svasdssvasds

เร่งค้นหาพลายงาเดียวป่วยหนักในป่าภูวัว จ.บึงกาฬ

เร่งค้นหาพลายงาเดียวป่วยหนักในป่าภูวัว จ.บึงกาฬ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี นำทีมสัตวแพทย์ ลงพื้นที่ติดตามช้างป่า ที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อนำตัวออกมารักษา

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี และนายทวีป คำแพงเมือง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี และทีมสัตวแพทย์ จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดกำลังกว่า 30 นาย ออกติดตามพฤติกรรม และประเมินอาการบาดเจ็บ ของช้างป่างาเดียวด้านขวา ที่มีอาการบาดเจ็บที่ขาหลังทั้งสองข้าง

โดยแบ่งชุดออกเป็น 4 ทีม พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าพื้นที่ ที่พบช้างบาดเจ็บบริเวณห้วยทราย ซึ่งห่างจากจุดพิทักษ์ป่าชะแนน ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว กว่า 2 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปยังจุดที่เจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามช้างป่า ผ่านแหล่งน้ำ ดงป่าไผ่ที่หนาทึบอีกกว่า 3 กิโลเมตร ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่งโมง จนถึงจุดที่ช้างอยู่ จากนั้นแยกชุดเจ้าหน้าที่พร้อมทีมแพทย์ เข้าไปดักซุ่มยิงยาสลบ แต่ยังไม่สามารถยิงยาสลบได้

[caption id="attachment_269843" align="alignnone" width="840"] เร่งค้นหาพลายงาเดียวป่วยหนักในป่าภูวัว จ.บึงกาฬ รอยลากขาของช้างพลายที่บาดเจ็บ[/caption]

[caption id="attachment_269844" align="alignnone" width="840"] เร่งค้นหาพลายงาเดียวป่วยหนักในป่าภูวัว จ.บึงกาฬ ยาสลบที่เจ้าหน้าที่ต้องเตรียมพร้อมทุกเมื่อ[/caption]

ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 บอกว่า จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่ในวันนี้พบว่า ช้างป่าที่บาดเจ็บได้หยุดพักผ่อน กิน เล่นน้ำ ภายในแหล่งน้ำ เพื่อพักอาการบาดเจ็บขา บริเวณสะโพกซ้าย และขาขวาหลัง ซึ่ง 3 วันที่ผ่านมา ช้างป่าเดินลดลง จากเดิน 800 เมตรเหลือ 500 เมตร และ 400 เมตร ซึ่งแสดงว่าช้างมีอาการเจ็บขามากขึ้น โดยตลอดเส้นทางที่ช้างเดินจะมีพืช เป็นไม้ยืนต้นที่ช้างดึงถอนขึ้นมา แล้วกินราก ซึ่งอันนี้จะให้นักวิชาการเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์ว่าช้างกินพืชอะไรไปบ้าง เป็นพืชที่รักษาอาการปวด รักษาแผลบาดเจ็บป่วยเรื้อรัง พอไปถึงช้างทีมสัตวแพทย์ประเมินแล้วว่า ไม่สามารถยิงยาสลบช้างได้ เพราะพบว่ามีอาการเคลียด คือยืนนิ่งส่ายหัวไปมา ประกอบกับอากาศร้อน และเจ้าหน้าที่ติดตามช้างตลอดทั้งวันได้รับความกดดัน หวั่นว่าหากยิงยาสลบเข้าไปจะทำให้ช้างมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา หรือล้มได้ จึงตัดสินใจไม่ยิงยาสลบ เพื่อให้ช้างได้พักผ่อน

related