svasdssvasds

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลงชี้แจง หลังผู้ไม่หวังดีแพร่ข้อความคลาดเคลื่อนจากความจริงทั้งเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ , เรื่องมัสยิด , กฏหมาย 4 ​ฉบับของอิลลามที่ไม่มีเรื่องการเมือง รวมทั้งกิจการฮาลาลในไทยที่รับรองโดยองค์กรศาสนาอิสลาม

เมื่อวัน ที่ 19 ธ.ค. 62  สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง "คำชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกรณีการเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่คลาดเคลื่อน"

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่คลาดเคลื่อน จนถึงปลุกกระแสต่อต้านศาสนาอิสลามในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการทำร้ายฆ่าคนไทยพุทธ และเชื่อว่าเหตุไม่สงบเกิดจากการใช้มัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้อร้ายและการบิดเบือนประวัติศาสตร์ชาติไทยสร้างความเกลียดชังแตกแยกจนนำไปสู่ความเกลียดชังประเทศชาติ พร้อมทั้งสรุปว่า เชื้อร้ายดังกล่าวกำลังคืบคลานขยายตัวเข้ามายังภาคอีสานภาคเหนือ และทุกจังหวัดผ่านการสร้างมัสยิด ต่อมามีการรวมกลุ่มคนจำนวนหนึ่งส่งจดหมายเรียกร้องจุฬาราชมนตรีในฐานะที่เป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลามในประเทศ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัญหาทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่คนกลุ่มนี้มองว่าสร้างความวุ่นวายแตกแยกในสังคมไทย และที่สำคัญคุกคามพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ

สำนักจุฬาราชมนตรี ตระหนักดีว่าพุทธศานิกชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีความเข้าใจและให้เกียรติคนมุสลิมเสมอมา แต่ก็มิได้ละเลยต่อปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวดังกล่าวข้างต้นที่อาจสร้างความเคลือบแคลงสงสัยและส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่างศาสนาในระยะยาวตลอดจนกร่อนเซาะรากฐานความมั่นคงของประเทศชาติ ดังนั้น เพื่อจรรโลงความเป็นสังคมพหวัฒนธรรมของสังคมไทยที่ผู้คนต่างศรัทธามีความเคารพ ให้เกียรติและยอมรับในความเชื่อและความต่างทางชาติพันธุ์ของกันและกันเสมอมา สำนักจุฬาราชมนตรีขอใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจหลักคำสอนและแนวทางปฏิบัติของมุสลิมต่อสังคมไทย ดังต่อไปนี้

๑. การเชื่อมโยงปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ มัสยิด และ สถาบันการศึกษาศาสนาอิสลาม ว่าหากมีสถาบันแห่งนี้ที่ไหน จะมีความไม่สงบที่นั่น นับเป็นความข้าใจคลาดเคลื่อน ๒ ประเด็น คือ

๑.๑ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อเหตุแห่งปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาแต่อย่างใด แต่มีรากเหง้ามาจากความขัตแย้งทางการเมืองประวัติศาสตร์การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต ความไม่เป็นธรรมยาเสพติด และธุรกิจผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความพยายามจากคนบางกลุ่มใช้ศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมมวลชน แต่ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จกับคนมุสลิมส่วนใหญ่ที่มีความตระหนักถึงสิทธิ เสรีภาพในทางศาสนาที่ประเทศให้หลักประกันกับประชาชนทุกหมู่เหล่า

๑.๒ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อ "มัสยิด" และ "สถาบันการศึกษาศาสนาอิสลาม" ศาสนาอิสลามป็นศาสนาที่วางอยู่บนพื้นฐานของ "หลักศรัทธา" "หลักปฏิบัติ" และ "หลักคุณธรรม" กิจวัตรประจำวันของมุสลิมจึงผูกพันไว้กับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมัสยิดจึงเป็นศาสนสถานที่มีหน้าที่ไม่ต่างไปจาก "วัด" ในพุทธศาสนา ส่วนสถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ในการอบรมบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมพร้อมทั้งขัดเกลาจิตใจ และจิตวิญญาณของศรัทธาชนให้ดำเนินอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ต่างไปจากศูนย์อบรมจริยธรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของวัดแต่ประการใดปัจจุบันสถาบันการสอนศาสนาอิสลามมีการปรับตัวโดยการนำเอาหลักสูตรสามัญดังเช่นที่นักเรียนทั่วประเทศเรียนไปสอนร่วมกับการอบรมจริยธรรมทางศาสนาสถาบันการศึกษา ศาสนาอิสลามส่วนใหญ่จึงปฏิรูปเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ

นอกจากนี้การสร้างมัสยิดมีกาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ ตามแนวทางที่สำนักจุฬาราชมนตรีกำหนดไว้ โดยมีการกำกับจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และกระทรวงมหาดไทย ตามลำดับ

๑.๓ ปัญหาการเผยแพร่ความคิดเชิงอุดมการณ์ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งเกิดจากการอ้างคำอธิบายทางศาสนากล่าวคือผู้ก่อความไม่สงบปลูกฝังความคิดว่าประเทศไทยเป็น "ดินแดนสงคราม" ดังนั้นการต่อสู้ของพวกเขาจึงมีความชอบธรรมในทางอิสลาม แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการอธิบายที่มีควมคลาดเคลื่อนและห่างไกลจากบทบัญญัติศาสนาอิสลามโดยสิ้นเชิง เพราะรัฐบาลไทยให้หลักประกันในสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการประกอบศาสนกิจแก่คนมุสลิมอย่างเท่าเทียม และถือว่าการทำร้ายผู้บริสุทธิ์เป็นบาปใหญ่ตามหลักการศาสนาอิสลาม

ดังนั้น การด่วนสรุปโดยการเชื่อมโยงสถานการณ์ด้วยควมเข้าใจคลาดเคลื่อน ไม่มีความเข้าใจเหตุแห่งปัญหาและบริบททางสังคมอย่างแท้จริง มิได้ส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกทั้ง ๒ ศาสนา

๒. ความพยายามเผยแพร่ข้อมูล "แผนการยึดครองประเทศไทย และนำกฎหมายอิสลามมาบังคับใช้กับคนทั่วไปในประเทศไทย" ผ่านกระบวนการทางรัฐสภาและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เชื่อมโยงกับการสร้างมัสยิดในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จนนำไปสู่การยึดครองประเทศของมุสลิมนั้นข้อความลักษณะดังกล่าวห่างไกลจากความเป็นจริงมาก ความเป็นจริงคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมุสลิมมีเพียง ๔ ฉบับ คือ

๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฏหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล พ.ศ..๔๔๙ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครอบครัวและมรดกของมุสลิมใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น

๒) พระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นกฎหมายที่มุ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์จากเงินส่วนตัวของผู้ที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ รัฐบาลมิได้จัดงบไปสนับสนุนพิเศษ ยกเว้นกรณีที่รัฐต้องการเยียวยาให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือมุสลิมที่เสียชีวิต หรือบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น

๓) พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ที่ไม่ไต้แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แต่อย่างใด โครงสร้างหลักของพระราชบัญญัติฉบับนี้วางบทบาทให้จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาอิสลาม มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในระดับหมู่บ้านหรือระดับชุมชน มีกรรมการมัสยิด โดยผู้นำศาสนาและตัวแทนด้านศาสนาทุกคนไม่ได้มีอำนาจ บทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการทางการมืองในทุกระดับของสังคม

๔) พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประทศไทย พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นกฎหมายที่สะท้อนความเข้าใจของรัฐบาลต่อหลักการศาสนาอิสลามในเรื่องระบบการเงินที่จำเป็นต้องปราศจากดอกเบี้ย ปัจจุบันผู้ที่ใช้บริการธนาคารอิสลาม เป็นชาวไทยพุทธร้อยละ ๖๙.๖๑ และ มุสลิมร้อยละ ๓๐.๓๙ ที่สำคัญแม้ใช้ชื่อว่าธนาคารอิสลามแต่มุสลิมทุกคนไม่ได้รับอภิสิทธิ์เหนือประชาชนไทยพุทธแต่อย่างใด

ตามที่กล่าวมา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามทั้ง ๔ ฉบับ ไม่มีกฎหมายฉบับใดที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรศาสนาอิสลามหรือคนมุสลิมจะมีสิทธิอำนาจหรือหน้าที่เข้าไปแทรกแซงกิจการทางการเมืองของรัฐไทยได้แม้เพียงน้อยนิด

๓. ความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อ "กิจการฮาลาล" ของประเทศไทย

ในเรื่องดังกล่าวขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองฮาลาลมิได้เกิดจากการเรียกเก็บเงินขององค์กรศาสนาอิสลามจากสถานประกอบการ ทว่าเป็นไปในทางกลับกัน นั่นคือสถานประกอบการร้องขอให้องค์กรศาสนาอิสลามรับรองฮาลาลเพื่อประโยชน์ด้านการค้าของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นเช่นนี้ทั่วทั้งโลก กรณีประเทศไทย การรับรองฮาลาลเป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด (สกอจ.) จำนวน ๔๐ แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ มาตราที่ ๒๖(๑๓) และ มาตราที่ ๑๘(๘) ตามลำดับอันเป็นไปตามหลักบัญญัติในศาสนาอิสลามว่าผู้ทำหน้าที่ตัดสินข้อกำหนดในศาสนาอิสลาม จำเป็นต้องเป็นมุสลิมที่รู้ลึกซึ้งในศาสนาอิสลาม อันเป็นข้อกำหนดที่ยอมรับกันทั่วโลก

ปัจจุบันมีสถานประกอบการขอรับการรับรองฮาลาล สะสมตลอดหลายสิบปีจำนวน ๙,๐๐๐ สถานประกอบการ ทว่ามีการต่ออายุทุกปีประมาณ ๖,๐๐๐ สถานประกอบการ มีผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการรับรองฮาลาลและต่ออายุทุกปีจำนวน ๔๐,๐๐๐ ผลิตภัณฑ์ มีการเก็บค่าธรรมเนียม ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อสถานประกอบการต่อปี ๑,๐๐๐ บาท ต่อผลิตภัณฑ์ต่อปี เกิดรายได้จากสถานประกอบการ ๑๒๐ ล้านบาทต่อปี รายได้จากผลิตภัณฑ์ ๔๐ ล้านบาทต่อปี รวมทั้งสิ้น ๑๖๐ ล้านบาทต่อปี รายได้นี้ดีอรายได้สูงสุด หากเรียกเก็บได้ครบตามที่กำหนตโดยเป็นรายได้ที่กระจายไปที่สกอจ. ๔๐ แห่ง และ สกอก. ๑ แห่ง ในสภาพความเป็นจริงสถานประกอบการจำนวนมากมิใชโรงงานขนาดใหญ่แต่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดเล็ก (SMES) การเก็บค่าธรรมเนียมจึงลดลงตามขนาดของโรงงานจากนโยบายของสกอจ. แต่ละแห่ง เป็นต้นว่าบางจังหวัดจัดเก็บสถานประกอบการของชาวบ้านเพียง ๑,๐๐๐ บาท มิใช่ ๒๐,๐๐๐ บาท สกอท. และ สกอจ. ร่วมมือกันวางระบบฮาลาลในร้านอาหารทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนกิจการการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้แก่ประเทศจำนวนมหาศาลโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสถานประกอบการแต่ละแห่งเพียง ๑๐๐ บาทต่อปี มิใช่ ๒๐,๐๐๐ บาท

ข้อมูลจากสถาบันวิจัย Goba Trade Atas ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลรายงานว่า หากนับรวมกับรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปยังประเทศที่มิไช่มุสลิมอีกกว่าร้อยประเทศรายได้อาจสูงถึง ๑๒,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ๓๖๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ตัวเลขหลังนี้เองที่อาจสร้างความเข้าใจผิดว่าองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศไทยมีรายได้จากการรับรองฮาลาลกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และรายได้กว่า ๓๖๐,๐๐๐ ล้านบาท จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลสู่ต่างประเทศนี้ เป็นรายได้ของโรงงานและบริษัทผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการส่งออก นักธุรกิจ รายได้บางส่วนเป็นเงินเดือนพนักงานและคนงานในอุตสาหกรรมที่มีนับจำนวนแสน อีกบางส่วนเป็นรายได้สำหรับเกษตรกรที่ผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรที่อาจมีนับจำนวนล้านคนที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลของประเทศไทยไปทั่วโลกสร้างรายได้หลายแสนล้านบาท เกือบทั้งหมดมิใช่มุสลิมแต่เป็นพี่น้องคนไทยทั้งปวง ฮาลาลจึงเป็นผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนในภาพรวม มุสลิมที่มีเกือบสองพันล้านคนทั่โลกให้การยอมรับเครื่องหมายรับรองฮาลาลจากประเทศไทยอันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลจากประทศไทย ไร้บการยอมรับทั่วโลกหาไม่แล้วประทศไทยจะสูญเสียรายได้เหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย มุสลิมในประทศไทยมีในสัตส่วนที่ต่ำมีประชากรรวมแล้วไม่ถึงร้อยละ ๓๐ ของประชากรประเทศ อีกทั้งส่วนใหญ่มิได้ทำธุรกิจมุสลิมจึงภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์ฮาลาลสร้างประโยชน์ให้กับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มุสลิมจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกในเชิจิตใจว่าฮาลาลคือหนทางหนึ่งที่มุสลิมจะสามารถตอบแทนบุญคุณต่อประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเขา

รายได้ที่องค์กรศาสนาอิสลามได้รับจากการเก็บค่าธรมนียมในการให้การรับรองฮาลาลถูกใช้ในการบริหารจัดการ สคอจ. และ สกอก. ที่มีค่ใช้จ่ายสำหรับบุคลากร สถานที่ และอื่นๆจำนวนมาก ทั้งนี้ สกอจ. สกอท. นับเป็นองค์กรภาคเอกชนที่มิได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากนั้นรายได้บางส่วนใช้ในเรื่องการศึกษาช่วยผู้ประสบภัยพิบัติและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งในประเทศและต่งประเทศโดยไม่ได้แบ่งแยกศาสนา และบางส่วนใช้ในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ประเด็นด้านภาษีนั้น สกอท. สกอจ. เป็นองค์กรทางศาสนาได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีจากรัฐ เช่นเดียวกับวัดและศาสนสถาน จึงมิได้เสียภาษี

สำนักจุฬาราชมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรศาสนา ขอเรียนว่ามุสลิมในประเทศไทยมีความภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย ดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ได้รับสิทธิเสรีภาพในการดำรงตนเฉกเช่นมุสลิมที่ดีพึงกระทำ และขอยื่นยันหลักการเคารพความชื่อซึ่งกันและกัน ไม่บริภาษว่าร้ายต่อผู้อื่นโดยปราศจากความถูกต้องและข้อเท็จจริง ที่สำคัญคือการดำรงซึ่งความคารพให้เกียรติและยอมรับกันและกันในเรื่องของความเชื่อศาสนา ชาติพันธุ์ และภาษา

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาผู้นำหรือรัฐบาลตลอดทั้งสถาบันต่างๆ ในสังคมไทย พยายามช่วยกันรักษาทุนทางสังคมที่สำคัญคือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้คนที่แตกต่างหลากหลายทางศาสนา สำนักจุฬาราชมนตรี และองค์กรบริหารของมุสลิมทุกภาคส่วนขอปวรณาตนเป็นสถาบันที่จะธำรงรักษาคุณลักษณะ และทุนทางสังคมที่เป็นรากฐานความมั่นคงของมนุษย์และชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสืบสานความเป็น "สุวรรณภูมิ" ของผู้คนทุกหมู่เหล่าอย่างสงบสันติต่อไป

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

สำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลง หลังมีผู้ไม่หวังดี ป่วน พุทธ ชน อิสลาม

ต้นฉบับ

related