svasdssvasds

เตรียมนำร่อง! "ภูเก็ต" ต้นแบบสร้าง "นิคมลิง"

เตรียมนำร่อง! "ภูเก็ต" ต้นแบบสร้าง "นิคมลิง"

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัด สัมมนาเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติ (ตามยุทธศาสตร์แผนแม่บทการบริหารจัดการปัญหาลิง ในจังหวัดลพบุรีอย่างยั่งยืน) โดย นายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการฯ กล่าวเปิดสัมมนาว่า ปัญหาลิงเป็น ปัญหาความเดือดร้อนประเภทหนึ่ง จากบรรดาสัตว์หลายชนิด นอกจาก หมา แมว นกพิราบ ซึ่งได้มีการพูดถึงแนวทาง การทําหมัน จนมีการออกกฎหมาย การขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงเพื่อแก้ปัญหาสัตว์ถูกทิ้ง และปัญหาลิงก็เป็นความท้าทาย เนื่องจากลิงเป็นสัตว์ที่มีความฉลาด ว่องไว ไปไหนได้รวดเร็ว ทําให้การบริหารจัดการลําบาก ซึ่งพื้นที่ที่มีวิกฤติเรื่องลิง ต้องเตรียมความพร้อมร่วมกัน จากนั้น นายวัลลภ ได้มอบแผนแม่บทการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติให้กับรองผู้ว่าราชการจังหวัด 12 จังหวัด ที่มีพื้นที่วิกฤติของลิงเพื่อให้จังหวัดนําไปบริหารจัดการ โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ครอบคลุม 11 จังหวัด คือ

 

1.ประกอบด้วยจังหวัด กระบี่ ตรัง ภูเก็ต อํานาจเจริญ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของลิงถูกลุกและคุกคาม โดยจะมีวิธีจัดการด้วยการลดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง โดยเฉพาะการให้อาหาร จัดทําป้าย เดือนห้ามให้อาหารลิง และควบคุมปัญหาขยะ ไม่ให้ลุกล้ําพื้นที่ของลิง

2.ประกอบด้วย กทม. ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สตูล สระบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ลิงอาศัยอยู่ตามธรรมชาติถูกล้อมรอบ ด้วยชุมชน มีวิธีจัดการคือ การเคลื่อนย้ายลิง และหาสถานที่รองรับลิงแห่งใหม่ ไปยังสถานที่ที่เหมาะสม พร้อมทั้งทําหมันถึงก่อนการเคลื่อนย้าย

3.ประกอบด้วย เพชรบุรี มุกดาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยสิ่งที่ถูกทับซ้อนด้วยพื้นที่ชุมชน จําเป็นต้องสร้างนิคม ลิงเพื่อรองรับลิงทั้งหมดที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจากพื้นที่ที่มีปัญหา โดยทั้งหมด ต้องเริ่มต้นจากการทําประชา พิจารณ์ของคนในพื้นที่ก่อนว่า สามารถอยู่กับลิงได้หรือไม่ หากพื้นที่ใดยินยอมที่จะอยู่กับลิงต่อก็จะเข้าสู่ กระบวนการจัดการทําหมันควบคุม ส่วนพื้นที่ใดที่ไม่อยากอยู่ร่วมกับลิงก็จะเข้าสู่แผนบริหารจัดการนิคมลิง ต่อไป

 

ขณะที่การอภิปราย แนวทางบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติ ตามแผนแม่บทจัดการปัญหาสิ่งที่จ.ลพบุรี เป็นต้น แบบด้านการจัดการนั้น นายจรูญ ชูเกียรติวัฒนา ปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ในเขตเมืองลพบุรีมีลิงอาศัยอยู่กว่า 2,200 ตัว กระจายตามอําเภอต่างๆ รวมกว่า 1 หมื่นตัว โดยในปี 2560-2561 จ.ลพบุรี ได้จัดการควบคุมประชากรลิง ที่ อยู่ในเขตเมืองไปแล้ว 6 ครั้ง มีการทําทะเบียนลิง และปัจจุบัน มีลิงเพิ่มขึ้นมาเพียง 800- 1,000ตัว เป็นผลมาจากการ จัดการควบคุมประชากร

ด้าน นายชัยณรงค์ ดูดดื่ม ผู้อํานวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี กล่าวถึงแนวคิด การสร้างนิคมลิง ว่า สิ่งสําคัญที่สุด ต้องทําประชาพิจารณ์กับคนในพื้นที่และศึกษาผลกระทบ ซึ่งขณะนี้ยังหาบริษัทที่ ปรึกษาไม่ได้ เนื่องจากทีโออาร์เข้มงวดมาก หากสุดท้ายหาไม่ได้ต้องใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบเจาะจง โดยเบื้องต้นพื้นที่ ที่จ.ลพบุรีเล็งไว้คือ เขาพระยาเดินธง พื้นที่ 2,000 ไร่ แต่ทั้งหมดต้องดูผลการศึกษาจากบริษัทที่ปรึกษาก่อน

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองประธานคณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ กล่าวภาย หลังการสัมมนาว่า ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างคนกับลิงมาตลอดหลาย 10 ปี การทําหมันเป็นก ระบวนการหนึ่งที่ช่วยได้ แต่ไม่เพียงพอกับการเจริญพันธุ์ของลิง การทํานิคมลิงจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาใน อนาคต

โดยยืนยันว่า กลไกต่างๆในการโยกย้ายลิงจะคํานึงถึงสวัสดิภาพของลิงเป็นหลัก เพราะสนช. เป็นผู้ออก กฎหมาย พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ด้วยตัวเอง ดังนั้น จะมีการจัดการอย่างดีเพื่อให้คนกับลิ้งอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ไม่ ต้องกังวลใจว่าจะเอาลิ้งไปปล่อยเกาะ เพราะเป็นแค่ถ้อยคําเท่านั้น เพราะเกาะที่จะใช้เป็นนิคมลิง จะเป็นสถานที่ให้ลิ้ง อยู่ได้อย่างมีความสุขจนถึงบั้นปลายชีวิต เรื่องนี้ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ เพราะไม่ได้เอาไปฆ่า

ส่วนที่มีนักวิชาการบางฝ่ายเป็นห่วงสวัสดิภาพของสิ่งนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า ได้หารือกับนักวิชาการ กลุ่มคนรักลิง และคนที่มีปัญหากับลิงต่างก็ยินดีที่จะให้ความเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่การดําเนินการต้องใช้เวลา แต่สําหรับ พื้นที่ที่เป็นปัญหาอาจต้องดําเนินการอย่างรวดเร็ว สําหรับพื้นที่จะใช้ทํานิคมลิงนั้นเบื้องต้นจะใช้จังหวัดภูเก็ตเป็นต้นแบบ โดยมีการลงพื้นที่สํารวจเกาะ 5 เกาะที่มีความ พร้อม ได้แก่ เกาะง่า เกาะปายู เกาะมาลีหรือมะลิ เกาะแพ และ เกาะทะนาน แต่จําเป็นต้องเต็มให้สมบรูณ์ เช่น แหล่ง อาหาร แหล่งน้ำจืด เมื่อมีความพร้อมแล้ว ถึงมีการจัดทําประชาพิจารณ์กับประชาชน หากทุกฝ่ายมีข้อคิดเห็นอย่างไรก็ สามารถเสนอมายังสนช.ได้เพื่อร่วมกันหาทางออกให้ลิงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ เบื้องต้นเทศบาลตําบลป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต จะมีประชาพิจารณ์ ทั้ง 5 เกาะในพื้นที่ที่มีปัญหา หากหลายฝ่ายไม่สบายใจ ก็อาจจะแสวงหาวิธีการอื่นต่อ ไป

related