svasdssvasds

ถุงทวารเทียมยางพาราช่วยผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถุงทวารเทียมยางพาราช่วยผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเอกชน ประสบความสำเร็จในการวิจัยนวัตกรรมถุงทวารเทียมจากยางพารา เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่สามารถขับถ่ายทางทหารหนักได้เอง

สำหรับถุงทวารเทียมจากยางพารานี้ มีคุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศ เป็นการลดการนำเข้าและลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย โดยนำร่องมอบให้โรงพยาบาลหลายแห่งในภาคใต้ 4,000 ชุด

นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พร้อมทีมวิจัยและภาคเอกชน ร่วมกันแถลงผล

การคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ THAI Colostomy Bags หรือชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ไม่สามารถขับถ่ายทางทวารหนักตามปกติ

ปัจจุบันชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมมีอยู่หลายชนิด และประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ชนิดนี้ได้เองในเชิงอุตสาหกรรม จึงต้องนำเข้าอย่างเดียว ซ้ำมีราคาแพง

โรงพยาบาลหลายแห่งพยายามดัดแปลงอุปกรณ์ใช้แทนถุงทวารเทียมในรูปแบบต่างๆ แต่ประสบปัญหาระหว่างการใช้งานจริง และมีภาวะแทรกซ้อน ทั้งระคายเคือง แป้นรั่วซึม หลุดง่าย

และกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ขณะที่ยอดผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ถุงทวารเทียมเฉพาะภาคใต้มีมากกว่า 1 แสนคน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

ทีมวิจัยได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยภาคเอกชน จนสามารถคิดค้นและประดิษฐ์ THAI Colostomy Bags หรือ ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม

ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตมาจากยางพาราภายในประเทศได้สำเร็จ มีคุณภาพเทียบเท่ากับต่างประเทศ หลังต้องใช้เวลามานานกว่า 5 ปี และได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ

พร้อมกับจดสิทธิบัตร ก่อนจะผ่านขั้นตอนสุดท้าย คือ การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผลิตชุดถุงทวารเทียมทั้งหมด 4,000 ชุด เพื่อมอบให้โรงพยาบาล 5 แห่งในภาคใต้ ทั้ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รวมทั้งมอบให้ตัวแทนผู้ป่วยจากโรงพยาบาลยะลา และ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

related