svasdssvasds

"บอร์ดควบคุมมลพิษ" เคาะมาตรการ 4 ระดับความรุนแรง แก้ฝุ่นพิษ!

"บอร์ดควบคุมมลพิษ" เคาะมาตรการ 4 ระดับความรุนแรง แก้ฝุ่นพิษ!

มติคณะกรรมการควบคุมมลพิษ (กก.คพ.) เพื่อหารือแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ใน กทม.และปริมณฑล ได้สรุปแนวทาง ในขั้นปฏิบัติ เป็น 4 ระดับ ตามความรุนแรงของสถานการณ์

จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้าวันนี้ พื้นที่ กทม.และปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า อากาศลอยตัว แต่สภาพลมพัดอ่อน ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM2.5 มีปริมาณสะสมเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อวาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งในวันนี้ 25 มกราคม 2562 สูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 7 มคก./ลบ.ม. ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม. ) 24 พื้นที่ โดย:

-พื้นที่ริมถนน เกินค่ามาตรฐาน 16 สถานี

-พื้นที่ทั่วไป เกินค่ามาตรฐาน 8 สถานี

-คาดการณ์ ในช่วงบ่ายของวันนี้ อากาศยังลอยตัวได้ดี มีลมพัดแรงขึ้น ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองมีโอกาสเจือจางลงได้

หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กทม. บก.จร. ขนส่ง กองทัพฯ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงคมนาคม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงสาธารณสุข และผวจ.ปริมณฑล ทั้ง 5 จังหวัด. ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

จากมติคณะกรรมการควบคุมมลพิษ (กก.คพ.) เพื่อหารือแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ใน กทม.และปริมณฑล เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 62 ได้สรุปแนวทาง ในขั้นปฏิบัติ เป็น 4 ระดับ ตามความรุนแรงของสถานการณ์ ดังนี้

ระดับที่ 1 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าน้อยกว่า 50 มคก/ลบ.ม. ส่วนราชการทุกหน่วยจะปฏิบัติภารกิจ ตามอำนาจหน้าที่ และกฎหมายที่มีอยู่ เพื่อทำให้ฝุ่นละอองลดลง

ระดับที่ 2 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 50 - 75 มคก/ลบ.ม. หน่วยงานทุกหน่วยต้องดำเนินมาตรการต่างๆให้เข้มข้น และเพิ่มระดับการปฏิบัติการมากขึ้นกว่าระดับที่ 1. เพื่อทำให้ฝุ่นละอองลดลง โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในพื้นที่ของตนเอง

 ระดับที่ 3 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าระหว่าง 75 - 100 มคก/ลบ.ม. โดยเมื่อ ดำเนินการในมาตรการต่างๆ ในระดับที่ 2 และ ค่าฝุ่นละออง ยังไม่ลดลง แต่นิ่งนาน และคาดการณ์ (จากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา) แล้วว่าจะสูงขึ้นอีก ต้องยกมาตรการ ในการปฏิบัติการ ขึ้นอีก เป็นระดับ ที่ 3 โดย กก.คพ. จะจัดการประชุมเพื่อหามาตรการในการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการในการควบคุมแหล่งมลพิษ โดย ในระดับนี้ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งผู้ว่าราชการ ปริมณฑลทั้ง 5 จังหวัด ในการที่จะใช้ กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติต่างๆ เพื่อควบคุม แก้ไข และดำเนินการ เพื่อให้ค่าฝุ่นละอองลดลง มิให้ส่งผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อประชาชน เช่น อาจจะใช้ พรบ.การสาธารณสุข พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ท้องถิ่น มีอยู่ เพื่อแก้ไข ควบคุมพื้นที่หรือควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อประชาชน

 ระดับที่ 4 : ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกิน 100 มคก./ลบ.ม. ทั้งนี้ "เมื่อมีการดำเนินการใน"ระดับที่ 3" แล้วสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ยังไม่ลดลง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเกินกว่า 100 มคก/ลบ.ม. ต่อเนื่องยาวนาน ก็จะมีการประชุม กก.วล. เป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ "ในการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก" โดยจะนำเสนอเพื่อกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณา "ในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง" ต่อไป

ทั้งนี้ ที่ปะชุมได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 (ในระดับที่ 2 และ ที่ 3 ) และจัดส่งให้ กทม. ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์กรณีสถานการณ์ เพื่อใช้ในการปฏิบัติการต่อไปโดยมี​ คพ.ร่วมสนับสนุน ในเรื่องของ ข้อมูลทางทางวิชาการ และข้อมูล คุณภาพอากาศจากสถานีวัดคุณภาพอากาศ

"บอร์ดควบคุมมลพิษ" เคาะมาตรการ 4 ระดับความรุนแรง แก้ฝุ่นพิษ! "บอร์ดควบคุมมลพิษ" เคาะมาตรการ 4 ระดับความรุนแรง แก้ฝุ่นพิษ!

related