svasdssvasds

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

เชียงใหม่​ -​ ฝนถล่มหนักเชียงใหม่​ ทำเจดีย์​วัดล่ามช้างแตกร้าว​ ด้านกรมศิลปากร​เข้าสำรวจแล้ว​ พร้อมวางแนวทางบูรณะ​ร่วมกับชาวบ้าน

จากกรณี​ที่ฝนตกหนักและมีลมพายุในเขต จ.เชียงใหม่​ เมื่อวัน​ที่​ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา​ ทำให้เจดีย์อายุ ​700​ กว่าปี​ ​ในวัดล่าม​ช้าง​ ต.ศรีภูมิ​ อ.เมือง​ จ.เชียงใหม่​ เกิดรอยแตกร้าว​ โดยพระครู​ปลัดอานนท์​ วิสุทโท​ เจ้าอาวาส​วัดล่ามช้าง​ จึงประสานไปที่สำนักงานศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ให้เข้ามาตรวจสอบความเสียหายเกิดขึ้น

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

ล่าสุดวันนี้ ( 6 ต.ค.) นายเทอดศักดิ์​ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์​โบราณ​สถาน​ สำนักศิลปากรที่​ 7​ เชียงใหม่​ เข้ามาสำรวจความเสียหาย พร้อมกับเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากร​ โดย​นายเทอดศักดิ์​ ได้ปีนขึ้นบันใดเพื่อไปสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น พบว่าตัวปูนซึ่งก่อสร้างครอบตัวองค์เจดีย์​​เดิม​ เมื่อปี 2503 เกิดการแตกร้าวและมีบางส่วนแตกร่วงลงมาจากองค์​เจดีย์​

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

นายเทอดศักดิ์​ เย็นจุระ​ กล่าวว่า​ เหตุการณ์ที่องค์เจดีย์วัดล่ามช้างพังเสียหายนั้นรมว.วัฒนธรรม และอธิบดีกรมศิลปากร มีความเป็นห่วงอย่างมาก และได้กำชับให้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เร่งเข้ามาตรวจสอบโดยเร็วที่สุด ซึ่งจากการตรวจสอบในวันนี้ พบว่าองค์เจดีย์ถูกสร้างขึ้นสมัยพญามังราย มีอายุราวๆ 700 กว่าปี จากเดิมเป็นเพียงองค์พระธาตุที่มีสภาพเหลือแต่อิฐเก่าที่เป็นรูปร่างองค์เจดีย์ ต่อมาในปี 2503 ทางอดีตเจ้าอาวาส ได้ทำการบูรณะด้วยการทำเจดีย์ใหม่ครอบเจดีย์เดิม

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

จากนั้นในปี 2542 ทางวัดได้ทำเพิ่มเติมบริเวณทรงระฆังคว่ำขององค์เจดีย์และติดกระจกเพิ่ม กระทั่งในปี 2557 ทางสำนักงานศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เข้ามาบูรณะองค์เจดีย์บริเวณตั้งแต่ด้านล่างทรงระฆังคว่ำจนถึงฐานร่าง ซึ่งก็มีการยึดและคอบฐานล่างไว้แล้ว

เชียงใหม่​- ฝนถล่ม​ทำเจดีย์อายุ​ 700​ ​กว่าปี​ ​วัดล่ามช้างแตกร้าว (ชมคลิป)

ส่วนสาเหตุของการพังทลายครั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าตัวปูนซีเมนต์ที่ถูกสร้างครอบในปี 2503 ไม่เชื่อมติดกับองค์เจดีย์เดิม ประกอบกับอายุขององค์เจดีย์ที่ผ่านมานานหลายสิบปี และมีรากต้นโพธิ์ด้านใน เมื่อรากดังกล่าวโตมากขึ้น สร้างรอยแยกให้กับปูนจากเดิมที่ไม่ติดกันอยู่แล้ว ก็ขยายตัวมากขึ้น กระทั่งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาซึมเข้าไปในรอยแยก เมื่อปูนที่กร่อนแล้วไม่ติดกันแต่เดิมอยู่แล้ว ก็เกิดการแตกและหลุดออกมา ซึ่งขนาดปูนเมื่อหยิบมาตรวจสอบดู พบว่ามีน้ำหนักมาก

[video width="960" height="540" mp4="https://spcdn.springnews.co.th/wp-content/uploads/2019/10/87.mp4"][/video]

ดังนั้นการใช้ปูนซีเมนต์มาครอบองค์เจดีย์ ก็เหมือนเป็นฉนวนกันความชื้นที่ไม่ให้ระเหยออกมาด้านนอกด้วย และการเอียงขององค์เจดีย์ มีการเอียงแต่เดิมอยู่แล้ว กระทั่งมาสร้างเจดีย์ครอบใหม่ ก็สร้างตามการเอียงขององค์เจดีย์เดิม หากมองทางด้านทิศใต้ขององค์เจดีย์ จะเห็นว่าเจดีย์เอียงไปทางทิศตะวันออก

นายเทอดศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังจากการตรวจสอบแล้ว ทางสำนักงานศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เตรียมที่จะบูรณะด้วยการซ่อมแซมตัวองค์เจดีย์ให้กลับคืนมา แต่จะบูรณะในส่วนที่เสียหายก่อน สำหรับการบูรณะระยะยาวก็ต้องรองบประมาณครั้งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งแผนการบูรณะซ่อมแซมส่วนที่แตกร้าวครั้ง เมื่อมีการนำรากต้นโพธิ์ออกแล้ว จะดูว่าจุดไหนมีรอยร้าวเพิ่ม จะนำออกและบูรณะใหม่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน งบประมาณรวม 3 แสนบาท

related