลอดภัยจากโรคเมลิออยโดสิส

1. การใส่รองเท้าบู๊ทเมื่อจำเป็นต้องเดินลุยหรือย่ำน้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม 2.ดื่มน้ำต้มสุก

3.หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ

4.หลังสัมผัสน้ำและดิน ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดทันที

5.หากมีอาการไข้เกิน 2 วันหรือเกิดแผลอักเสบเรื้อรัง ควรจะรีบไปพบแพทย์โดยทันที พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสน้ำหรือดินเป็นเวลานาน หากประชาชน

มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

สถานการณ์ โรคเมลิออยโดสิส

(กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 20 สิงหาคม 2561)

-พบผู้ป่วยแล้ว 1,572 ราย เสียชีวิต 3 ราย

-กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากสุด ได้แก่ อายุ 55-64 ปี รองลงมาอายุ 45-54 ปี และอายุ 65 ปีขึ้นไป

พบมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในปี 2560 ที่ผ่านมา ทั้งปีมีผู้ป่วยทั้งหมด 3,439 ราย โดยผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) พบถึง 2,906 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.5 ของผู้ป่วยทั้งหมด

related