svasdssvasds

ธรณีสงฆ์เช่าได้ แต่ยึดไม่ได้

ธรณีสงฆ์เช่าได้ แต่ยึดไม่ได้

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

แม้ว่าตามกฎหมายจะเปิดให้กันที่ดินวัดเป็นที่จัดประโยชน์ได้ จนเป็นที่มาให้กลุ่มคนภายนอกเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินสงฆ์โดยมิชอบ ทำให้วัดขาดประโยชน์ ที่ดินแบบใดที่ปล่อยให้เช่าได้หรือไม่...

วัดทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 4 หมื่นวัด มีที่ดินของวัดอยู่ราว 3 หมื่นวัด จัดเป็นศาสนสมบัติของวัด และที่ดินวัดร้างอีกราว 6 พันวัด ซึ่งจัดเป็นศาสนสมบัติกลาง กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุให้กันที่ดินวัดเป็นที่จัดประโยชน์ได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา หรือสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติในปัจจุบัน และได้รับอนุญาติจากมหาเถรสมาคม โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนหรือเป็นผู้มีอำนาจขาดของวัด 

กฎหมายให้อำนาจสำนักงานพระพุทธฯ บริหารจัดการ โดยรายได้ส่งเข้าบัญชีศาสนสมบัติกลาง ใช้ในกิจการของสงฆ์โดยผ่านความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม

ธรณีสงฆ์เช่าได้ แต่ยึดไม่ได้  

ส่วนที่ดินศาสนสมบัติของวัดมีด้วยกัน 3 ประเภท โดยที่ดินวัดจะจัดให้ทำประโยชน์ได้ก็เฉพาะที่ธรณีสงฆ์ และที่กัลปนา โดยวัดเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเช่าที่ การเช่าที่ดินวัดมีทั้งเช่าเพื่ออยู่อาศัย ปลูกอาคารพาณิชย์เชิงธุรกิจ เพื่อการเกษตร ที่ทำการหน่วยงานราชการ เอกชน รวมไปถึงธุรกิจที่พักโรงแรม อัตราค่าเช่าเป็นไปตามที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 50 สตางค์

ธรณีสงฆ์เช่าได้ แต่ยึดไม่ได้

แต่การทำสัญญาเช่าที่หากเกิน 3 ปี ต้องแนบแบบการก่อสร้าง ผลประโยชน์ที่วัดจะได้รับ และขอความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมก่อนทำสัญญาเช่า แม้จะมีช่องว่างให้เปลี่ยนมือผู้เช่า การขายสิทธิ์ แต่ทุกขั้นตอนต้องแจ้งเปลี่ยนสัญญากับวัด เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และทรัพย์สินทั้งหมดยังถือเป็นของวัด หากไม่เป็นเช่นนั้นนับว่าผิดสัญญา วัดสามารถให้ออกจากพื้นที่ได้ทันที

ธรณีสงฆ์เช่าได้ แต่ยึดไม่ได้

ธุรกรรมทางการเงินไม่ใช่กิจของสงฆ์ วัดไม่ดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการ ไม่มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย จึงกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ที่ทำให้เกิดการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ การเรียกร้องให้แก้พระราชบัญญัติสงฆ์ ส่วนหนึ่งมุ่งหวังให้เกิดการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง ตรวจสอบได้ ก็เพื่อเป็นอีกช่องทาง ตัดตอนกลุ่มคน ที่หวังเข้ามาหากินกับวัด

[embed]https://youtu.be/IieUPm5yEds[/embed]

related