svasdssvasds

“สตอร์ม เซิร์จ VS สึนามึ “ คลื่นสูงซัดฝั่ง อำนาจทำลายล้างแค่ไหน?

“สตอร์ม เซิร์จ VS สึนามึ “ คลื่นสูงซัดฝั่ง อำนาจทำลายล้างแค่ไหน?

บรรยากาศท่ามกลาง โซนร้อนปาบึก จ่อขึ้นฝั่งทำให้หลายฝ่าย มีเวลาเตรียมพร้อมในการรับมือ จากฝนที่จะตกหนัก และคลื่นสูง ลมแรง..นักวิชาการทุกคนต่างพูดตรงกันว่า ให้อพยพผู้ที่อยู่ชายฝั่งทะเล ขึ้นไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพราะต้องเฝ้าระวัง กำลังแรงของคลื่นสูง

ความหมายดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) อธิบายไว้ว่า คลื่นสูงที่เป็นปรากฎการณ์ของ “สตอร์ม เซิร์จ” (Storm Surge) หรือ “คลื่นพายุซัดฝั่ง” ซึ่งก็คือ คลื่นในทะเลที่ยกตัวสูงขึ้นจากการพัดของพายุไต้ฝุ่นเขตร้อนที่มีความเร็วลมมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นได้จากสาเหตุจากเกิดพายุที่มีความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณนั้นๆ ยิ่งความกดอากาศมากเท่าไร ยิ่งทำให้การยกตัวของน้ำทะเลสูงมากขึ้นเท่านั้น

แต่หากเทียบคลื่นทะเลสูง ระหว่าง "สตอร์ม เซิร์จ" กับ "สึนามิไ มีความต่างกันอย่างไร?

จุมพล เหมะคีรินทร์ ที่ปรึกษาฝ่ายสื่อ สวทช. บอกว่า  การเกิด”สตอร์ม เซิร์จ” จะมีพายุเป็นตัวแปรบ่งบอกที่สำคัญในการทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง  การเกิดสตอร์ม เซิร็จ ศูนย์กลางพายุซัดเข้าชายฝั่งจะพัดเอาโดมน้ำขนาดใหญ่เข้ามาด้วย เป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง ตรงมีพายุร่วมด้วยและเกิดบ่อยกว่า แต่ก็สามารถป้องกันได้ดีกว่า เนื่องจากมีสัญญาณเตือนจากพายุ

ส่วน”สึนามิ” เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเล แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นยักษ์พัดเข้าชายฝั่งในวงกว้าง สึนามิ กลับเป็นภัยฉับพลันที่ยากต่อการทำนาย เช่นที่เกิดขึ้นกับเกาะชวา ของอินโดนีเซีย ก่อนหน้าเมื่อสิ้นปี 2561 ที่ผ่านมา

รักษาการอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ความรุนแรงของ ปาบึก มีโอกาสเทียบเท่า วาตภัยที่เคยเกิดเมื่อ 25-26 ตุลาคม 2505 ที่แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครราชสีมา คลื่นซัดฝั่งครั้งนั้น ด้วยกำลังทำลายของพายุหมุนเขตร้อน”แฮเรียต” ที่มีความเร็วลม 180-200 กม./ชม. ที่ตั้งต้นจากพายุดีเปรสชั่น ความเร็ว 60-85 กม./ชม. แล้วหอบพาคลื่นยักษ์จากทะเลสูงประมาณ 20 เมตร ชาวบ้านเทียบก็เท่ากับยอดต้นสน ซัดฝั่ง 9 จังหวัดภาคใต้จนเสียหายอย่างมาก

ถามว่าจะป้องกันสตอร์มเซิร์จได้อย่างไรแม้ความรุนแรงมีมากกว่าสึนามิแต่สัญญาณเตือนภัยชัดเจนกว่าทำให้คาดการณ์เตรียมตัวได้ดีกว่า

กรมอุตุนิยม มีข้อเฝ้าระวัง และหลักปฎิบัติไว้ว่า :

หากสภาพอากาศเกิดผิดปกติก่อนเกิดพายุ 5-7 วัน และเลวร้ายลงเรื่อย ให้ประกาศอพยพคน สิ่งของออกจากพื้นที่เสี่ยง

โดยพื้นที่เสี่ยงนักวิชาการแนะนำให้ปลูกป่าโกงกางริมชายฝั่งมากๆ เข้าไว้ เพื่อลดแรงปะทะของคลื่นและพายุก่อนพัดขึ้นชายฝั่ง ซึ่งมีรัศมีไกลหลายร้อยกิโลเมตร

ถ้าจะป้องกันระยะยาว ให้สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่งให้แข็งแรงและสูงพอสมควร ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยมากๆ เพื่อลดการสูญเสีย

“สตอร์ม เซิร์จ VS สึนามึ “ คลื่นสูงซัดฝั่ง อำนาจทำลายล้างแค่ไหน?

“สตอร์ม เซิร์จ VS สึนามึ “ คลื่นสูงซัดฝั่ง อำนาจทำลายล้างแค่ไหน?

related