svasdssvasds

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง” รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ภาคประชาสังคม พร้อมกลุ่มชาวบ้านบ้านโป่ง หมู่2 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งยังมีปัญหาต่อเนื่อง ยาวนานจากผลกระทบจากนโยบายเรียกคืนพื้นที่ป่าและที่ดินของรัฐบาล โดยที่บ้านโป่งนั้น ชุมชนได้ร่วมกันจัดสรรที่ดินและแปลงเกษตรกรรม

นายดิเรก กองเงิน กลุ่มตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และแกนนำกลุ่มปฏิรูปที่ดินชุมชนบ้านโป่ง ได้สะท้อนปัญหาที่ดินทำกิน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนว่า ปัจจุบันชุมชนบ้านโป่ง มีแปลงที่ดินเพื่อการเกษตรที่ชาวบ้านครอบครองเพื่อทำกินประมาณกว่า  300 ไร่ ที่เรียกว่า "โฉนดชุมชน" โดยเริ่มเข้ามาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่11มี..45 โดยใช้ทำประโยชน์ 3ส่วน คือ เป็นพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณประโยชน์ เป็น1ใน5พื้นที่นำร่อง โครงการธนาคารที่ดิน

สำหรับที่ทำกินของ กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกลำใย ปลูกชะอม และผักไร่ นา สวนผสมอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ภายในครัวเรือน  มีการทำกินมานานกว่า 17  ปี หลังจากผ่านการต่อสู้เพื่อสิทธิทำกินมานาน แม้ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกกฎหมายก็ตาม  แต่ข้อเสนอไปยังรัฐบาลหลายสมัยเพื่อออกเป็นโฉนดชุมชนเพื่อทำกินของชาวบ้านต้องดำเนินการต่อไป

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ขณะที่ความคืบหน้าการดำเนินการจัดซื้อที่ดินตามโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน เดือนมิถุนายน 2561 ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วจำนวน 83 แปลง 20 รายคงเหลือ 84แปลง 

-ที่อยู่ระหว่างดำเนินการรังวัดสอบเขตที่ดินลงนามในสัญญาจะซื้อขายที่ดินแล้วจำนวน 39 แปลง

-เจ้าของที่ดินเสนอขายที่ดินแล้วแต่การเจรจาต่อรองราคาที่ดินยังไม่ได้ข้อยุติจำนวน 11 แปลงเนื่องจากราคาสูง

-เจ้าของที่ดินเสนอขายแล้วแต่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินยุติการเจรจาซื้อขายที่ดินเป็นการชั่วคราวจำนวน 10 แปลง เนื่องจากที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และบางแปลงเป็นบ่อลึก

-เจ้าของที่ดินยังไม่แจ้งความประสงค์เสนอขายที่ดินจำนวน 13 แปลง

-เจ้าของที่ดินไม่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการซื้อขายจำนวน 11 แปลง

โดยข้อเสนอ ของชุมชนบ้านโป่ง ร่วมกับขบวนการภาคประชาชนต่อกรณีพื้นที่นำร่องคือขอให้มีการทบทวนรูปแบบการดำเนินโครงการโดยใช้แนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อที่ดินในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อปี ระยะเวลา 30 ปีหนี้สินลดครึ่งหนึ่ง และการกันพื้นที่ที่เกษตรกรไม่ได้เข้าประโยชน์เช่นที่สาธารณประโยชน์หรือแปลงรวมออกจากราคาค่าที่ดินที่เกษตรต้องแบกรับภาระเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่เกษตรกร

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

ยังเป็นปัญหา!! ธนาคารที่ดิน “บ้านโป่ง”  รัฐยังทำไม่ได้ "ตามสัญญา"

related