svasdssvasds

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองตรุด ในพื้นที่ ม. 8 ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง เร่งผลิตแป้งสาคูต้นออร์แกนนิก “แม่จัด” เป็นการสร้างรายได้ยอดฮิตอันดับหนึ่งในชุมชน ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19

โควิด-19 วันนี้ (27 เม.ย. 63) - นายนายพิรุฬ พงศ์พิพัฒน์พันธ์ วัย 45 ปี ที่ต้องการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ต.ชัยบุรี และได้มีงานทำช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคโควิด–19 ที่ทำให้หลายคนตกงาน รายได้ลดลง เงินใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จึงคิดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลิตแป้งสาคูต้นออร์แกนิก “แม่จัด” จากต้นสาคู

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

ต้นสาคูเป็นพืชชนิดจำพวกปาล์มที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมกลุ่มผลิตแป้งสาคูวันละไม่ต่ำกว่า 18–20 คน สามารถสร้างได้คนละกว่า 300 บาทต่อวัน โดยเริ่มผลิตแป้งสาคูต้น มาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 63 ที่ผ่านมา ตอนนี้แป้งสาคูต้นที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า เพราะมีลูกค้าส่วนใหญ่เกือบ 80% มีการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในขณะนี้ทางรัฐบาลก็มีการรณรงค์ให้ประชาชนหยุดอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้หลายครอบครัว นิยมทำอาหารกินเอง สาคูต้นจึงเป็นอีกหนึ่งของขนมหวานยอดฮิต ที่มียอดสั่งซื้อติดอับดับหนึ่งของจังหวัดพัทลุงอยู่ในขณะนี้

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ผลิตแป้งสาคูต้น อีกหลายรายในพื้นที่ ของ อ.ควนขนุน อ.เมือง และ อ.ป่าพะยอม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการเป็นจำนวนมากเช่นกัน ส่งผลให้ราคาของเม็ดสาคูต้นขยับราคาสูงขึ้นมาก จากเดิมกิโลกรัมละ 50-60 บาทเท่านั้น แต่ตอนนี้ราคาพุ่งสูงอยู่ที่ ราคา 200-250 บาท ต่อกิโลกรัม

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

สำหรับ “สาคูต้น” เป็นพืชชนิดนี้จำพวกปาล์ม เป็นพืชที่เกิดภาคใต้ของไทยบริเวณชุ่มน้ำ ปาล์มสาคูนี้จะสะสมแป้งไว้ในลำต้น เมื่ออายุราว 8-10 ปี แป้งในต้นจะมีมากที่สุด คนที่ทำแป้งสาคูก็จะไปโค่นต้นมาปอกเปลือกนอกออก แล้วนำเนื้อด้านในสีขาวอมชมพูไปผ่านกระบวนการย่อย เนื้อที่ได้มาคั้นเอาน้ำโดยใช้วิธีการคั้นแบบคั้นน้ำกะทิแบบโบราน แล้วทิ้งให้ตกตะกอนกลายมาเป็นแป้งดิบพักไว้ 1คืน จากนั้นบดแป้งดิบ ซึ่งมีทั้งแป้งที่เป็นผง และแป้งที่เม็ดกลมซึ่งเกิดจากการนำแป้งสาคูที่ทับน้ำจนหมาดแล้วไปร่อนในกระด้งก่อนนำไปตากแดด ก็จะได้เม็ดสาคูกลมๆ เล็กๆ ที่ขนาดไม่เท่ากันนัก มีสีชมพูอ่อนคล้ายปูนแดงแห้ง เมื่อนำไปปรุงผ่านความร้อน จะเหมือนเจลใสๆ ผิวเป็นเงาสวย มีความเหนียว นุ่ม หนึบ

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

คนภาคใต้อย่างในพื้นที่พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช นิยมใช้แป้งสาคูทำอาหารหลายอย่าง เม็ดสาคูชนิดนี้ สามารถนำไปต้มผ่านความร้อนได้เลยทันที แต่ต้องระวังการเกาะตัวเหนียวเป็นก้อน แต่งกลิ่นด้วยใบเตยจะทำให้กลิ่นหอมชวนกิน เมื่อน้ำเดือดจากนั้นค่อยๆ โรยเม็ดแป้งสาคูลงไปช้าๆ โดยขณะโรยให้ใช้ไม้พายกวนที่น้ำในหม้อตลอด เพื่อตีให้เม็ดสาคูกระจายตัว ไม่เช่นนั้น เม็ดสาคูจะกอดตัวกันเป็นก้อน เมื่อเทเม็ดแป้งสาคูแท้ลงจนหมดแล้ว ก็ต้มต่อจนเม็ดสาคูใสดี จึงค่อยเติมน้ำตาลทรายโดยระดับความหวานตามใจชอบ คนพอให้น้ำตาลละลาย หากอยากเติมมะพร้าวอ่อนขูด หรือข้าวโพดหวานต้มก็ใส่ลงหลังจากน้ำตาลละลายแล้ว แต่ต้นตำรับสาคูเปียกจากแป้งสาคูแบบภาคใต้ จะไม่ใส่อะไรลงไปเลย ตักใส่ถ้วยราดน้ำกะทิ รับประทานได้ทันที

เม็ดสาคูต้น ขนมหวานยอดฮิต ที่ชาวบ้านพลิกวิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

related