svasdssvasds

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐

ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 นี้ ชาวไทยและชาวโลกจะได้ชื่นชมราชพิธีที่เป็นหนึ่งเดียวในโลก การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2562

การซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีนี้ เป็นการจัดรูปขบวนตามรูปแบบโบราณราชประเพณีทุกประการ มีเรือเข้าร่วมขบวนทั้งหมด 52 ลำ โดยจัดรูปขบวนเรือ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐

– ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน

 

– ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก

– ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คนโขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

ถูกสร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (ลำปัจจุบัน)

เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีพลตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล)

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้าง เรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

เรือคู่ชัก

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือเอกไชยเหินหาว

เป็นเรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำหน้าที่เป็นเรือคู่ชักใช้นำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คู่กับเรือเอกไชยหลาวทองหรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่ง ในกรณีที่ฝีพายไม่เพียงพอ

เรือเอกไชยหลาวทอง

เป็นเรือคู่ชัก คู่กับเรือเอกไชยเหินหาว สำหรับใช้ช่วยชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในงานพระราชพิธี ลำปัจจุบันเป็นลำที่สอง ที่สร้างขึ้นทดแทนลำเดิม ที่ถูกระเบิดได้รับความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2487 และกรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2491

เรือรูปสัตว์

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรืออสุรวายุภักษ์ 

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรืออสุรวายุภักษ์ โขนเรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีม่วง ลักษณะและขนาดของเรือใกล้เคียงกับเรือกระบี่ ปราบเมืองมาร

เรืออสุรปักษี 

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค โขนเรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีเขียว ปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

หน้ามีลักษณะเหมือนรูปโขน ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ[2] ยาว 13 วา 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 4 ศอก ลึก 1 ศอก กำลัง 5 ศอก 4 นิ้ว ลำเดิมถูกระเบิดเสียหาย กรมศิลปากรเก็บหัวเรือท้ายเรือไว้ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ. 2591

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค โขนเรือเป็นรูปขุนกระบี่สีดำปิดทองประดับกระจกภายในสีแดง ภายนอกทาสีดำ เขียนลวดลายดอกพุตตานสีทอง

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือครุฑเหินเห็จ

ซึ่งปรากฎอยู่ในตำนานของอินเดียว่าเป็นพาหนะของพระนาราย์ณ เป็นอมนุษย์ที่มีศีรษะ ปีก กรงเล็บ และจะงอยอย่างนกอินทรีย์ มีส่วนร่างกายและแขนขาอย่างมนุษย์ ในงานศิลปะมักปรากฎรูปครุฑอยู่กับนาค ซึ่งสร้างตามเรื่องราวที่กล่าวว่าครุฑและนาคเป็นอริกัน รูปครุฑยุดนาคที่ใช้เป็นหัวเรือครุฑเหินเห็ดก็คงสร้างขึ้นตามเรื่องราวตามตำนานนี้

เรือครุฑเตร็จไตรจักร

เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค

เรือประตูหน้า

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือเสือทยานชล

เป็นเรือประตูหน้าในประเภทเรือพิฆาต เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค หัว เรือทำเป็นรูปหัวเสือ มีคฤห์สำหรับอำมาตย์ฝ่ายทหารนั่ง เป็นเรือรบที่อยู่ในริ้วที่ ๒ และริ้วที่ ๔ ถัดจากเรือประตูหน้าเข้ามาในกระบวน มีปืนจ่ารงตั้งที่หัว เรือ เรือพิฆาต ทั้ง ๒ ลำนี้ จะแล่นส่าย

เรือเสือคำรณสินธุ์

จัดอยู่ในประเภทเรือเหล่าแสนยากรทำหน้าที่เป็นเรือพิฆาต ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 1

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือทองขวานฟ้า

เป็นเรือประตูหน้า หนึ่งในสองของเรือคู่แรกในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือลำเดิมไม่พบหลักฐานในการสร้าง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

เรือทองบ้าบิ่น

เป็นเรือประตูหน้า หนึ่งในสองของเรือคู่แรกในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือลำเดิมไม่พบหลักฐานในการสร้าง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรืออีเหลือง คือเรือกราบ ใช้เป็นเรือกลอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ใน พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เรืออีเหลือง ขนาดของเรือ กว้าง 1.68 เมตร ยาว 24.25 เมตร ฝีพาย 27 นาย

เรือแตงโม คือเรือกราบ ใช้เป็นเรือกลอง ไม่พบหลักฐานที่สร้าง มีการซ่อมครั้งใหญ่ ใน พ.ศ.2524 ซ่อมใหญ่ เรือแตงโม ขนาดของเรือ กว้าง 1.91 เมตร ยาว 25.0 เมตร  ฝีพาย 28 นาย

ศิลป์แห่งสายน้ำ...กระบวนพยุหยาตราชลมารค รัชกาลที่ ๑๐ เรือแซง คือเรือกราบ เป็นเรือเล็กและเร็ว จัดเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์ ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ส่วนมากมักจะซ่อมทำโดยการเปลี่ยนไม้ที่เก่าออก แล้วใส่ไม้ใหม่

เรือตำรวจ  เป็นเรือกราบ จัดอยู่ในประเภทเรือเหล่าแสนยากรทำหน้าที่เป็นคุ้มกันขบวนเรือพระที่นั่งภายในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : คำต่อคำ พันท้ายเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ กับภาพจากมุมมองสายตาพันท้ายคนสำคัญ(คลิป)

related