svasdssvasds

10 ปีร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปิดทางตั้งกระทรวงใหม่

10 ปีร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปิดทางตั้งกระทรวงใหม่

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ เตรียมขอขยายเวลาในการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำออกไปอีก 60 วัน คือจะสิ้นสุดสิ้นเดือนตุลาคมนี้ เพื่อให้ออกมาเป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ผ่านมาแล้ว 10 ปีกับร่างฉบับนี้ ตอนนี้ใกล้จะเสร็จหรือยัง เสร็จออกมาแล้วจะเป็นอย่างไร

จากปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ที่จะเกิดขึ้นทุกปี ตามวงรอบฤดูกาลของประเทศไทย ที่ช่วงหลังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุในแต่ละครั้ง ทำให้มีประชาชนกลายเป็นผู้ประสบภัย บ้านเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหายจำนวนมากในแต่ละครั้ง รัฐบาลต้องนำงบประมาณจำนวนมากในการชดเชยเยียวยา

และแทบจะทุกครั้ง มักมีคำถามตามมาว่า เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม หรือ น้ำแล้ง แต่ละครั้ง สังคมจะตั้งคำถามกับการรับมือจากหน่วยงานรัฐที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

10 ปีร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปิดทางตั้งกระทรวงใหม่

พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ระบุว่า ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 38 ฉบับ มีกฎหมายลูก 3,835 ฉบับ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 42 หน่วยงาน ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำงาน

นั่นจึงเป็นที่มาของการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ เพื่อหวังให้เป็นกฎหมายหลัก ในการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งเป็นความพยายามของหลายรัฐบาลที่จะออกกฎหมายฉบับตั้งแต่ปี 2550 และ 2556 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

10 ปีร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปิดทางตั้งกระทรวงใหม่

เป็นเวลา 10 ปีเต็ม ที่ความพยายามใกล้เป็นจริง แต่หน้าตาของร่างกฎหมายเปลี่ยนไปไม่น้อย จากเดิม ที่กำหนดให้มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำ ทำหน้าที่รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้ นั่นเท่ากับเป็นการบีบให้ตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำขึ้นมาใหม่

แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจแก้ไข กลับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั่งรักษาการตามกฎหมาย ดับฝันตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำ ไปในที่สุด

10 ปีร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปิดทางตั้งกระทรวงใหม่

และสิ่งที่จะเปลี่ยนไปแน่นอน คือ การยกระดับและอำนาจของคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ จากที่มีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี รองรับ ให้ขึ้นมาอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้

หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน จะมีทั้งโทษปรับ โทษจำคุก ที่ชัดเจนและรุนแรงกว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

related