svasdssvasds

จุฬาฯ แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้รัฐ บูรณาการแก้ปัญหา ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5 ในระยะยาว เพื่อป้องกันผลกระทบกับสุขภาพประชาชน

วันนี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน จุฬาฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM 2.5 โดยภายในงานก็ได้มีการเสวนาพิเศษเกี่ยวกับเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชาชน

จุฬาฯ แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5

 รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้เข้าร่วมงานเสวนา กล่าวว่า แหล่งกำเนิด PM 2.5 ที่กระจายตัวอยู่บริเวณรอบกรุงเทพและปริมณฑล เป็นประเด็นที่สำคัญ และประเทศไทยควรมีมาตราการป้องกันและแก้ไขในระยะยาวในแต่ละพื้นที่ นอกเหนือจากการเร่งแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ที่กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ ซึ่งอาจจะต้องตรวจสอบว่า ตามแหล่งโรงงานอุตสหากรรม ว่ามีระบบดักจับฝุ่นที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการปล่อยฝุ่น หรือ มลพิษ ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิด PM 2.5

จุฬาฯ แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5

ขณะที่ รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของการสร้างสภาวะ PM 2.5 ในเขตเมืองมาจากเครื่องยนต์รถที่เผาผลาญไม่สมบูรณ์

จุฬาฯ แนะรัฐ ออกมาตรการจัดการแหล่งกำเนิด PM 2.5

ดังนั้นหนึ่งในแนวทางที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ นั่นคือการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ รวมถึงการเข้มงวดเรื่องเครื่องยนต์ การตรวจสภาพรถยนต์ และ การบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การส่งเสริมการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและส่งเสริมการใช้ระบบการขนส่งสาธารณะอย่างจริงจังและเป็นระบบ ก็เป็นสิ่งที่ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ

related