svasdssvasds

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เตรียมให้อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโมเดลในการเฝ้าระวังปัญหาช้างป่ากัดกินพืชผลการเกษตรชาวบ้าน ด้วยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและติดตั้งกล้องระบบเอ็นแค็ปเฝ้าระวังช้างป่าตลอด 24 ชั่วโมง

นายจงคล้าย วงพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมนายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี พร้อมคณะ เดินทางไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยมีนายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ให้การต้อนรับ เพื่อทำความเข้าใจ กับชาวบ้านย่านซื่อ และชาวบ้านรวมไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า ด้วยการใช้ระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร และแอพพลิเคชั่นของโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนเข้ามาช่วยแจ้ง หากพบช้างกำลังออกจากป่ามุ่งหน้าพื้นที่เกษตรและชุมชน ตามโครงการ”ศูนย์เฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า” (Elephant Smart Early Warning System) โดยเพิ่มความสามารถของกล้องเอ็นแค็ป( NCAPS) มีการนำซิมการ์ดติดตั้งในกล้อง เพื่อบันทึกภาพช้างป่า รวมถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ขณะเดินผ่านหน้ากล้อง

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

โดยกล้องทุกตัวจะส่งภาพต่อไปยังระบบประมวลผลกลาง ผ่านสัญญาณเครือข่ายของระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ศูนย์เฝ้าระวังช้างป่า เป็นการเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อุทยานฯ คอยติดตามความเคลื่อนไหวผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง หากพบความเคลื่อนไหวของช้างป่า เจ้าหน้าที่จะส่งข้อมูลพิกัดช้างป่าให้ชุดลาดตระเวนเข้าไปผลักดันช้างกลับป่าได้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตการเกษตรของเกษตรกร

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่าหลังจากทดลองติดตั้งกล้องระบบเอ็นแค็ปจุดต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งมีช้างป่าอยู่ประมาณ 300 ตัว มาเป็นเวลา 7 เดือน พบว่าสามารถบันทึกภาพช้างป่า รวมทั้ง หมีควาย กระทิง เก้ง และสัตว์ป่าอื่นๆ รวม 252 ครั้ง ทำให้ชุดลาดตระเวนสามารถผลักดันช้างป่าได้สำเร็จ 208 ครั้ง สามารถลดพื้นที่การเกษตรเสียหายได้มาก โครงการนี้ถือว่าเป็นการเลือกให้อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นโมเดล หรือ ต้นแบบ การแก้ปัญหาช้างป่ากับคน ก่อนนำไปใช้ในพื้นที่อื่นทั่วประเทศต่อไป

อช.กุยบุรี ตั้งกล้องเอ็นแค็ป แก้ปัญหาช้างป่า

related