svasdssvasds

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตแล้ง ลงแขกใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ คลุมหน้าดินด้วยฝางข้าว ปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย มีตลาดรองรับ

จากวิกฤตภัยแล้งที่ขยายวงกว้างในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ล่าสุดได้มีการประกาศภัยพิบัติแล้งแล้ว 7 อำเภอ 33 ตำบล 198 หมู่บ้าน โดยพบว่าแหล่งน้ำทั้งทางธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ คลองส่งน้ำต่างๆ แห้งขอด มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะทำนาปรัง เกษตรกร หรือชาวนาตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จึงปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง ด้วยการลดพื้นที่ทำการเกษตร หันมาปลูกพืชทดแทนข้าวที่อายุสั้น ใช้น้ำน้อย และผลผลิตมีตลาดรองรับ จึงหันมาปลูก “ต้นหอมกินใบ” อายุเพียง 45 วัน ที่สำคัญพึ่งภูมิปัญหาท้องถิ่น หรือ ทำการเกษตรดั้งเดิม คือ บำรุงดินด้วยปุ๋ยขี้ไก่ ขึ้นแปลง คลุมดินด้วยฝางข้างเพื่อรักษาความชุ่มชื้น เป็นการประหยัดน้ำ

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

นางดอกรัก ทิงิ้วงาม เจ้าของแปลงนาตำบลบ้านเกาะ กล่าวว่า ทุกปีจะทำนาทั้งของตัวเองและตะเวนเช่า แต่ปีนี้พบว่าแหล่งน้ำต่างๆ ที่เคยสูบทำมาแห้ง จึงงดทำนาอย่างสิ้นเชิง และปรับที่นาซึ่งยังพอมีแหล่งน้ำใกล้ๆ มาปลูก “ต้นหอมกินใบ” หรือที่ขายคู่ ผักชี ตามตลาดสดเพราะอายุเพียง 45 วันเก็บส่งขายให้พ่อค้าแม่ค้าได้แล้ว และตลาดยังคงมีความต้องการ ราคาล่าสุดกิโลกรัมละ 20 บาท ผลผลิต 1 ตันต่อไร่ หรือไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อไร่ ราคาดีกว่าปลูกข้าว และหากยิ่งแล้ง ราคาจะขึ้นสูงตามลำดับ

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

“แต่ต้องปรับตัวในการปลูกพืชหน้าแล้ง และลดต้นทุน ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ วิธีทำเกษตรแบบดั้งเดิมมาผสมผสานด้วย ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ นำมูลสัตว์หรือ ขี้ไก่ ผสมแกลบ ทำเป็นปุ๋ยโรยแปลงบำรุงดินและขึ้นแปลงเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลและควบคุมวัชพืช เมื่อลงต้นหอมกินใบแล้ว จึงคลุมหน้าดินด้วยฝางข้าว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน มีการติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ เมื่อเวลารดน้ำจะได้กระจายทั่วถึงและฟางข้าวรักษาความชื้นได้ดี จึงเป็นการประหยัดน้ำ ที่สำคัญต้นหอมกินใบจะเจริญเติบโตไว สวย เมื่อเก็บขายพ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้อ เกิดความพึ่งพอใจและรับซื้อต่อเนื่อง การเกษตรหน้าแล้งต้องเพิ่มความขยันในการสำรวจแปลง กำจัดศัตรูพืชเพื่อไม่ให้แย่งอาหาร” นางดอกรักกล่าว

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

ชาวนาอุตรดิตถ์ ปรับตัวหนีวิกฤตภัยแล้ง

 

related