svasdssvasds

“สภาพัฒน์” แจงยิบ ยันไทย “ไม่ได้เหลื่อมล้ำ” ที่สุดในโลก งัดข้อมูลเวิลด์แบงก์โต้

“สภาพัฒน์” แจงยิบ ยันไทย “ไม่ได้เหลื่อมล้ำ” ที่สุดในโลก งัดข้อมูลเวิลด์แบงก์โต้

สศช.ออกโรงโต้ เกณฑ์ CS Global Report ใช้ข้อมูลเก่า ในฐานะหน่วยงานที่ดําเนินการติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยมาอย่างต่อเนื่อง แจ้งข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกันว่า รายงานดังกล่าวจัดทำโดยองค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นงานวิชาการ แต่ถ้าดูตามข้อมูลไม่ได้มีการจัดอันดับ เพียงแต่เรียงประเทศตามตัวอักษร A-Z แต่การดูข้อมูลอาจจะเห็นตัวเลขมากกว่าคนอื่น

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะโฆษกสศช. แถลงเรื่องสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยว่า ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการให้ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำาของไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก โดยอ้างอิงข้อมูลจาก CS Global Report 2018 นั้น สศช.  ขอชี้แจงว่าการดูต้องดูให้ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ โดยดูที่มาที่ไป ดูชุดข้อมูลในการคำนวณด้วย เพราะชุดข้อมูล การถือครองความมั่งคั่ง หรือ Wealth Ownership ประเทศไทยไม่ได้มีการจัดเก็บ แต่เอกชนดังกล่าวใช้ข้อมูลอื่นที่คิดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กันมาเข้าเศรษฐนิติ แล้วคำนวณออกมา

โฆษกสศช. กล่าวว่า การวัดความเหลื่อมล้ำของรายงาน CS Global Wealth Report 2018 นั้น เป็นการวัดการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) รายงานดังกล่าวประเทศที่มีข้อมูลสมบูรณ์มีเพียง 35 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี สวีเดน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงค์โปร์ และจีน ส่วนของประเทศไทยนั้น ข้อมูลด้านนี้ไม่มีการจัดเก็บ เนื่องจากในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว จําเป็นต้องมีความชัดเจนของคําจํากัดความและข้อมูลข้อเท็จจริงของสินทรัพย์ที่มีความชัดเจน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในส่วนของประเทศไทย ผู้จัดทํารายงานใช้การประมาณการทางเศรษฐมิติ บนสมมติฐานว่า การกระจายความมั่งคั่ง มีความสัมพันธ์กับการกระจายรายได้ (Income Distribution) ซึ่งการคํานวณในลักษณะดังกล่าวในรายงานระบุไว้ชัดเจนว่าการประมาณการ Wealth Distribution ของ 133 ประเทศที่นอกเหนือจาก 35 ประเทศที่มีข้อมูลสมบูรณ์เป็นการประมาณการอย่างหยาบ (Rough Estimate) สําหรับประเทศที่มีข้อมูลการกระจายรายได้ (Income Distribution) แต่ไม่มีข้อมูล การถือครองความมั่งคั่ง ในกรณีของประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่ม 133 ประเทศที่ไม่มี ข้อมูลการถือครองความมั่งคั่งแต่มีข้อมูลการกระจายรายได้

"การวัดแบบนี้ไม่ใช่มาตรฐานของเรา เราใช้มาตรฐานตามธนาคารโลก ที่ใช้กันกว่า 100 ประเทศทั่วโลก แต่ CS Global Wealth Report 2018 เขายังใช้การประมาณการ Wealth Distribution ของประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลในปี พ.. 2549 หรือ ค.. 2006 ในขณะที่ข้อมูลของประเทศอื่น ๆ เป็นข้อมูลของปีที่มีความแตกต่าง หลากหลาย กันไป ซึ่งต่างจากชุดข้อมูลของธนาคารโลกที่ส่วนใหญ่จะเปรียบเทียบในช่วงปีเดียวกัน ดังนั้น การวัดการ กระจายความมั่งคั่งตามที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวอาจไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของประเทศไทยได้ อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการวัดจากข้อมูลสํารวจจริงตามมาตรฐานของธนาคารโลกที่ประเทศไทย ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2531"

โฆษกสศช.อธิบายว่า ที่ผ่านมาการวัดสถานการณ์ความเหลื่อมล้ําของไทย จะใช้วิธีการวัดตามมาตรฐานของ ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ โดยวัดจากดัชนี "ค่าสัมปสิทธิ์ความไม่เสมอภาค" หรือ GINI Coefficient Index ซึ่งธนาคารโลกใช้ในการวัดความเหลื่อมล้ํา ในประเทศต่างๆ ประมาณ 110 ประเทศ 2ลักษณะ ได้แก่ 1. GINI ด้านรายได้ และ 2.GINI ด้านรายจ่าย โดยค่าดัชนีดังกล่าวจะมีค่าระหว่าง 0 - 1 โดยหากค่าดัชนี GINI มีระดับต่ำจะแสดงถึงการ กระจายรายได้และรายจ่ายอยู่ในระดับดีกว่าค่า GINI ที่มีค่าสูง ในกรณีของประเทศไทย การคํานวณค่าดัชนี GINI ทั้ง 2 ลักษณะ จะใช้ข้อมูลจาก การสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นข้อมูลสํารวจจากกลุ่ม ตัวอย่างในระดับฐานรายได้ต่าง ๆ กัน จํานวนประมาณ 52,010 ครัวเรือน ซึ่งการสํารวจรายได้จะดําเนินการ ทุก 2 ปี ในขณะที่การสํารวจรายจ่ายจะดําเนินการทุกปี

จากข้อมูลล่าสุดในปี 2560 พบว่า ค่า GINI ด้านรายได้ ของไทย คิดเป็น 0.453 หรือ 45.3% และค่า GINI ด้านรายจ่าย คิดเป็น 0.364 หรือ 36.4% หากเปรียบเทียบแนวโน้มของสถานการณ์ความเหลื่อมล้ําของไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่า GINI ด้านรายได้ลดลงจาก 0.499 ในปี 2550 เป็น 0.453 ในปี 2560 และค่า GINI ด้านรายจ่ายลดลงจาก 0.398 ในปี 2550 เป็น 0.364 ในปี 2560

นอกจากนี้สถานการณ์ด้านความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุดและกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุด มีแนวโน้มแคบลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 25.1 เท่า ในปี 2550 เป็น 19.29 เท่า ในปี 2560 และความแตกต่างของรายจ่ายระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายจ่ายสูงที่สุดและ กลุ่มประชากรที่มีรายจ่ายน้อยที่สุด มีแนวโน้มแคบลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 11.7 เท่า ในปี 2551 เป็น 9.32 เท่า ในปี 2560

จากข้อมูลทั้ง 2 ส่วนข้างต้น แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทั้งในส่วนของรายได้ และรายจ่ายระหว่างประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์ความเหลื่อมล้ําใน ประเทศยังมีความจําเป็นต้องให้ความสําคัญในการดําเนินการผ่านมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้ ประชากรในกลุ่มที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการกระจายรายได้จากกลุ่ม ประชากรที่มีรายได้สูงไปสู่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นายดนุชา กล่าวว่า การจัดอันดับความเหลื่อมล้ำของประเทศต่างๆ ที่ดําเนินการโดยธนาคารโลก ใช้ค่าดัชนี GINI coefficient เป็นตัวชี้วัด ที่ผ่านมาประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 ประเทศไทยมีค่าดัชนี GINI Coefficient ด้านรายจ่าย อยู่ในอันดับที่ 46 จาก 73 ประเทศ และปรับตัวดีขึ้นเป็นอันดับที่ 40 จาก 67 ประเทศในปี 2558 ส่วนที่จํานวนประเทศในแต่ละปีจะไม่เท่ากันเนื่องจากข้อจํากัดด้านข้อมูลของ ประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กําลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกอย่างไรก็ดีจากข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลก ค่า GINI ของไทยอยู่ที่ 0.36 และเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ สหราชอาณาจักร มีค่า GINI อยู่ที่ 0.33 และสหรัฐอเมริกา มีค่า GINI อยู่ที่ 0.41 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากกับประเทศ ที่พัฒนาแล้ว

"สศช.เรียนว่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยจากการสํารวจข้อมูลจริงและ ใช้วิธีการวัดที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยธนาคารโลก ประเทศไทยไม่ได้มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดอย่างที่ปรากฏข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์แต่อย่างใด ในทางกลับกันสถานการณ์ความเหลื่อมล้ําทั้งใน ด้านรายได้และรายจ่ายของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลําดับ อย่างไรก็ดี การลดความเหลื่อมล้ำและความแตกต่างของรายได้ เป็นเรื่องสําคัญที่ภาครัฐให้ความสําคัญและมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้นผ่านกลไกของภาครัฐและความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาส ในการสร้างอาชีพและรายได้ การจัดสวัสดิการทางสังคม ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และที่อยู่อาศัย"

โฆษกสศช. กล่าวด้วยว่า ในอนาคตในส่วนของยุทธศาสตร์ชาติจะมีการาพัฒนาเศรษฐกิจศูนย์กลางในพื้นที่ทั้งเมืองหลักและเมืองรองในการสร้างโอกาสและรายได้ให้กับชุมชนต่างๆ สศช.ตั้งเป้าหมายในปี 2580 สถานการณ์ความเหลือมล้ำของประเทศไทยจะต้องปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก โดยช่องว่างระหว่างรายได้ ตอนนี้อยู่ที่ 19.29 เท่า ก็ควรลดลงเหลือ 15 เท่า และGINI ในส่วนของรายได้จะต้องลดลง จาก 0.4 ควรจะลดลงเหลือ 0.36 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้แนวโน้มประมาณการการลดความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง อาจจะช่วยให้ช่องว่างของรายได้ลดลง การกระจายรายได้มีความเป็นธรรมมากขึ้น

"ส่วนสำนักงานลดความเหลื่อมล้ำที่แผนปฏิรูปประเทศให้มีการตั้งขึ้นมา ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดเตรียมในการจัดตั้ง ซึ่งสำนักงานลดความเหลื่อมล้ำก็จะมีบทบาทในเชิงนโยบาย ติดตาม กำกับ สถานการณ์การแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ คงต้องดูตั้งแต่การาจัดสรรงบประมาณด้วยว่าจัดสรรแล้วจะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไรบ้าง"นายดนุชา กล่าว

related