svasdssvasds

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

กระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าแก้ไขปัญหาสับปะรดล้นตลาด เนื่องจากมีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก จำนวน 2.24 ล้านตัน แต่ความต้องการสับปะรดเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออก มีปริมาณไม่เกิน 2 ล้านตัน

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดงาน “โครงการแปรรูปผลสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ เพื่อแก้ปัญหาสับปะรดล้นตลาด” ณ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คอ่าวน้อย จำกัด ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินโครงการแปรรูปผลสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์เพื่อแก้ปัญหาสับปะรดล้นตลาด ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนำผลสับปะรดสดมาแปรรูปเป็นอาหารทีเอ็มอาร์ โปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ สำหรับใช้เลี้ยงโคนม เนื่องจากมีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก จำนวน 2.24 ล้านตัน แต่ความต้องการสับปะรดเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและส่งออก มีปริมาณไม่เกิน 2 ล้านตัน จึงเกิดปัญหาสับปะรดล้นตลาด ทำให้ราคาสับปะรดตกต่ำ

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

นอกจากนี้ ยังมีสับปะรดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีขนาดผลเล็ก โรงงานสับปะรดไม่รับซื้อ อีก 0.23 ล้านตัน ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง และลำปาง ซึ่งการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง โดยการนำสับปะรดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโรงงานมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งโครงการนำร่องนั้น มีสับปะรดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโรงงาน จำนวน 238,648 ตัน (ร้อยละ 20) ซึ่งในส่วนดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจะสามารถช่วยนำมาผลิตอาหารสัตว์ได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 47,729 ตัน โดยให้สหกรณ์โคนมในพื้นที่รับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 1 บาท เพื่อผลิตอาหารทีเอ็มอาร์และจำหน่ายให้แก่สมาชิกสหกรณ์ฯ

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

ทั้งนี้ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค อ่าวน้อย จำกัด ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากงบพัฒนาสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 4 ล้านบาท เพื่อนำมาผลิตอาหารทีเอ็มอาร์ จำนวน 1,000 ตัน (โครงการนำร่องฯ)

-ใช้ผลสับปะรดสด 710 ตัน

-ฟางข้าว 140 ตัน

-กากถั่วเหลือง 66.50 ตัน

-กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมัน 80 ตัน

-ปุ๋ยยูเรีย 3.50 ตัน

จำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคากิโลกรัมละ 3.90 บาท (ไม่รวมค่าขนส่ง) ใช้เลี้ยงโคนมได้จำนวน 500 ตัว ในระยะเวลา 60 วัน ได้ผลผลิตน้ำนมดิบ จำนวน 500 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9 ล้านบาท ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้ เมื่อหักเงินกู้แล้วคิดเป็นมูลค่า 5 ล้านบาท

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

ด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเลี้ยงโคนมของเกษตรกรด้วยสับปะรดกับฟางข้าวเสริมอาหารข้นนั้น จะมีต้นทุนค่าอาหารตัวละ 102.50 บาท ให้น้ำนมวันละ 12 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหาร 8.54 บาทต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารทีเอ็มอาร์ที่มีสับปะรดกับฟางข้าว จะมีต้นทุนตัวละ 117 บาท ให้น้ำนมวันละ 14 กิโลกรัม มีต้นทุนค่าอาหาร 8.35 บาทต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม จะสามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ 0.20 บาทต่อน้ำนม 1 กิโลกรัม

นำร่อง 3 จังหวัด แปรรูปสับปะรดสดเป็นอาหารสัตว์ แก้สับปะรดล้นตลาด

related