svasdssvasds

ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19

องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็กฯ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ดูแลเด็กเล็กในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 โดยเฉพาะเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า จากเดือนละ 600 เป็น 2,000 บาท ชี้เป็นการใช้งบประมาณที่คุ้มค่า เพราะเด็กเป็นกำลังสำคัญในอนาคต

องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็ก ผู้หญิง ขบวนแรงงานทั้งในและนอกระบบ และสถาบันวิชาการ ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.ลาโหม ถึงข้อเสนอ ปกป้องดูแลเด็กเล็กในสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 ด้วยนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กอย่างเท่าเทียม

ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 เห็นชอบโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิดและไม่เกิน 6 ปี เดือนละ 600 บาท แก่เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือเสี่ยงต่อความยากจน โดยมีการลงทะเบียนและมีการคัดกรองรายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

แม้จะมีข้อดีกว่าเดิมที่เคยจำกัดรายได้เฉลี่ยครอบครัวละไม่เกิน 36,000 บาทต่อปี แต่องค์กรภาคประชาสังคมด้านเด็ก ผู้หญิง ขบวนแรงงานทั้งในและนอกระบบ และสถาบันวิชาการ ได้มีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันข้อเสนอที่มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 "ขอให้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนไม่เกิน 6 ปี"

เหตุผลที่ควรสนับสนุนเงินช่วยเหลือเด็กเล็กอย่างเท่าเทียม เพราะผลการวิจัยทั่วโลกสรุปว่า การให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเด็กที่เกิดในครอบครัวที่แตกต่างกัน ย่อมได้รับการดูแลที่ไม่เหมือนกัน

งานวิจัยยังพบอีกว่า ร้อยละ 30 ตกหล่นจากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายยากจน ส่งผลให้เด็กเล็กจำนวนมากไม่ได้รับการปกป้องดูแล การศึกษาทั่วโลกพบว่า การจะแก้ไขลดอัตราการตกหล่นคนจนเป็นเรื่องยาก หากไม่ทำให้เป็นนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอย่างเท่าเทียม

สังคมไทยพัฒนาการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้ามายาวนาน ทั้งการเรียนฟรีอย่างน้อย 12 ปี, สวัสดิการคนพิการ, สวัสดิการผู้สูงอายุ, สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล แต่กลับเลือกเจาะจงเด็กยากจนด้วยการคัดกรองที่มีเด็กตกหล่นและเข้าไม่ถึงอีกจำนวนมาก

ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19

นโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กอย่างเทียม ยิ่งต้องมีเพราะสถานการณ์ โควิด 19

เพราะเป็นการส่งผลกระทบทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจต่อทุกสังคม รวมไปถึงผลกระทบที่รุนแรงของครอบครัวที่มีเด็กเล็กและเด็กแรกเกิด ในขณะที่ขาดรายได้จากการทำงาน แต่กลับมีรายจ่ายสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีหลายครอบครัวยากจนตกหล่นเพิ่ม จนกลายเป็นครอบครัวยากจนในขณะที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเหมือนเดิม

การให้ความช่วยเหลือเด็กเล็กอย่างถ้วนหน้า จะทำให้ความช่วยเหลือนั้นไปถึงเด็กอย่างทันที เพียงพอ และครอบคลุม ลดความจำเป็นด้านเอกสารและการตรวจสอบ แม้จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ถือว่าน้อยกว่าการลงทุนด้านอื่นของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรเห็นเป็นภาระ แต่ควรเป็นการใช้งบประมาณลงทุนที่คุ้มค่า

นโยบายนี้จึงเป็นสวัสดิการพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกับเด็กทุกคน โดยไม่แบ่งแยกความยากจน แต่เป็นการได้รับการดูแลจากรัฐอย่างเท่าเทียม คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้าและองค์กรเครือข่าย ตามรายชื่อในจดหมาย ขอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาเห็นชอบต่อการที่ประเทศไทย จะมีนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตกหล่นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19

ประเด็นสำคัญในการเรียกร้องครั้งนี้คือ

1.เรียกร้องสิทธิ์​ให้เด็กเล็กอายุ​ 0-6 ปี ได้รับสวัสดิการ​ถ้วนหน้า​ โดยมีเด็กตกหล่นกว่า 4 ล้านคน ที่ได้รับการดูแลแค่ 1.4 ล้านคน

2.เนื่องจากสถานการณ์​โควิด 19​ ที่ครอบครัวต้องขาดรายได้ อยากให้ช่วยเหลือเพิ่มเป็น 2,000​ จาก​ 600 บาท

ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ร้องรัฐบาล เพิ่มเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เป็น 2,000 ต่อเดือน ในช่วงวิกฤตโควิด 19

related