svasdssvasds

ตรวจสอบสถานะเกษตรกรมีกี่ประเภท เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา 15,000

ตรวจสอบสถานะเกษตรกรมีกี่ประเภท เช็กสิทธิ์รับเงินเยียวยา 15,000

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากมาตราการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกร 15,000 บาทนั้นยังมีตัวเลขเกษตรกรอีกกว่า 1 ล้านรายที่จะต้องปรับข้อมูลบัญชีเกษตรกร รวมถึงการขึ้นทะเบียนเกษตรกรใหม่ เพราะยังไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อนถึงแม่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ทั้งนี้จะต้องมีการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้ทั้งสองกลุ่ม เพื่อให้เข้าเกณฑ์การรับเงินเยียวยาเกษตรกร รายละ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 63 - กรกฎาคม 63 นี้

 

โดยข้อมูลหลักเกณฑ์สำหรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นไปตามคำนิยามเกษตรกร คือ บุคคลธรรมดาที่ประกอบอาชีพเกษตรกร และนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตร รวมถึงได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบฯ

ส่วนนิยามของครัวเรือน คือ บุคคลเดียว หรือหลายคนที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหรือสถานที่เดียวกัน และจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้านเป็น 1 ครัวเรือนโดยแยกหลักเกณฑ์ตามหน่วยงานดังนี้

 

1.การทำนา หรือทำไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 1 ไร่ขึ้นไป

2.การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือการเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 1 งานขึ้นไป

3.การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน  1 ไร่ขึ้นไป และมี 50 ต้นขึ้นไป

4.การปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้นแบบสวนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันอย่างน้อย 1 ไร่และมี 50 ต้นขึ้นไป

5.การเลี้ยงแม่โคนม 1 ตัวขึ้นไป

6.การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 2 ตัวขึ้นไป

7.การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 5 ตัวขึ้นไป

8.การเลี้ยงสัตว์ปีก 50 ตัวขึ้นไป

9.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

10.การทำนาเกลือสมุทร 1 ไร่ขึ้นไป

11.การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน

12. การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ

13.ประกอบการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 12 ข้อ และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปีขึ้นไป

 

กรมปศุสัตว์

 

1.การเลี้ยงแม่โคนม 1 ตัวขึ้นไป

2.การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน 2 ตัวขึ้นไป

3.การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 5 ตัวขึ้นไป

4.การเลี้ยงสัตว์ปีก 50 ตัวขึ้นไป

5.กรณีจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ต้องมีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ชนิด

 

กรมประมง

 

1.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) เช่น ฟาร์มเลี้ยง โรงเพาะฟัก ที่ทะเบียนเกษตรกรยังมีอายุอยู่

2.เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) ได้แก่ ทะเบียนชาวประมง (ภาคสมัครใจ) / ทะเบียนเจ้าของเรือประมงพื้นบ้าน /  ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาตทำการประมง /  ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตาม ม.174 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 / ทะเบียนคนประจำเรือประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน  (แรงงานไทย) ที่ทะเบียนเกษตรกรยังมีอายุอยู่

3.เกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ม.175 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558

4.เกษตรกรได้จดแจ้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

5.ทะเบียนผู้จดแจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ในพื้นที่ตามประกาศของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตาม ม.77 พ.ศ.2558

6.การทำนาเกลือสมุทร 1 ไร่ขึ้นไป

 

กรมหม่อนไหม

 

1.การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน

1) ใบหม่อนสดเพื่อจำหน่ายใบ ต้องมีพื้นที่/จำนวนต้นไม่น้อยกว่า 1 งาน หรือ 250 ต้น

2) ใบหม่อนเพื่อทำชาหม่อน ต้องมีพื้นที่/จำนวนต้น ไม่น้อยกว่า 1 งาน หรือ 250 ต้น

3) หม่อนผลสด ต้องมีพื้นที่/จำนวนต้น ไม่น้อยกว่า 1 งาน หรือ 25 ต้น

4) ใบหม่อนสดเพื่อเลี้ยงไหมหัตถกรรม ต้องมีพื้นที่/จำนวนต้น ไม่น้อยกว่า 1 งาน หรือ 250 ต้น

5) ใบหม่อนสดเพื่อเลี้ยงไหมอุตสาหกรรม ต้องมีพื้นที่/จำนวนต้น ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ หรือ 375 ต้น

2.เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมต้องมีห้องเลี้ยง/โรงเลี้ยงไหม พร้อมอุปกรณ์การเลี้ยงไหมครบ

3.เกษตรกรผู้ทอผ้าไหม ต้องมีกี่อย่างน้อย 1 ตัว พร้อมอุปกรณ์การทอผ้าไหมครบ โดยมีกี่เป็นของตนเอง และหรือเป็นของกลุ่ม

 

การยางแห่งประเทศไทย

 

1.ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือผู้ทำสวนยาง และคนกรีดยาง ซึ่งมีสิทธิได้รับผลผลิตจากต้นยางในสวนยางนั้น

2.ผู้ขอขึ้นทะเบียนสามารถขอขึ้นทะเบียนได้ ณ ที่ทำการการแยางแห่งประเทศไทย หรือสถานที่ที่การยางแห่งประเทศไทยกำหนด ในพื้นที่สวนยางตั้งอยู่ หากมีสวนยางหลายแปลงและอยู่ต่างพื้นที่กัน ให้ไปยื่นขอขึ้นทะเบียนในพื้นที่ตามที่ตั้งแปลงหลักหรือแปลงที่มีพื้นที่มากสุด

3.เกษตรกรชาวสวนยางต้องมีสวนยางตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นผู้เช่า หรือผู้ทำยาง หรือคนกรีดยางในสวนยางดังกล่าว

4.กรณีคนกรีดยาง ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนได้ ณ ที่ทำการการแยางแห่งประเทศไทย หรือสถานที่ที่การยางแห่งประเทศไทยกำหนด ในพื้นที่สวนยางตั้งอยู่เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีหลีกเกณฑ์ของหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ที่มีการกำหนดการขอจดทะเบียนเป็นชาวไร่อ้อย ตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 และการขอจดทะเบียนเป็นหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย ตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 รวมถึงการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย อีกทั้งยังมีหลักเกณฑ์อื่นๆ ของการยาสูบแห่งประเทศไทย

related