svasdssvasds

รมว.อุตสาหกรรม หอบเอกสารแก้เกมกลุ่มค้านแบนพาราควอต หลังปลดล็อกเอกชนนำเข้าได้

รมว.อุตสาหกรรม หอบเอกสารแก้เกมกลุ่มค้านแบนพาราควอต หลังปลดล็อกเอกชนนำเข้าได้

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปรี่หอบเอกสารชี้แจงกรณี สมาพันธ์เกษตรฯ ขอศาลเร่งรับคำร้องกรณีสองมาตราฐาน ให้เอกชนสามารถนำเข้าได้ แต่เกษตรกรไม่ได้รับการปลดล็อกด้วย ซึ่งนายสุริยะ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนได้มีมติเห็นชอบให้มีการแบนสารเคมีดังกล่าว แต่ไม่ว่ามติจะออกมาอย่างไร แบน หรือไม่บน ตนก็โดนฟ้องอยู่ดี โดยยืนยันที่จะดำเนินตามคำสั่ง และแน่นอนว่าตนเอง และคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีข้อมูลแจงศาลครบถ้วน กระบวนการและมติการแบนถูกต้องตามข่าว

ด้านนายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย กล่าวว่า ขอให้ศาลปกครองกลางรับคำร้อง และเร่งรัดการพิจารณา รวมถึงออกคำสั่งคำร้องคุ้มครองชั่วคราวในการกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์จากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีคำสั่งแบนสารพาราควอต และคลอร์ไพริฟรอสดังคำร้องที่ได้ยื่นไปเมื่อ 27 พ.ค. ที่ผ่านมาเนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถใช้สารดังกล่าวได้ เพราะมีโทษจำคุกถึง 10 ปีปรับเงิน 1 ล้านบาทและยังไม่สามารถนำสินค้าไปคืนร้านค้าได้ เพราะร้านค้าก็ไม่มีเงินคืนให้เช่นกัน

 

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่จัดหาสารทดแทนและวิธีการจัดการที่เหมาะสม สร้างความเสียหายต่ออาชีพเกษตรกรทั่วประเทศที่ยังต้องใช้พาราควอต ซึ่งเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช และคลอร์ไพริฟอสเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับเตรียมสภาพพื้นดินเพาะปลูกช่วงเข้าสู่ฤดูฝน การยื่นคำร้องครั้งนี้หวังว่าศาลจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้ผู้ฟ้องคดีและเกษตรกรอีกนับล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้างมีการเลิกจ้างงานจำนวนมากสร้างความเสียหายให้ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผู้บริโภค 1.7 ล้านล้านบาทจำเป็นต้องให้ศาลเห็นความเดือดร้อนจากการประกาศนี้ ซึ่งตอนนี้ควรชะลอไปพลางก่อน เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงเรื่องสารทดแทน”

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ระหว่างนาวสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงสาธารณสุข โดยพบว่าจะมีการผ่อนผันการนำเข้าวัตถุดิบที่มีการใช้พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เช่น ถั่วดหลือง กากถั่วเหลือง และข้าวสาลี ไปจนถึงปีหน้า ซึ่งหากสามารถหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในการจะดการแก้ปัญหา 2 มาตรฐาน

ด้านนายสิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้มีการเปิดเผยด้วยว่าในการประชุมร่วมกับ รมช.​กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึง อย. นั้นมีความเห็นตรงกันเรื่องความปลอดภัยในการผลิตอาหารของผู้บริโภค

ทั้งนี้แนวทางการกำกับดูแล จะต้องสอดคล้องกับความปลอดภัยด้วย โดยเบื้องต้น อย. อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่?) พ.ศ.... ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่3) จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ซึ่งในระหว่างนี้ ภาคเอกชน ก็ยังสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้ตามประกาศฉบับเดิม ซึ่งมีความปลอดภัยในระดับเข้มงวดกว่าที่ Codex ได้ออกกำหนดเอาไว้อยู่แล้ว แต่หลังจากนี้ทางคณะทำงานศึกษาวิธีคุมกำหนดให้สอดคล้องกับระเบียบใหม่มากขึ้น

related