svasdssvasds

ประกันโควิด 19 คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำ

ประกันโควิด 19 คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำ

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

นาทีนี้คงไม่มีเรื่องอะไรที่ทำให้เราต่างกังวลใจ ไปได้มากกว่าเรื่องไวรัส โควิด 19 เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีแต่ข่าวผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนรู้สึกพะวงไม่ใช่น้อย ดังนั้นเราจะเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่ออกตามมาติดๆ เลยคือ ประกันโควิด 19

ทั้งจากบริษัทประกันที่เห็นจนชินตา รวมไปถึงหลากหลายธนาคาร ที่ดูรวมๆจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง และยังไม่รู้อีกว้่าจะเอาหลักเกณฑ์ไหนเป็นตัวชี้วัดว่าที่ไหนคุ้ม ดังนั้นก่อนตัดสินใจทำ ประกันโควิด 19 อย่าลืมศึกษาข้อมูลใก้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน

 

ประกันโควิด 19 คือ ? จำเป็นแค่ไหน ?

ประกันโควิด 19 เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครอง ในกรณีเจ็บป่วยและสูญเสียจากโรคโควิด 19 โดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทที่มีการเปิดให้ทำประกันตัวนี้มีหลากหลาย จนเกิดเป็นข้อสงสัยว่าจำเป็นหรือยัง

คนที่ควรทำประกันตัวนี้เป็นกลุ่มคนที่ต้องเจอกับโรคนี้ คือ คนที่ใช้ชีวิตตามสถานที่สาธารณะบ่อย เช่น ใช้บริการขนส่งมวลชน, คนที่ทำงานในเมือง หรือทำงานในที่แออัด

ส่วนคนที่มีการซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมไปถึงค่ารักษาและโรคร้ายแรงอยู่แล้ว อาจไม่มีความจำเป็นเพราะถึงจะเป็นโรคอุบัติใหม่ ประกันตัวเดิมที่มีอยู่ก็ยังครอบคลุม

 

ประกันประเภทไหน ? ที่ครอบคลุม โควิด 19 ?

สำหรับคนที่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ, กรมธรรม์ประกันชีวิต และกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทาง อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำประกันโควิด 19 เพิ่ม

เพราะทั้ง 3 ชนิดนั้น ครอบคลุมและได้รับคามคุ้มครองอยู่แล้ว ถึงแม้โควิด 19 จะเป็นโรคใหม่ก็ตาม

 

ประกันโควิด 19 คุ้มครองอะไร ? กรณีไหนบ้าง ?

"ทุกคนมีสิทธิตรวจและรักษาโควิด-19 ได้โดยไม่เสียเงิน" เพราะทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ ครอบคลุมค่าตรวจรวมถึงค่ารักษาพยาบาล COVID 19 ด้วย แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ซื้อไว้

  • เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 เช่น มีอาการต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อโควิด ไอ, หายใจไม่สะดวก, ปวดเนื้อเมื่อตัว หรือมีไข้อ่อนๆ

    (ถ้าไม่มีอาการแล้วไปตรวจจะต้องจ่ายเงินเอง ยกเว้นไปตรวจแล้วเจอเชื้อถึงจะไม่เสียค่าใช้จ่าย)

  • ค่ารักษาพยาบาล จะคุ้มครองต่อเมื่อ ตรวจพบว่ามีเชื้อโควิด 19  และต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • เมื่อเกิดภาวะโคม่าหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อ ภาวะโคม่า หรือภาวะสมองตายและระบบประสาทล้มเหลว หรือการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้
  • ค่าชดเชยรายวัน ระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาล

 

ดังนั้นหลักการสำคัญในการใช้สิทธิรักษาพยาบาลทั้ง 3 สิทธิก็คือ ‘รักษาตามอาการ และห้ามร้องขอ’

 

ข้อมูลนี้อ้างอิงจาก คปภ.

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> 4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

related