svasdssvasds

แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 1 ก.ค.60 โฆษกคณะกรรมการยกร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชี้แจง การแก้ไข พ.ร.บ.ฯเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 77 วรรคสอง ที่ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีภาคประชาชนเข้าร่วมในกระบวนการยกร่างกฎหมาย ด้านกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนเข้าร่วมในการพิจารณาด้วย จำนวน 5 คน 

นพ. มรุต จิรเศรษฐสิริ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษกคณะกรรมการยกร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า กรณีตัวแทนกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ตั้งข้อสังเกตถึงการแก้ไขร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ว่าผิดต่อหลักรัฐธรรมนูญนั้น ขอชี้แจงทำความเข้าใจ ดังนี้ 1. ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 10/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยคำสั่งดังกล่าวออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และมีนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธานกรรมการ และมีองค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้ 

แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 คน ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 4 คน ผู้แทนหน่วยงานอื่นของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 12 คน และมีภาคประชาชน จำนวน 5 คน ได้แก่นายอัมมาร สยามวาลา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นางยุพดี ศิริสินสุขผู้แทนองค์กรเอกชน (ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีฯ) นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐผู้แทนองค์กรเอกชน (ด้านผู้สูงอายุ) นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ซึ่งจากองค์ประกอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีภาคประชาชนจำนวน 5 คน เข้าร่วมในการพิจารณาจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 

  แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

2. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 77 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้าน เป็นระบบ และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดว่าจะต้องมีภาคประชาขนเข้าร่วมในกระบวนการยกร่างกฎหมายด้วย แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขได้มีการแต่งตั้งผู้แทนภาคประชาชนมาเข้าร่วมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง (ประชาพิจารณ์) มีภาคประชาชนเข้าร่วมในสัดส่วนจำนวนที่มากกว่าภาครัฐและภาควิชาการ และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นโดยมิได้มีการปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด 

   แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบการรับฟังความคิดเห็น หรือการประชาพิจารณ์ 4 ภาคนั้น ได้ดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์พิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยในเอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นหมายเลข 3 ที่เป็นตารางเปรียบเทียบพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กับร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ได้ระบุเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมรวมทั้งความเห็นของเสียงส่วนน้อยของคณะกรรมการ ฯ ว่ามีความเห็นในแต่ละประเด็นมาตราอย่างไรด้วย

แจงแก้ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามรธน.มาตรา 77 วรรคสอง 

related