svasdssvasds

นพ.โอภาส คาด รู้ผลตรวจติดเชื้อจ.ยะลา ไม่เกินวันพรุ่งนี้ ย้ำ ผลตรวจไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้

นพ.โอภาส คาด รู้ผลตรวจติดเชื้อจ.ยะลา ไม่เกินวันพรุ่งนี้ ย้ำ ผลตรวจไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คาด ผลตรวจครั้งที่ 3 คาดว่าผลตรวจจะออกไม่เกินวันพรุ่งนี้ ขอย้ำว่าการตรวจเชื้อไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะช่วงแรกก็มีเช่นกัน

ติดเชื้อโควิด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า การตรวจเชื้อที่ได้รับมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำและใช้เป็นหลักการในตรวจทั่วโลก ให้การยอมรับคือการตรวจหาสารพันธุ์กรรมของเชื้อ จากสารคัดหลั่งในลำคอ โพรงจมูก ปอด โดยการป้าย สารคัดหลั่งเหล่านี้มาตรวจ ซึ่งการตรวจเชื้อวิธีนี้สามารถตรวจเร็วตั้งแต่ที่มีอาการไม่มาก และให้ผลแม่นยำ

นพ.โอภาส กล่าวว่า ปัจจุบันกรมวิทยฯ ได้สร้างเครือข่ายการตรวจขึ้นมาโดยกำหนดเกณฑ์

1. ต้องมีนักเทคนิคการแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความรู้เรื่องการตรวจ RT-PCR

2.ต้องมีเครื่องตรวจ มีระบบความปลอดภัยทางชีวะ

3. ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญ ผ่านแบบทดสอบ 100%

4.ต้องมีระบบรายงานคุณภาพมาตรฐาน

ขณะนี้มีเครือข่ายห้องปฏิบัติการ 151 แห่ง ตรวจเชื้อฯ ไปแล้ว 227,860 ตัวอย่าง และมีโอกาสเพิ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 พัน

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การตรวจ RT-PCT จะมีตัวเปรียบเทียบ หรือตัวควบคุม 2 แบบที่ต้องทำควบคู่กันสมอ คือ แบบให้ผลบวก และแบบที่ให้ผลลบ ซึ่งเป็นน้ำเปล่า จึงให้ผลลบเสมออยู่แล้ว ส่วนห้องแล็บที่จังหวัดยะยานั้นเป็นห้องแล็บที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด และที่ผ่านมาก็ตรวจใน จ.ยะลาไปแล้วกว่า 4 พันตัวอย่าง

แต่ปัญหาในกลุ่มที่ทำการตรวจเชิงรุก 40 คน ที่พบว่าตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบหรือน้ำเปล่ามีเชื้อฯ แปลว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จึงหยุดตรวจและรายงานให้จังหวัดทราบเพื่อหาสาเหตุ ว่าเพราะอะไรตัวเปรียบเทียบที่เป็นลบถึงเกิดผลบวกขึ้นมา ขณะนี้ทางคณะผู้เชี่ยวชาญของกรมวิทยาศาสตร์ฯ และทางมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ได้ลงไปช่วยในการตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีก

 นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า การเก็บตัวอย่างเชิงรุกที่ยะลานั้น เป็นการเก็บตัวอย่างจากจมูก กับคอ และตรวจด้วย RT-PCR  ซึ่งเป็นมาตรฐาน ส่วนผลการตรวจซ้ำครั้งที่ 3 คาดว่าผลตรวจจะออกไม่เกินวันพรุ่งนี้ (6 พ.ค.) ขอย้ำว่าการตรวจเชื้อไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้เสมอ เพราะช่วงแรกก็มีเช่นกัน

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

อ่านข่าวแนะนำ >>> How To ดูแล สุขภาพจิต เด็กและเยาวชน ระหว่างโรคระบาด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/635009

อ่านข่าวแนะนำ >>> How to ทำงานจากบ้าน พร้อมเลี้ยงลูกไปด้วย แบบไม่เสียสติ

https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/636779

related