svasdssvasds

เกษตรกร จ.ตรัง เลิกอาชีพอวนรุน มาเลี้ยงปูนิ่ม รายได้เหยียบแสนต่อเดือน

เกษตรกรชาวตำบลท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรังใช้นากุ้งร้างมาเพาะเลี้ยงปูนิ่มเพื่อขายเป็นรายได้เสริม ตอบโจทย์ของตลาดได้ดีทำยอดขายพุ่ง มีไม่พอกับความต้องการของลูกค้า เผยหลังสึนามิและเลิกทำอวนรุนมานานกว่า 10 ปี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก รายได้เหยียบแสนบาทต่อเดือน

ผู้สื่อข่าวสปริงนิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายจันทร์ รอดเข็ม อายุ 54 ปีอยู่บ้านเลขที่ 229 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซึ่งในอดีตเคยประกอบอาชีพประมงอวนรุนต่อมาทางหน่วยงานราชการให้เงินชดเชยผู้ที่เลิกอาชีพการทำอวนรุน เพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพใหม่ที่ไม่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน ประกอบกับเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้นายจันทร์ฯตัดสินใจรับเงินชดเชยและขายอุปกรณ์การทำอวนรุน

เกษตรกร จ.ตรัง เลิกอาชีพอวนรุน มาเลี้ยงปูนิ่ม รายได้เหยียบแสนต่อเดือน

เพื่อมาลงทุนเลี้ยงปูนิ่มในพื้นที่นากุ้งร้างของตนมานานกว่า 10 ปีแล้ว ประกอบกับได้ศึกษาความต้องการของตลาดแล้วพบว่ายังขาดแคลนปูนิ่มอยู่มาก ทำให้ได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 310 บาท โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากสหกรณ์การเกษตรปะเหลียน ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการเพาะเลี้ยงปูนิ่มโดยรวมกลุ่มกับเพื่อนบ้าน ส่งปูนิ่มขายให้กับร้านอาหารต่าง ๆ ทั้งใน จ.ตรังและหลายจังหวัดทางภาคใต้

เกษตรกร จ.ตรัง เลิกอาชีพอวนรุน มาเลี้ยงปูนิ่ม รายได้เหยียบแสนต่อเดือน

จนปูนิ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งนายจันทร์ เล่าว่า เลี้ยงปูนิ่มไว้ทั้งหมด 5,000 กล่อง แต่ละวันสามารถจับปูนิ่มมาขายได้ไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม หรือเดือนละไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท ส่วนจนาดที่ลูกค้าต้องการคือขนาด 9-10 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม เนื่องจากอ่อนนุ่ม หวานมันและไม่เหนียว

เกษตรกร จ.ตรัง เลิกอาชีพอวนรุน มาเลี้ยงปูนิ่ม รายได้เหยียบแสนต่อเดือน

โดยรับซื้อลูกปูดำมาจากชาวบ้านขนาด 2-3 นิ้ว แล้วนำมาเลี้ยงต่อ ให้อาหารเนื้อปลาสดวันละ 2 มื้อเช้า-เย็น เลี้ยงไว้ประมาณ 25 วันก็สามารถจับขายได้ ซึ่งในระหว่างที่ปูดำลอกคราบหรือทุก 4 ชั่วโมง จะต้องจับขึ้นมาให้เร็ว ก่อนที่กระดองปูจะแข็งและต้องรอการลอกคราบครั้งต่อไปในอีก 1 สัปดาห์ ส่วนเปลือกปูที่ลอกคราบทิ้งไว้ ยังสามารถนำไปเป็นปุ๋ยใส่โคนต้นยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันหรือนำไปผสมกับอาหารให้เป็ดและไก่กินเพื่อเสริมแคลเซียมได้อีกทางหนึ่งด้วย

เกษตรกร จ.ตรัง เลิกอาชีพอวนรุน มาเลี้ยงปูนิ่ม รายได้เหยียบแสนต่อเดือน

นอกจากนี้ ข้างกระชังเลี้ยงปูนิ่มซึ่งใช้พื้นที่ไม่มาก ยังสามารถเลี้ยงเปลาเก๋าส่งขายได้อีกกิโลกรัมละ 250 บาท รวมทั้งปลูกแก้วมังกรชนิดสีขาวและสีแดงขายได้ราคาดีอีกด้วย

ซึ่งนายจันทร์ รอดเข็ม เกษตรกรผู้เลี้ยงปูนิ่มกล่าวว่า เก็บได้ประมาณ 10 กว่ากิโลกรัมต่อวัน ลูกค้าในหมู่บ้านส่ง 310 บาท เลี้ยงมานานกว่า 10 ปี หลังจากสึนามิก็เลี้ยงมาตลอด เมื่อก่อนทำอวนรุนทางอำเภอประกาศจับอวนรุนเลยหันมาเลี้ยงปูนิ่ม โดยขายอุปกรณ์อวนรุนและกู้เงินสหกรณ์ไปลงทุน ทำให้มียอดขายไม่ต่ำกว่า 60,000-70,000 บาทต่อเดือน

related