svasdssvasds

พอเพียงอย่างพอใจ : อีกบทบาทหนึ่งของ "คุณเดียร์" ที่ไม่ใช่ฟุตบอล

พอเพียงอย่างพอใจ : อีกบทบาทหนึ่งของ "คุณเดียร์" ที่ไม่ใช่ฟุตบอล

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

1485868336769-2

พอเพียงอย่างพอใจ

โดย...ฉาย บุนนาค

 อีกบทบาทหนึ่งของ "คุณเดียร์" ที่ไม่ใช่ฟุตบอล
ก่อนอื่นต้องขอบคุณสมาคมฟุตบอล และ คุณสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่ให้โอกาส คุณเดียร์ รับใช้ชาติในการดูแลทีมฟุตบอลชายรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในช่วงปีเศษที่ผ่านมา

แม้วันนี้ "คุณเดียร์" ได้สิ้นสุดบทบาทแล้วอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไม่เป็นทางการ ก็พร้อมให้ความร่วมมืออยู่ในทุกเรื่องที่สมาคมร้องขอ.

เกียรติประวัติที่ได้รับถือเป็นผลงานความสำเร็จของทุกคนในสมาคมฟุตบอล มิใช่เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง...

สำหรับ "คุณเดียร์" บทบาทที่ไม่มีทางสิ้นสุดและเป็นบทบาทสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือบทบาทของความเป็น "แม่"

คุณเดียร์ คือ คุณแม่-ลูกสอง... ชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง อายุ 6 และ 8 ปี

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ลูก คือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อและแม่ทุกคน และความสุข ความสำเร็จของลูก คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนา

การเลี้ยงลูก เปรียบดั่งการปลูกต้นไม้ เราต้องมีความรัก ตั้งใจ ให้เวลาอย่างเต็มที่ เพื่อวางแผน ประมวลผลอย่างละเอียดและรอบคอบ

ความรักและความตั้งใจ คือสิ่งที่มีไม่จำกัดจากพ่อแม่ แต่เวลาคือสิ่งที่มีจำกัด

ในพุทธศาสนา พระไตรปิฎกระบุว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส

โดยพระตถาคตทรงเปรียบ "ความปีติปราโมทย์" ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรึงชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข ดั่งสร้อยทองคล้องใจคนทั้งสองให้อยู่ร่วมกัน

สำหรับเราซึ่งยังเป็นฆราวาส คงยังไม่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวพอที่ละบ่วงต่างๆ ออกจากชีวิตไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความห่วงหาอาทรและความรักที่มีต่อบุตร แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1

ผมและคุณเดียร์ เราไม่เคยใฝ่ฝันที่จะให้ลูกเรียนเก่งได้ที่ 1 ของชั้น หรือเป็นนักกีฬายอดเยี่ยมของโรงเรียน หรือเติบโตมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือ ผู้นำประเทศ

เราหวังเพียงแค่ให้เขาเป็นคนดีที่มีคุณค่าต่อสังคม และใช้ชีวิต "มนุษย์" ในชาตินี้อย่างคุ้มค่าตามหลักพุทธศาสนา

สาระสำคัญเริ่มต้นที่เราวางแผนสอนลูกไว้คือเรื่อง "หิริโอตตัปปะ"หิริ ความละอายแก่ใจในการทำบาป... โอตตัปปะ ความกลัวต่อผลแห่งบาป

เราทั้งคู่มองว่ากฎหมายนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติผิด ทางกาย กับวาจาเท่านั้น หาได้ไปควบคุมถึงใจ ซึ่งเป็นตัวควบคุมกายกับวาจาไม่...

แม้ใจเด็กจะเหมือนผ้าขาว แต่สุดท้ายเมื่อเติบใหญ่ใจคงหนีไม่พ้นการผสมผสานด้วยความดีและเลวในจิตใจ จะมากหรือน้อยเท่านั้น

พ่อแม่ คงไม่มีทางประคบประหงมให้ขาวผุดผ่องได้เป็นแน่แท้

เราจึงต้องสอนลูกให้รู้จักการ "ฝืน" ใจตนเองให้เป็น ดั่งเช่นที่ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเคยเทศน์ไว้

“เมื่อ กาย วาจา ใจ ถือกุมอำนาจโดยจิต ...แม้มีความต้องการจะมุ่งหาธรรมอันประเสริฐ แต่ก็ไม่ได้เดินตามนั้น เป็นเพราะคนเรามิได้ "ฝืน" จิตที่กุมอำนาจอยู่ภายในจิตใจของเรา การ "ฝืน" เพื่อเหตุเพื่อผล เพื่อธรรมนั้นแลจึงเป็นความดีสำหรับเรา ความมีคุณค่าของคนเรามีอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่อยู่ที่เนื้อที่หนังเหมือนสัตว์... มนุษย์เรานี้มีคุณค่าทางจิตใจ ทางความประพฤติ"

 

คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ/ หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3296 ระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย.2560

related