svasdssvasds

ทีมสภาวิศวกร ชี้ 5 สาเหตุ ทำเครนถล่มซ้ำซาก!

ทีมสภาวิศวกร ชี้ 5 สาเหตุ ทำเครนถล่มซ้ำซาก!

ทีมสภาวิศวกร แถลง "ถอดบทเรียน เครนถล่มซ้ำซาก สาเหตุและแนวทางป้องกัน" กรณีเหตุการณ์เครนก่อสร้างคอนโด ย่านพระราม 3 หักถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บอีก 4 ราย

วันนี้ ( 29 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ ห้องรัชดาบอลรูม ชั้น 6 โรงแรม เอสซี ปาร์ค ทีมสภาวิศวกร นำโดย ดร.กมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร พร้อมด้วย ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธการสภาวิศวกร และ นายชูเลิศ จิตเจือจุน คณะทำงานตรวจสอบปัญหาอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ได้ทำการแถลง "ถอดบทเรียน เครนถล่มซ้ำซาก สาเหตุและแนวทางป้องกัน" กรณีเหตุการณ์ครนก่อสร้างคอนโด ย่านพระราม 3 หักถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บอีก 4 ราย

โดย นายชูเลิศ จิตเจือจุน กล่าวว่า โดยปัจจุบันนั้นสถิติอุบัติเหตุจากปั้นจั่นหอสูงทั่วโลกตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2009 โดยเป็นการติดตั้งรื้อถอนเพิ่มลดความสูงประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเป็นการติดตั้งรื้อถอน 26 เปอร์เซ็นต์ และการเพิ่มลดความสูง 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในเดือนมกราคมได้มี 2 เหตุการณ์ใดๆและหนึ่งในนั้นเป็นอุบัติเหตุเครนถล่มขณะก่อสร้างคอนโดย่านพระราม 3 โดยมีผู้เสียชีวิต 5 ศพบาดเจ็บอีก 5 คน โดยหลังจากตรวจสอบสภาพของเคลมแล้วเครนมีสภาพเก่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว จุดยึดรางเครนที่ชัดบนถูกดึงจนฉีกขาดหลุดออกมา ขณะที่ bolt ถูกดึงจนหลุดออกหมด และเกิดโมเมนต์ดัดสูงมาก จนแกน Tower บิดตัวโก่งงอ โดยความเสียหายนั้นเกิดขึ้นกับโครงสร้างอาคาร สถิติอุบัติเหตุจากปั้นจั่นหอสูงในประเทศไทยซึ่งตั้งแต่ปี 59 จนถึงปี 62 รวมแล้วกว่า 11 ครั้งด้วยกัน

ด้าน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เผยว่า สรุปสาเหตุเครนถล่ม ประกอบด้วยการประกอบติดตั้งไม่ถูกวิธีหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต /การยกของน้ำหนักเกินพิกัด /ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งาน วัสดุเสื่อมสภาพ/ ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้และประสบการณ์ โดยอำนาจหน้าที่ของสภาวิศวกรตามกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและอาชีพวิศวกรรมควบคุมพุทธศักราช 2550 ออกตามพรบ. วิศวกร 2542 โดยกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมปี 2550 อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่าวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกรพุทธศักราช 2542 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 43 และข้อ 4 ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา โดยข้อสำคัญอยู่ที่โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่องหรือศาสนวัตถุเช่นพระพุทธรูปหรือเจดีย์ที่มีความสูงตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป และนั่งร้านหรือค้ำยันชั่วคราวที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป

ทั้งนี้ ในส่วนของเทาเวอร์เครน คือ ปั่นจั่นประเภทหนึ่ง โดยมากใช้ในงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง ซึ่งความสามารถของ tower crane ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ การทรงตัวและความแข็งแรงของวัสดุ ดังนั้นจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม ตามมาตรา 50 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม โดยมีข้อสำคัญคือต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ

อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณพระราชบัญญัติวิศวกรพุทธศักราช 2542 มาตรา 61 การพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาด แบ่งออกเป็น 5 ข้อด้วยกัน 1. ยกข้อกล่าวหา 2. ตักเตือน 3. ภาคทัณฑ์ 4. พักใช้ใบอนุญาตไม่เกิน 5 ปี 5. เพิกถอนใบอนุญาต

ส่วนมาตรการดำเนินการมีอยู่ด้วยกัน 3ขั้นตอน ได้แก่

1. กำหนดให้เครนปั้นจั่นเป็นโครงสร้างตามความหมายของพรบควบคุมอาคาร 2522 เพื่อให้ต้องมีการขออนุญาตในการติดตั้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

2. นายตรวจตามพรบ. ควบคุมอาคารต้องทำการสุ่มตรวจอาคารขณะก่อสร้าง

3. ท้องถิ่นอาจขอความร่วมมือจากสภาวิศวกรในการส่งคณะผู้ตรวจสุ่มตรวจอาคารขณะก่อสร้างประกอบด้วย (1. ตัวแทนสภาวิศวกร 2 ตัวแทนภาครัฐ 3. ตัวแทนภาคเอกชน โดยมีอำนาจในการตรวจสอบการก่อสร้างโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า)

ทีมสภาวิศวกร ชี้ 5 สาเหตุ ทำเครนถล่มซ้ำซาก! ทีมสภาวิศวกร ชี้ 5 สาเหตุ ทำเครนถล่มซ้ำซาก!

related